HoonSmart.com>> บลจ.วี มอง “ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์” รับปัจจัยบวกจากกระแส Metaverse กำลังเป็น Mega Trend ที่สำคัญของโลก ดันผลกำไรและยอดขายบริษัทเซมิคอนดักเตอร์พุ่งในปี 65 แนะเป็นจังหวะทยอยลงทุน กอง “WE-EVOSEMI” ช่วงราคาปรับฐานจากความกังวลโควิดสายพันธุ์ใหม่
นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วี เปิดเผยว่า อุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) มีบทบาทสำคัญต่อหลายธุรกิจ ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมต่างๆ (Supply Chain) ของเศรษฐกิจโลก ไม่เพียงแต่การผลิตสมาร์ทโฟน , เซิร์ฟเวอร์ระบบคลาวด์ , การผลิตรถยนต์สมาร์ทคาร์ , ระบบอัตโนมัติ ในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ความต้องการ เซมิคอนดักเตอร์ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ความสนใจลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้ธุรกิจมีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเน้นการอนุรักษ์ (Green or Clean Business) มากขึ้น ขณะเดียวกันการมาของ Metaverse ทำให้ความต้องการชิปเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เทคโนโลยี Metaverse ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง (Mega Trend) ที่สำคัญในอนาคต ทำให้เซมิคอนดักเตอร์ หรือ “ชิป” ซึ่งเป็นหัวใจหลัก (Critical Component) ของการพัฒนาอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของ Metaverse อาทิ แว่น VR (Virtual Reality) และ Data Center ใหม่ ซึ่งปัจจุบันบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างให้ความสนใจเข้าสู่ Metaverse จำนวน มาก เช่น Facebook ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Meta มีการสั่งซื้อ EPYC Processors รุ่นใหม่ของบริษัท AMD เพื่อใช้ใน Data Center ใหม่ ซึ่งจะรองรับโครงการ Metaverse และ บริษัท Apple ที่ประกาศแผนที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ VR (Virtual Reality) ออกสู่ตลาดในปี 2022 นี้ เป็นต้น
บลจ.วี คาดว่าปัจจัยพื้นฐานของหุ้นในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ที่ยังคงแข็งแกร่ง และแนวโน้มผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในปี 2565 จะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระดับสูงจากปี 2564 ทั้งในด้านของยอดขาย ( Sale Growth ) และกำไรสุทธิ (EPS Growth)
โดย 5 บริษัทที่คาดว่าจะเติบโตโดดเด่นในปี 2565 ได้แก่ 1.) บริษัท NVDA US Equity คาดว่า EPS Growth เติบโตที่ 73.52% และมี Sale Growth เติบโตที่ 47.98% 2.) บริษัท AVGO US Equity เติบโตที่ 26.10% และ 13.66% 3.) บริษัท LRCX US Equity อยู่ที่ 26.13% และ 27.51% 4.) บริษัท AMAT US Equity อยู่ที่ 19.01% และ 19.46% และ 5.) บริษัท ADI US Equity คาดว่าเติบที่ 16.10% และ 66.94% ตามลำดับ (ที่มา: Bloomberg ณ วันที่ 30 พ.ย. 64)
บลจ.วี จึงยังคงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในปี 2565 และแนะนำให้ผู้ลงทุนทยอยซื้อสะสม ใน กองทุนเปิด วี อีโวลูชั่น ออฟ เซมิคอนดักเตอร์ (WE-EVOSEMI) โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับฐานลงในช่วงความกังวลในทิศทางแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
กองทุนเปิด วี อีโวลูชั่น ออฟ เซมิคอนดักเตอร์ (WE-EVOSEMI) (ความเสี่ยงระดับ 7 : ความเสี่ยงสูง) มีนโยบายในการลงทุนหุ้นขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก เป็น ETF ที่มีการคัดเลือกหุ้นในรูปแบบ Smart Beta คัดเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มการทำกำไรได้ดีในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ผ่านกองทุนหลัก Invesco Dynamic Semiconductors ETF ในสัดส่วน 60.41% และเน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านกองทุนหลัก VanEck Vectors Semiconductor ETF (SMH) ในสัดส่วน 28.56% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 64) ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะปรับสัดส่วนตามความเหมาะสมกับภาวะตลาดในแต่ละช่วง
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุนเปิด WE-EVOSEMI (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ธ.ค. 2564) ให้ผลตอบแทน 3 เดือนอยู่ที่ 7.94% และ ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนให้ตอบแทนอยู่ที่ 14.62% เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัด Dynamic Semiconductor intellidexSM Total Return Index (100%) อยู่ที่ 11.42% และ 22.46% , ตามลำดับ*
“ด้วยแนวโน้มการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่เข้าสู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้น จึงมีความต้องการ “ชิป” ที่เพิ่มขึ้นและรวดเร็ว แต่มีบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาที่จำกัด จึงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในการทำกำไรในอนาคต “กองทุน WE-EVOSEMI” จึงเป็นโอกาสการสร้างผลตอบแทนจากการการเติบโตของเทคโนโลยีที่เป็น Mega Trend ในอนาคต” นายอิศรา กล่าว
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานน้อยกว่า 1 ปี แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ปรับเป็นอัตราต่อปี ผลการดำเนินงานมากกว่า 1 ปี แสดงผลการดำเนินงานเป็นอัตราต่อปี
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.วี โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บล.เคจีไอ, บล.เอเชียเวลท์, บล.ฟิลลิป, บล.กรุงศรี, บล.ไทยพาณิชย์, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์,บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บลน.โรโบเวลธ์, บลน.ฟินโนมินา, บลน.เวลท์ รีพับบลิค, บลน.เว็ลธ์เมจิก, บลน. แอสเซนด์ เวลธ์, บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน), บล.กสิกรไทย และ บล.สยามเวลธ์ จำกัด