SVT เทคค้าปลีกเครือสหพัฒน์ ชูที่ 1 , 4 ความแข็งแกร่งธุรกิจ

HoonSmart.com>>SVT เทคค้าปลีกเครือสหพัฒน์ ชูความเป็นเลิศที่ 1  และ 4 ความแข็งแกร่งธุรกิจ  ” เทคค้าปลีก มาร์เก็ตแชร์ 44% – โรงงาน Refurbishment -ระบบแฟรนไชน์ – ตู้ SMART – จุดกระจายสินค้า ”  ก่อนลั่นระฆังในตลาดหลักทรัพย์ 5 ต.ค.นี้ 

นับถอยหลัง ไม่กี่วัน หุ้น ซันเวนดิ้ง  เทคโนโลยี หรือ SVT หุ้นเทคค้าปลีกเบอร์ 1 ของไทย  จะลั่นระฆังซื้อขายใน SET วันที่  5 ต.ค.นี้  หลังจากปิดจองซื้อหุ้นวันสุดท้าย วันที่ 27 ก.ย.นี้ ราคา IPO 2.54 บาท จำนวนที่เสนอขายนักลงทุนทั่วไป 200 ล้านหุ้น

ความต้องการของหุ้น ความร้อนแรงของราคา คงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะมีตัวอย่างหุ้นฟินเทค รุ่นพี่ ในตลาด สร้างปรากฎการณ์ให้เห็นแล้ว

มาทำความรู้จัก SVT ตู้กดเครื่องดื่ม ชา กา แฟ ขนมคบเคี้ยว ในตู้กดเวนดิ้ง ..ที่เปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยในอนาคต ใกล้ที่ไหน กด (ซื้อ) ที่นั่น ซื้อง่าย จ่ายสะดวก บริการ 24 ชั่วโมง

SVT เป็นบริษัทในเครือสหพัฒน์ และกลุ่มโชควัฒนา ซึ่งถือหุ้นรวมกัน 85.74 % หลังจากเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้นักลงทุนทั่วไป หรือที่เรียกกันติดปากว่า หุ้น IPO แล้ว ทั้งกลุ่มนี้จะเหลือหุ้นประมาณ 61% จากเดิม 85.74%

ก่อนจะเป็น ซัน  เทคโนโลยี บริษัทที่มีอายุราว 46 ปีแห่งนี้ ยุคก่อนเทคโนโลยีล้ำสมัย เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี 2518 ในนาม ซัน คัลเลอร์ ตัวแทนขายฟิล์มถ่ายรูป โคนิก้า หากใครที่ยังถือกล้องถ่ายรูป ยุคนั้น ย่อมรู้จักดี

แต่เมื่อเทคโนโลยี บุกโจมตี กล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม หันมาใช้กล้องอัตโนมัติ ไม่ต้องพึ่งพาฟิล์ม ไม่ต้องไปล้างอัดรูป  ห้องแล็บอัดภาพ จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

“ซัน คัลเลอร์”  ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือสหพัฒน์ จึงรับโอนตู้กดขายสินค้าจากสหพัฒน์ ในปี 2543 ถือเป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจ 1,800 ตู้ ซึ่งตู้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในโรงงาน ปริมณฑล รายได้เริ่มต้น 80-100 ล้านบาท พนักงานที่รับโอน 20 คน รายได้ส่วนใหญ่ 98% เป็นการขายสินค้าผ่านตู้กด ที่เรียกชื่อสมัยนี้ว่าตู้ เวนดิ้ง โดยมีแม่ทัพหญิง “อาภัสรา ภาณุพัฒนา” ที่บริหารงานตั้งแต่ “ซัน คัลเลอร์” เข้ามาปลุกปั้น SVT ในฐานะผู้บริหารถึงปัจจุบัน ที่ SVT มีตู้กดสินค้า 13,884 เครื่อง หรือกินส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์ ) อันดับ 1 ถึง 44% ใช้บริการผ่านตู้ SVT 20 ล้านคน

อาภัสรา ภาณุพัฒนา” กรรมการผู้อำนวยการ กล่าวถึงการบริหารจัดการตู้สินค้า ว่า กำลังคน ยังเป็นต้นทุนส่วนใหญ่ เพราะต้องใช้พนักงานวิ่งเติมสินค้าในตู้กด 2-3 วัน/สัปดาห์  บ่งชี้สินค้าที่ถูกกดออกไป ที่ตั้งของตู้กด อยู่ในโรงงาน ชุมชน ที่มีศักยภาพกำลังซื้อ ดังนั้น การบริหารจัดการจุดที่ตั้งตู้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับการเพิ่มรายได้จากตู้ SMART ตั้งแต่ปีนี้

“แม้ว่าสินค้าที่อยู่ในตู้ กว่า 700 ประเภท จัดหาจากแหล่งผลิต ทำให้มีต้นทุนต่ำ กำไรขั้นต้นสูง แต่ยังมีต้นทุนแรงงาน ค่าเสื่อมราคาตู้เวนดิ้ง บริษัทจึงต้องเร่งสร้างรายได้จากตู้ โดยการพัฒนาเป็นตู้ SMART เพิ่มยอดขายได้จากการขายโฆษณา ตั้งเป้า  เพิ่มตู้สมาร์ท ปีละ 5,000 ตู้ ซึ่งปี 2566 จะมีตู้กดสินค้ารวม 20,000 ตู้ จากปัจจุบัน ร่วม 14,000 ตู้ ”

ขณะที่ นายพิศณุ โชควัฒนา  กรรมการรองผู้อำนวยการสายงานการผลิต บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี ชูความเป็นเลิศของ SVT ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ความแข็งแกร่ง เป็นจุดได้เปรียบของธุรกิจ นั่นคือ SVT  มีโรงงาน Refurbishment หรือนำเครื่องนำเข้าจากจีน และญี่ปุ่น มาตกแต่งใหม่ ใส่กลไกลเครื่องใหม่ ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค มีศักยภาพ และทีมวิจัยที่พัฒนารูปแบบเครื่องอัตโนมัติ  50 ตู้/วัน  ความเด่นของโรงงานดังกล่าว สามารถนำตู้กลับมาซ่อมบำรุง มีต้นทุนต่ำ

อาภัสรา ภาณุพัฒนา กล่าวเสริมว่า แผนการเติบโต หลังจากเข้าตลาดแล้ว มีแผนขายแฟรนไชส์  เพื่อเข้าถึงพื้นที่ปิด เข้าถึงทั่วประเทศ  จึงต้องขยายสาขาซึ่งเป็นจุดกระจายสินค้า เพิ่มเติมอีก 3 สาขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุม 26 จังหวัดทั่วประเทศ

” จุดแข็งแกร่งของ SVT ในการเป็นผู้ให้บริการค้าปลีก ตู้กดสินค้าที่เข้าตลาดหุ้นรายแรก , ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 44% , มีโลจิสติกที่แข็งแกร่ง ครอบคลุม 26 จังหวัด , เพิ่มยอดขาย-รายได้จากตู้กด SMART อีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 2566 ตู้กดจะเพิ่มเป็น 20,000 ตู้ ที่จะทำให้เป้าหมายการเติบโตของรายได้รวม เติบโตปีละ 25% ตามแผน ” กรรมการผู้อำนวยการ กล่าว

นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของ SVT ได้กล่าวเสริมว่า  จุดเด่นของ SVT คือ เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจค้าปลีกขายสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในประเทศไทย มีส่วนแบ่งตลาด 44% ของจำนวนเครื่องที่ติดตั้ง ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของประเทศไทย และมีความได้เปรียบผู้ประกอบการอื่น ๆ ตรงที่มีโรงงาน Refurbishment  ทำให้หุ้น SVT เป็นที่สนใจของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ค่อนข้างมาก

“ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี” หุ้นเทคค้าปลีก เบอร์ 1  ของประเทศไทย ตั้งราคาขายหุ้นละ 2.54 บาท P/E ที่ 28 เท่า พาร์ 1 บาท คาดเข้าเทรด SET  วันที่ 5 ต.ค. 64  ระดมทุน เพิ่มเครื่องอัตโนมัติ-พัฒนาระบบ-จัดหาอุปรณ์อิเล็กทรอนิกส์  พัฒนาเครื่องเป็นแบบ Smart

หุ้น SVT เตรียมเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 22-23 และ 27 ก.ย.นี้ ที่ราคาเสนอขายหุ้นละ 2.54 บาทต่อหุ้น คาดจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 5 ต.ค.2564

SVTกำหนดราคาขายที่ 2.54 บาทต่อหุ้น  จากวิธีการสำรวจความต้องการซื้อ คิดเป็น P/E ที่ 28 เท่า ให้ส่วนลดเมื่อเทียบ P/E กลุุ่มอุตสาหกรรมบริการเฉลี่ยอยู่ที่ 39 เท่า ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ แสดงความสนใจเข้าจองซื้อมากกว่าจำนวนหุ้นที่จัดสรรให้ค่อนข้างมาก

​นายวิชา กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเด่นของ SVT คือ เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจค้าปลีกขายสินค้าผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด 44% ของจำนวนเครื่องที่ติดตั้ง ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของประเทศไทย และมีความได้เปรียบผู้ประกอบการอื่นๆ จากการมีโรงงาน Refurbishment ที่มีศักยภาพ และทีมวิจัยที่พัฒนารูปแบบเครื่องอัตโนมัติ ที่หลากหลาย สามารถนำเสนอสินค้าเพื่อขายผ่านเครื่องได้มากถึงประมาณ 700 SKUs และสามารถรองรับการให้บริการสินค้าและการชำระเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า รวมถึงแผนการปรับปรุงเครื่องอัตโนมัติให้เป็นแบบ Smart มากขึ้น  คาดว่าจะช่วยตอบสนองวิถีชีวิตผู้บริโภคได้ดี และนำสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

ด้านนางอาภัสรา ภาณุพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี (SVT) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการระดมทุน เพื่อขยายการติดตั้งให้บริการเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายให้ครบ 20,000 เครื่อง ภายในปี 2566 จากปัจจุบันมีอยู่ 13,884 เครื่อง และจะใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาให้เป็นอัตโนมัติประเภทที่รองรับเงินสดและการชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตู้ smart) ให้ครบ 15,000 เครื่อง ของเครื่องทั้งหมด 20,000 เครื่อง ภายในปี 2566

นอกจากนี้ยังมีแผนการขยายสาขาเพิ่มเติมอีก 3 สาขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมทั้งแผนการขยายไปยังธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อขยายการให้บริการขายสินค้าผ่านตู้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการเข้า SET จะช่วยเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งในการขยายธุรกิจตามแผนงานที่วางไว้ ปัจจุบันบริษัทมีเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติครอบคลุมพื้นที่ 26 จังหวัด และสาขารวมทั้งหมด 11 แห่ง

ปัจจุบันบริษัทยังคงเป็นอันดับ 1 ในไทย โดย ณ สิ้นปี 2563 ปริมาณเครื่องในอุตสาหกรรมมีทั้งหมดประมาณ 30,000 เครื่อง เป็นของ SVT จำนวน 13,336 เครื่อง คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด 44%  ในอนาคตยังคงครองอันดับ 1 ต่อไป เราเป็นผู้ประกอบการเครื่องอัตโนมัติเจ้าแรกของไทย และยังเป็นเจ้าแรกที่นำธุรกิจนี้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงการมีโรงงาน Refurbishment ที่เป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ด้วย