HoonSmart.com>>บริษัท สบาย เทคโนโลยี (SABUY) บริษัทที่มีคอนเซ็ปต์ ความสะดวกสบาย ให้กับประชาชน ตามตรอก ซอกซอย เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเป้าหลักของ ” ชูเกียรติ รุจนพรพจี” ซีอีโอ และผู้ถือหุ้นใหญ่ SABUY
แม้ว่า “ชูเกียรติ จะไม่ใช่ผู้ก่อหลักตั้ง สบาย เทคโนโลยี (ชื่อเดิม เวนดิ้ง คอร์ปอเชั่น) มีธุรกิจตู้เติมเงินโทรศัพท์ สีเขียวสดใส “ตู้เติมสบาย” เป็นบริษัทในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของ AJA ก่อนจะตกมาอยู่ในมือของ “เสี่ยยักษ์ – วิชัย วชิรพงษ์” นักลงทุนรายใหญ่ เป็นเพียงผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ได้ร่วมบริหาร ถือหุ้นมาราว ๆ 3 ปี
แต่ความตั้งใจของ “ชูเกียรติ” ที่จะทำให้บริษัทเติบโต และเข้ามาฟื้นฟูตู้ “เติมสบาย” ในต้นปี 2559 จากตู้ “เติมสบาย ” 800 ตู้ พนักงาน 20 คน ขึ้นสู่ 53,000 ตู้ และพนักงาน 650 ชีวิต จากนั้นได้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง สู่ตู้ชำระเงิน ในรูปของตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ , ตู้ชำระเงิน และระบบในศูนย์อาหารขึ้นมา เป็นหลัก แทนตู้เติมเงิน “สบายดี” ด้วยทีมงานคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และการเงิน ผสานเข้าด้วยกัน ทำให้ชีวิตดี๊ดี เข้าถึงเทคโนโลยี ง๊ายง่าย
มาถึงวันที่ “สบาย เทคโนโลยี” เดินเข้าตลาดหุ้น กระจายหุ้นให้นักลงทุนรายย่อย จำนวน 157 ล้านหุ้น ในจำนวนนี้มีหุ้นของ “เสี่ยยักษ์” 40 ล้านหุ้น ออกมาขายด้วย เป็นการขายทั้งหมดที่ถืออยู่ ด้วยราคาขาย 2.50 บาท “เสี่ยยักษ์” กำเงินสดในมือ 100 ล้านบาท ทันที
การขายหุ้นของ “เสี่ยยักษ์” ดี-ไม่ดี ยังไง !!! หุ้นสมาร์ท จะแจกแจงให้ฟัง
- “เสี่ยยักษ์” ไม่ได้ร่วมบริหาร การบริหารและพัฒนาธุรกิจอยู่ที่ ” ชูเกียรติ และทีมงาน ” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผสมผสานการเงิน
- การเติบโตของธุรกิจและรายได้ต่อเนื่อง มาจากทีมบริหาร
- “เสี่ยยักษ์” เป็นนักลงทุน ไม่สามารถนำเงินมาถมในกิจการใด ๆ นาน ๆ หลายปีได้ การเคยถือ สบาย ฯ มา 3 ปี ถือว่านานและรอวันที่จะออก เมื่อเวลามาถึง หากไม่ขายออก ก็ต้องติดระยะเวลาห้ามขาย (ไซเร้นพีเรียด ) 1 ปี ท่ามกลางความไม่แน่นนอน การกำเงินสดวิเศษสุด
- การมี “รายใหญ่” เข้ามาลงทุน หากคาดหวังว่า จะชี้นำราคา เป็นความคิดที่ผิด เพราะหากเป็นการลงทุนระยะสั้น ก็ไม่มีประโยชน์ เข้ามาแล้วขายทำกำไรออกไป ทิ้งซากปรักให้รายย่อย หลาย ๆ บริษัททำให้เห็น เข้ามาแล้วจากไป
- กิจการที่ดี ผลประกอบการเติบโตยั่งยืน ถึงเวลารายใหญ่ จะวิ่งเข้ามาลงทุนเอง
ฉะนั้น การที่ “เสี่ยยักษ์” ไม่ได้ถือหุ้น SABUY ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้น SABUY จะไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุน ในวันที่เข้าตลาดหุ้น แต่ขึ้นอยู่กับภาวะตลาด ธุรกิจมากกว่า นักลงทุนจึงต้องเชื่อมั่นใน “ชูเกียรติ” นักการเงิน-ธนาคาร ซึ่งเขาเคยเป็นนายแบงก์ต่างชาติระดับต้น ๆ ของไทย ทีมงาน และโมเดลธุรกิจ ที่ “ชูเกียรติ” ได้นำความรู้ด้านการเงิน มาใช้กับเทคโนโลยี ได้อย่างลงตัว
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การได้รับอนุญาต สบาย มันนี่ (SBM) กรรมการใน SABUY ทุกคน ถูกตรวจสอบประวัติ ไม่เป็นบุคคลต้องห้าม กรรมการทุกคนมีประสบการณ์ด้านการเงิน และเทคโนโลยี อีกทั้งลูกค้ารายใหญ่ของ SABUY เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เช่น เทสโก้โลตัส ที่อยู่กันมา 20 ปี โดย สบายโซลูชั่นส์ (SBS) บริษัทลูก เป็นผู้วางระบบในศูนย์อาหารให้ หรือ บริษัท ทรู มันนี่
ถามว่า “เสี่ยยักษ์” ขายหุ้นในส่วนผู้ถือหุ้นเดิมออกไปแล้ว จะกลับเข้ามาซื้อได้อีกมั้ย ??? ในราคาต่ำกว่าที่ขายไป ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเชื่อว่า ชื่อ “เสี่ยยักษ” ถูกจับตามอง จากตลาด-ก.ล.ต.อยู่แล้ว หรือมีบัญชีไหนซื้อเยอะ ๆ เป็นที่ต้องสงสัย จะถูกจับตาเช่นกัน
ดังนั้น การไม่มี “เสี่ยยักษ์” ถือหุ้น SABUY อาจจะทำให้นักลงทุนรายย่อยไม่เจ็บตัว !!!! จนกลัวและพลาดโอกาสการเข้าลงทุนบริษัทที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยี เช่นนี้ไป
อ่านข่าว