คอลัมน์ความจริงความคิด : 10 ข้ออ้างของการไม่วางแผนเกษียณ

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์, CFP นักวางแผนการเงิน

ครั้งที่แล้ว คุยถึงข้อผิดพลาดของการวางแผนเกษียณอายุ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจาก ไม่รู้ และ ประมาท เพราะไม่รู้ เลยไม่ได้วางแผนยังพอเข้าใจ แต่ที่รู้ว่าต้องวางแผน แต่ประมาทนี่สิ ทำไมถึงประมาท พอดีไปเจอบทความที่พูดถึงข้ออ้างของการไม่วางแผนเกษียณ เรามีข้ออ้าง 1 ใน 10 ข้อนี้ด้วยหรือไม่

ข้อที่ 10: “I’m too busy”
*คนส่วนใหญ่**: *แม้จะรู้ว่าการวางแผนเพื่อการเกษียณเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองไม่มีเวลา งานปกติก็เยอะ เดี๋ยวค่อยทำพรุ่งนี้หรือวันอื่นก็ได้
Mclych: ผลัดไปเรื่อยๆ กว่าเราจะรู้ตัวอีกที เผลอแป๊บเดียวก็ผ่านไปอีกหลายปีเลย สุดท้ายเราก็จะพูดกับตัวเองว่า โห..รู้อย่างนี้เราเริ่มทำตั้งแต่ 5 ปี 10 ปีที่แล้ว
ความขี้เกียจ เป็นด่านแรกที่เราต้องเอาชนะให้ได้ เริ่มต้นวันนี้ เราจะได้ไม่เสียดายเวลาที่กำลังผ่านพ้นไป

ข้อที่ 9: “It’s too soon”
*คนส่วนใหญ่**: *บอกว่าเพิ่งจะเริ่มทำงานเอง รายได้ยังไม่เยอะมาก ของก็อยากซื้อเยอะแยะ เร็วไปไม๊สำหรับการเกษียณ
Mclynch: ไม่มีอะไรที่เร็วไปสำหรับการวางแผนเพื่อการเกษียณหรอกครับ เพราะจะเป็นหนทางที่จะช่วยให้พวกเราทุกคนมีอิสรภาพทางการเงินและมีความสุขในการดำรงชีวิตแล้วเราก็จะรู้ว่า อะไรคือเหตุผลที่เราจะต้องประหยัดลดการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ในส่วนที่ไม่จำเป็น
เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรที่เร็วเกินไปสำหรับการเริ่มต้นวางแผนหรอกครับ เริ่มเร็ว เกษียณเร็ว ด้วยอำนาจของการลงทุน นี่คือคติที่เราฝากไว้

ข้อที่ 8: “It’s too late”
*คนส่วนใหญ่**: *อาจจะบอกว่า โห…ทำงานมาขนาดนี้ ไม่มีเงินเก็บเลย อายุก็เยอะ วางแผนไม่ทันแล้ว
Mclynch: แม้อาจจะดูเหมือนสายไปแล้ว แต่ทุกวันนี้มีเครื่องมือที่ช่วยให้ผลตอบแทนได้หลากหลายมากขึ้น บางทีเราอาจจะยังไม่รู้ กลยุทธ์เหล่านั้น ซึ่งจริงๆแม้แต่คนที่มีการวางแผนแล้วก็ยังควรที่จะทบทวนและปรับปรุงแผนของตัวเอง ทุกๆครึ่งปีเลยครับ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรสายเกินไป เริ่มช้า ยังดีกว่าไม่เริ่มนะครับ

ข้อที่ 7: “I don’t need to”
*คนส่วนใหญ่**: *บอกว่าจำเป็นด้วยเหรอการวางแผนเนี่ย มีประโยชน์อะไรนักหนา ฟังดูยุ่งยากจัง
Mclynch: พวกเราอยากจะบอกว่า “ทุกการวางแผนทางการเงินมีต้นทุน แต่ถ้าคุณไม่วางแผนคุณเองก็มีต้นทุนเช่นเดียวกัน”
กระบวนการวางแผนทางการเงินจะทำให้เรารู้ว่ามีปัญหา ณ จุดไหน ทั้งในวันนี้ และในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้าน รายรับ รายจ่าย กระแสเงินสด เป้าหมายที่ต้องการใช้เงินในช่วงเวลาต่างๆ ฯลฯ การวางแผนล่วงหน้า จะทำให้เราอุดรอยรั่วเหล่านั้น ทำให้เราไม่พลาดพลั้งต่ออุบัติเหตุทางการเงินในอนาคต

ข้อที่ 6: “My goals are too big”
*คนส่วนใหญ่**: *หลายคนตั้งเป้าหมายตัวเองไว้สูงเกินไป เช่น มี 1 ร้อยล้าน ใน 5 ปี ในขณะที่รายได้มีเพียง 3 หมื่นต่อเดือนเท่านั้น
Mclynch: มีความฝัน เป็นสิ่งที่ดีครับ สิ่งที่เราทำได้คือ แบ่งเป็นสเตป ทีละขึ้น เช่น 10 ล้านใน 2 ปีแรก ค่อยๆเป็นค่อยๆไปครับ ไม่มีใครสามารถทำให้ฝันตัวเองเป็นจริงในวันเดียว แต่แผนการเงินจะทำให้ฝันอันยิ่งใหญ่ของคุณ มีความเป็นไปได้ในเวลาที่เร็วกว่าที่คุณคิด

ข้อที่ 5: “My finances are a mess”
*คนส่วนใหญ่**: *เพื่อนๆอาจจะคิดว่า ลำพังการจัดการเงินปัจจุบันก็ยุ่งวุ่นวายอยู่แล้ว บางคนทำงานหลายอาชีพพร้อมกัน ยังต้องมาคิดเรื่องการวางแผนการเงินอีกเหรอ
Mclynch: ทำตามขั้นตอน ทีละขั้นของแผนการเงินจะช่วยให้วามวุ่นวายในชีวิต รวมถึงความเครียดจากการทำงานน้อยลง เพราะเงินเองจะทำหน้าที่เป็นเครื่องทุ่นแรงในการหาเงิน ให้คุณอีกแรง

ข้อที่ 4: “The Government will take care of me”
*คนส่วนใหญ่**: *เดี๋ยวรัฐบาลก็ช่วยเรื่องสวัสดิการเราเองนั่นแหละ
Mclynch: จริงอยู่ที่รัฐบาลมีนโยบายเน้นไปในเชิงให้สวัสดิการมากขึ้น แต่ต้องบอกเลยนะครับว่าโครงสร้างประชากรของไทยเปลี่ยนไป คนเกิดน้อยลงแต่คนสูงอายุมากขึ้น ดังนั้นการที่รัฐบาลจะมีเงินจ่ายให้เราตอนที่เราอายุมากแล้วนั้นจึงมีความเป็นไปได้ยาก ทางที่ดีที่สุดคือให้คิดถึง สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือไม่มีใครช่วยเราได้ นอกจากตัวเราเอง เพราะเมื่อเวลานั้นมาถึง ถ้ามีตัวช่วยจากแหล่งอื่นก็ดี แต่ถ้าไม่มีเราก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ข้อที่ 3: “I have enough saved in my retirement fund, I’ll be fine”
*คนส่วนใหญ่**: *มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนของกบข. อยู่แล้ว กลัวอะไร
Mclynch: ใช่ครับ บางท่านอาจจะมีกองทุนเหล่านี้ เพราะตั้งใจลงทุนในระยะยาวอยู่แล้ว ไหนจะเรื่องราคาสินค้าแพงที่ขึ้นทุกๆปี ไหนจะเรื่องอายุที่เฉลี่ยยาวขึ้นทุกปี ไหนมูลค่าเงินจะน้อยลงทุกปี สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องมองหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งอื่นที่จะช่วยให้ความเสี่ยงเหล่านี้ลดลงในอนาคต สำรวจความเสี่ยงและการลงทุนในปัจจุบันของท่าน

ข้อที่ 2: “I don’t want to think about it”
*คนส่วนใหญ่**: *ไม่อยากคิดถึงการวางแผนเลย ฟังดูยุ่งยาก วุ่นวายมาก
Mclynch: อุปสรรคด่านที่ยากที่สุดคือ ตัวเราเอง การที่เราไม่สนใจ และไม่ยอมรับว่าคุณกำลังเผชิญปัญหาทางการเงิน ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแน่นอน พวกเรารับรองว่า การเปิดใจ ยอมรับว่าคุณมีปัญหาทางการเงินเหล่านี้ จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาง่ายขึ้นเยอะ

ข้อที่ 1: “I don’t know how”
*คนส่วนใหญ่**: *ผมรู้แล้วแหละว่าจำเป็นต้องวางแผน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี
Mclynch: เริ่มต้นเก็บข้อมูลทางการเงินของตนเองแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาปัญหาที่คุณกำลัง หรือกำลังจะเผชิญในอนาคต ศึกษาหาข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติม www.mclynch.com/blog

* บทความนี้ได้แนวคิดจาก Mr. John F. McAvoy,

คอลัมน์ความจริงความคิด : ข้อผิดพลาดในการวางแผนเพื่อเกษียณอายุ