‘การบินไทย’ ปี 62 อ่วมขาดทุน 1.2 หมื่นลบ. ตั้งคณะทำงานเกาะติดโควิด-19

HoonSmart.com>> การบินไทย ปี 62 ขาดทุนสุทธิ 12,042 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 3.59% จากงวดเดียวกันปีก่อน รายได้ลดลง 15,454 ล้านบาท หรือลด 7.7% พร้อมตั้งคณะทํางานติดตามสั่งการและเฝ้าติดตาม COVID-19 อย่างใกล้ชิดรับมือสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณคลี่คลายและทวีความรุนแรง

บริษัท การบินไทย (THAI) เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2562 สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2562 ขาดทุนสุทธิ 12,042.41 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 5.52 บาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 3.59% จากงวดปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 11,625.17 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 5.33 บาท

บริษัทต้องเผชิญผลกระทบจากปัจจัยลบหลายประการทั้งจากผลระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ภัยธรรมชาติ การแข็งค่าของเงินบาทในรอบ 6 ปี การแข่งขันด้านราคารุนแรง ประกอบกับมีการรับรู้ค่าชดเชยตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 300 วัน เป็น 400 วัน

ในปี 2562 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 184,046 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 15,454 ล้านบาท หรือ 7.7% รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลงรวม 15,767 ล้านบาท หรือ 8.6%

สำหรับค่าใช้จ่ายรวม 196,470 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 12,088 ล้านบาท หรือ 5.8% สาเหตุหลักเกิดจากค่าน้ำมันลดลง 5,421 ล้านบาท หรือ 9.0% เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง 8.2% ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันลดลงจากปีก่อน 6,580 ล้านบาท หรือ 4.6% ส่งผลให้บริษัทฯและบริษัทย่อยขาดทุนจากการดำเนินงาน 12,424 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปี 2561 จำนวน 3,366 ล้านบาท หรือ 37.2%

นอกจากนี้บริษัทและบริษัทย่อยยังมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นครั้งเดียวจากการประมาณการเงินตอบแทนความชอบในการทำงานจำนวน 2,689 ล้านบาท โดยบริษัทได้รับรู้ค่าชดเชยเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี และมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 634 ล้านบาท

ขณะที่มีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำนวน 273 ล้านบาทและมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 4,439 ล้านบาท

บริษัทและบริษัทย่อยมีจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในการดำเนินงาน ณ 31 ธ.ค.2562 จำนวน 103 ลำ เท่ากับ ณ สิ้นปี 2561 มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบินเท่ากับ 11.9 ชั่วโมง ต่ำกว่าปีก่อนที่ 12.0 ชั่วโมง โดยในปี 2562 มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสารลดลง 2.7% จากการปรับลดที่เที่ยวบินที่ไม่ทำกำไรและต้องหยุดบินในบางเส้นทางจากเหตุการณ์สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประกาศปิดน่านฟ้าปริมาณการขนส่งผู้โดยสารลดลง 0.9%

อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย 79.1% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 77.6% และจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวม 24.51 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.8% ต

สำหรับอุตสาหกรรมการบินในปี 2563 ยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ทําให้ประเทศไทยและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ประกาศห้ามหรือเตือนประชาชนของตนให้งดการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวเป็นเหตุให้บริษัท การบินไทย ต้องปรับลดเที่ยวบินและลดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกบจํานวนผู้โดยสารที่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อยู่ระหว่างการดําเนินการตามมาตรการในการบริหารจัดการผลกระทบจากไวรัส COVID-19 อย่างเข้มข้น โดยจัดตั้งคณะทํางานเรื่องการแกไขปัญหา เพื่อติดตามสั่งการและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่้อรับมือกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่ยังไม่มีสัญญาณที่คลี่คลายและยังคงทวีความรุนแรง และลุกลามในภูมิภาคยุโรปในอีกหลายประเทศในขณะนี้

นอกจากนี้ผลกระทบจากสงครามการค้าระหวางสหรัฐฯ และจีนที่ยังดําเนินต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการเจรจาจะบรรลุข้อตกลงในเบื้องต้นแล้ว แต่คาดว่ายังคงนําไปสู่การเจรจาในขั้นต่อๆไป ประกอบกับประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองภายหลัง จากการถอนตัวของ สหราชอาณาจักรจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรือ เบร็กซิท ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านรวมทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังคงมีความผันผวน

จากปัจจัยลบต่างๆ และสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวมของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงได้ทบทวนสภาพแวดล้อมภายนอกของอุตสาหกรรมการบิน สภาวะตลาดและการแข่งขันสภาพแวดล้อมภายใน โดยได้จัดทําแผนฟื้นฟูระยะเร่งด่วนระยะที่ 2 โดยดําเนินการควบคู่ไปกบการดําเนินการตามแผนดําเนินการตามกลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย 3 แนวทางการดําเนินงาน ได้แก่

– การเพิ่มรายได้ โดยดําเนินกลยุทธ์เจาะกลุ่มลูกค้าแบบ Personalized มุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริม(Ancillary Revenue) รวมทั้งเร่งดําเนิ นงานด้าน Digital Marketing โดยใช้ Big Data และ Data Analytic ในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มการขายทาง Online ให้มากขึ้น

– การควบคุมและลดค่าใช้จ่าย โดยมีมาตรการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น ลดค่าตอบแทนของผู้บริหารและคณะกรรมการอยางสมัครใจ

– การปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินงาน อาทิ การบริหารจัดการฝูงบินให้มีประสิทธิภาพ โดยเร่งสรุปแผนการจัดหาเครื!องบินให้มีความเหมาะสมกบการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั7งควบคุมติดตามแผนการจําหน่ายเครื่องบินที!ปลดระวาง และทรัพย์สินให้ได้ตามแผนการขายเครื่องบิน และวางแผนระยะยาวในการลดหนี้สินเพื่อลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้ตํ่าลงเพื่อลดความเสี่ยงของสถานะทางการเงินและหนี้สินของบริษัทฯ รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกบการประกอบธุรกิจ และบรรจุบุคลากรในตําแหน่งสําคัญให้ครบถ้วนเพื!อให้มันใจว่าการดําเนินการทั้งหมดมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด