“บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ซีอีโอ “TPS” เอ็นจิเนียตัวพ่อ วางระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล

HoonSmart.com>>“บุญสม กิจเกษตรสถาพร”  พนักงานขายขี้อาย ที่รู้ตัวเองดีว่า ไม่เหมาะกับอาชีพเซลล์แมนขายของ ด้วยบุคลิกขี้อาย พูดไม่เก่ง  แต่ด้วยใจรัก บวกกับความตั้งใจ ที่ต้องไปให้ถึงฝัน วันนี้แทบจะกล่าวได้ว่า บุญสมและทีมงาน เป็นเอ็นจิเนียตัวพ่อ คิดไม่ออกเรื่องเทคนิคของระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ให้บอกเมธี  (เมธี วิธวาศิริ) หุ้นส่วนคนสำคัญ จนมาถึงวันที่เดอะแพรคทิเคิล โซลูชั่น หรือ TPS เข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ ( mai )

“บุญสม” กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS จากเด็กประจวบคีรีขันธ์ ลูกเกษตรกร ที่เดินทางเข้ามาศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขาฟิสิกซ์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่มีศาสตร์ของวิศวกรรม หรือเอ็นจิเนียร่วมด้วย   ด้วยความที่ไม่ชอบทำงานโรงงานจำเจอยู่กับเครื่องจักรกล เขาคิดตั้งแต่ยังศึกษาไม่จบว่า จบแล้วต้องเป็นพนักงาน หรือเซลแมน และเปลี่ยนบุคลิกขี้อาย-พูดไม่เก่งให้ได้

บุญสม กิจเกษตรสถาพร

เมื่อมีความกล้าที่จะเปลี่ยน ปรับตัวเข้ากับสังคมเซลล์ให้ได้ งานแรกเริ่มต้นทันทีด้วยการสมัครเป็นเซลล์ขายเครื่องมือแพทย์เรย์เซอร์ผ่าตัด เป็นเซลล์ได้ 1 ปี ลาออกตามเพื่อน มาเจอบริษัท ซูมิโตโม ของญี่ปุ่น ที่เชี่ยวชาญวางสายไฟเบอร์ออฟติค และผลิตสายไฟเบอร์ ณ จุดนี้ ที่จุดประกายความคิด “บุญสม” มองอนาคตเทคโนโลยีที่จะเกิด ทำให้เขาสมัครทำงานบริษัท ซูมิโตโม ทันที

เป็นเซลล์เอ็นจิเนีย ขายอุปกรณ์เครือข่ายระบบข้อมูลได้ 4 ปีเศษ “บุญสม” เริ่มมองเห็นช่องทางการเป็นเจ้าของธุรกิจ ความคิดอีกเช่นเดิมที่มองว่า การเป็นเซลล์  จะโตได้ต้องเป็นผู้บริหาร ถ้าไม่ได้เป็น ก็ต้องเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ จึงออกมาตั้งบริษัทกับเพื่อน ทำได้ระยะหนึ่งจึงแยกตัวออกมา ตั้งบริษัท เดอะแพรคทิเคิล โซลูชั่น โดยมี “เมธี” หุ้นส่วนสำคัญที่จัดตั้งร่วมกันมา กว่า 14 ปี

TPS เป็นบริษัทให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กับลูกค้า 2 รูปแบบคือ ขายและวางระบบปกติ และ ในลักษณะสัญญาเช่าทางการเงินให้ลูกค้าทั้งภาครัฐ-เอกชน  , ธุรกิจบำรุงดูแลหลังการขาย และบริการอื่น ๆ เช่น วางซอฟแวร์-สายเคเบิ้ล รายได้หลัก 70-80 % มาจากออกแบบติดตั้งและขายอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสาร และบริการดูแล-ซ่อมบำรุงหลังการขาย 20-30 %

Cisco_Data Center Switch

ทั้ง “บุญสม-เมธี”  มีความชำนาญ-ประสบการณ์สายเทคโนโลยีมากกว่า 20 ปี ดังสโลแกน “คิดไม่ออก (เรื่องเทคโนโลยี)  บอก เมธี  ไม่เพียง 2 คนนี้ เอ็นจิเนียคนอื่น ๆ ที่เป็นตัวจักรสำคัญอีก 5 คน รวม 7 คน โดย 4 ใน 7 เป็นผู้ถือหุ้น และผู้บริหารด้วย TPS

เอ็นจิเนียทั้ง 7 มีส่วนสำคัญอย่างมากกับแบรนด์ CISCO ของอเมริกา  (ซิสโก้ ซีสเต็มส์ อิงค์ หรือ Cisco System) ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีชื่อเสียงของอเมริกา ผลิตภัณฑ์ดีที่สุดและแพงที่่สุด  เป็นคู่ค้ามา 14 ปี

“บุญสม” บอกว่า TPS เป็นคู่ค้ากับ CISCO มากว่า 14 ปี โดยเป็นตัวแทนขายระดับโกลด์พาร์เนอร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ซึ่งในประเทศไทย มีเพียง 11 ราย ซึ่ง TPS เป็น 1 ใน 11 รายนี้ด้วย

“การเป็นโกลด์พาร์ทเนอร์ของ CISCO ได้ ต้องมีการรับรองตัวเอ็นจิเนีย 3 ระดับ ซึ่งระดับยากที่สุดอยู่ที่ระดับ 3  หรือ CCIE ต้องมีเอ็นจิเนียขั้นต่ำ 4 คน โดย TPS มีเอ็นจิเนียทุกระดับ เฉพาะระดับสูงสุด 3  บริษัทมีถึง 7 คน แต่ละปี บริษัทจะส่งเอ็นจิเนียไปอบรมต่อเนื่อง เมื่อมองว่าเอ็นจิเนีย หัวใจสำคัญเป็นความเสี่ยง ตรงนี้ถือเป็นจุดแข็งของ TPS ที่เอ็นจิเนียระดับ CCIE มีถึง 4 คนเป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นด้วย “

จุดเด่นของ TPS อีกประการคือ จำนวนเอ็นจิเนียกว่าครึ่ง 50-60 คน ของพนักงานทั้งหมดกว่า 100 คน ที่มี  Service Mind หรือบริการด้วยใจ ด้วยความตั้งใจชื่นชมยินดี ให้ความยืดหยุ่นกับลูกค้าได้ พูดได้ ทำได้ งานเสร็จภายในเวลา 7 – 15 วัน

   Cisco_Router

นับจากนี้ TPS ที่กำลังจะขายหุ้น IPO สู่ประชาชน นำเงินส่วนหนึ่งใช้หนี้เงินกู้ และสร้างศูนย์บริการเครือข่ายไว้บริการดูแลงานระบบให้ลูกค้า โดย TPS พยายามขายผลิตภัณฑ์งานเครือข่ายระบบที่ดีที่สุด CISCO ให้ลูกค้า เพื่อให้ระบบของลูกค้าทำงานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อระบบดี การดูแลรักษาง่าย สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า จะเห็นได้ว่า ลูกค้า 60-70 % เป็นลูกค้าเก่าที่อยู่กับ TPS ไปเรื่อย ๆ ณ สิ้นเดือนส.ค. มีงานในมือ 378 ล้านบาท ใช้เวลา 2-3 เดือนหรือภายในปีนี้ ส่งมอบเสร็จ และงานภาครัฐบางส่วนสัญญาส่งมอบ 1 ปีในปี 2563 อนาคตการเติบโตในงานภาครัฐมากขึ้นซึ่งมีมูลค่ามากจากการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีของภาครัฐ