AECS จับตาปัจจัยตปท.ทำหุ้นไทยป่วน มองกรอบดัชนี 1,600-1,640 จุด

HoonSmart.com>>บล.เออีซี มองตลาดหุ้นไทยจับตาปัจจัยลบต่างประเทศเป็นหลัก “สงครามการค้าสหรัฐ-จีน” หารือปลายเดือนมิ.ย.อีกครั้ง ประชุมกลุ่ม OPEC วางกรอบดัชนี 1,600-1,640 จุด แนะกลยุทธ์ลงทุนในหุ้น Defensive – Growth ชู TPCH – SSP – TTW – BAFS – KBANK – SAWAD – KBANK -KTB เด่น

บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS ประเมินทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ มีทั้งปัจจัยบวกและลบ โดยปัจจัยบวก ได้แก่ MSCI นำ NVDR เข้ามาคำนวณใน MSCI EM Index คาดจะส่งผลให้มี Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทย และมีแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทั้งจีนและสหรัฐฯ ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินยังคงดี ส่วนปัจจัยลบได้แก่ ปัญหาสงครามการค้าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ส่วนปัจจัยต่างประเทศ สหรัฐฯประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมของบริษัทหัวเว่ยชั่วคราวมีผล 90 วันจนถึงวันที่ 19 ส.ค. 62 ดังนั้นจึงควรจับตาการเจรจาการค้ากันอีกครั้งในการประชุม G20 ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 28-29 มิ.ย. 62 ระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีจีน นายสี จิ้นผิง และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ในวันที่ 18-19 มิ.ย. 62 คาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25-2.5% บวกกับเริ่มเห็นสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก Implied Prob ช่วงอัตราดอกเบี้ย 2-2.25% หลังจากที่ทีการประกาศตัวเลข เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในสัปดาห์ก่อน

อย่างไรก็ดี การประชุม OPEC ในวันที่ 25 มิ.ย. ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย คาดว่ากลุ่ม OPEC จะมีการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงจนถึงสิ้นปี 2562 บวกกับสหรัฐฯ มีการคว่ำบาตรประเทศอิหร่านและเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ส่งผลต่อราคาน้ำมันได้

ดังนั้น มองระยะสั้นดัชนีแกว่งในกรอบ 1,600-1,640 จุด ดังนั้นจึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุน เก็งกำไร ในกลุ่มที่น่าลงทุนได้แก่ 1 กลุ่ม Defensive,1 กลุ่ม Growth และ 1 กลุ่มราคาถูก เช่น กลุ่มหุ้นกระแสเงินสดแข็งแกร่ง ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้นเราเลือกหุ้นที่มีความมั่นคงทางกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ได้แก่ กลุ่มพลังงานทางเลือก แนะนำ TPCH (แม้ช่วง 1Q62 กำไรโตเพียง 4.4%YoY เพราะมีโรงไฟฟ้าหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร แต่อย่างไรก็ดีมองระยะยาวมีแนวโน้มโตสดใสจากเป้าปี 63 จะเพิ่มกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น 200 MW และโรงไฟฟ้าจากขยะกำลังการผลิต 50 MW จากปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 60 MW, โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 49 MW และโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา 10 MW) และ SSP (ช่วง 1Q62 กำไรโต 16.4%YoY จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายได้ของโครงการต่างๆ และการบริการรับเหมาก่อสร้างโซลาร์บนหลังคาโดยปี 62 ตั้งเป้า COD เพิ่มอีก 65.6 MW จากโซลาฟาร์มมองโกเลีย 16 MW และโซลาร์ฟาร์มเวียดนาม 49.6MW ส่งผลให้สิ้นปีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเป็น 157.1MW จากปี 61 ที่ 90.4MW)

นอกจากนี้มอง กลุ่มสาธารณูปโภค เป็น OASIS ยามเมื่อตลาดหุ้นไทยผันผวน เลือก TTW (กำไรสุทธิช่วง 1Q62 โต 10.4%YoY หลังรายได้ขายน้ำประปารวมของทั้ง TTW และ PTW เพิ่มขึ้น 4%YoY ตามความต้องการใช้น้ำประปาของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น บวกกับส่วนแบ่งกำไรจาก CKP (TTW ถือหุ้น 25.3%) เพิ่มขึ้นจากเพียง 3.2 ลบ. ในช่วง 1Q/61 เป็น 35.3 ลบ. สอดคล้องกับปริมาณขายไฟที่มากขึ้นของโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 และ BAFS (กำไรสุทธิช่วง 1Q/62 เติบโต 7.8%YoY จากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.9%YoY ส่วนปี 62ตั้งเป้ารายได้โต 10%YoY และเป้าปริมาณการเติมน้ำมันโต 4-5%YoY ตามจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับเริ่มรับรู้รายได้ท่อส่งน้ำมันบางปะอิน-พิจิตร ปี 62 ราว 200 ลบ. และเตรียมเข้าประมูลโครงการจัดเก็บและเติมน้ำมันในสนามบินอู่ตะเภา)

รวมทั้งยังแนะนำ กลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ คาดมีโอกาสเติบโตได้ดีจากอัตราการขยายตัวของพอร์ตลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการกู้ยืมเงินของกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ยังมีอยู่มากและได้รับผลบวกจากการที่ ธปท. เข้ามาควบคุมด้านกฏระเบียบอย่างเข้มงวดทำให้คาดจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในกลุ่มของผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบมากขึ้นแนะนำ SAWAD (คาดกำไรปี 62 โต 30.8%YoY หนุนด้วยเป้าพอร์ตสินเชื่อโต 20-30% พร้อมแผนเปิดสาขาใหม่อีก 300-400 สาขา, Asset Yield ฟื้นตัวตามสัดส่วนการรับรู้รายได้ผ่านสัญญาเงินกู้ผ่าน BFIT ที่มากขึ้นและต้นทุนทางการเงินที่ปรับลงหลังได้รับเงินเพิ่มทุนจากพันธมิตร) และ MTC (คาดกำไรปี 62 โต 20.9%YoY หนุนด้วยแผนเปิดสาขาใหม่ตามเป้าณสิ้นปีที่ 3,900 สาขา, ต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มลดลงหลัง TRIS ปรับเพิ่ม Rating ของบริษัทขึ้นและภาระตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญที่น้อยลง)

สุดท้าย กลุ่มธนาคาร มองหุ้นกลุ่มนี้ Cheap Valuation เนื่องจากราคาปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน BANK Sector เทรดที่ระดับ Trailing PBV 1x (ขณะที่ Downside ตอน Hamburger crisis ลงไปประมาณ 0.7x-0.8x) ซึ่งข้อมูลจาก Bloomberg พบว่า Total Return ของ SETBANK Index ตั้งแต่ Hamburger crisis จนถึงปัจจุบันเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ระดับ 8.2% ซึ่งหากเรา Implied ว่าเป็นระดับ Cost of Equtyในอนาคต จะพบว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่า Expected ROE (Bloomberg Consensus) ซึ่งปี 62 คาดไว้ที่ 9.39% และปี 63 คาดไว้ที่ 9.58% ดังนั้น BANK Sector ควรจะเทรดมากกว่า BVPS ตาม GGM ทั้งนี้ TOP PICK เลือก KBANK (เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เดือน เม.ย. ตามรายงาน ธ.พ.11 +3.3%YoY และ +0.3%MoM), BAY (เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เดือน เม.ย.ตามรายงาน ธ.พ.11 +9.5%YoY และ +0.8%MoM) และ KTB (เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เดือน เม.ย.ตามรายงาน ธ.พ.11 +5.4%YoY และ +0.5%MoM)