โบรกฯ มองหุ้นพักฐาน ปัจจัยนอกกดดันลงทุน

HoonSmart.com>>โบรกฯ มองแนวโน้มหุ้นวันนี้ ดัชนีพักฐานกรอบ 1,650-1660 จุด หลังวานนี้ขึ้นแรง ผลกระทบปัจจัยนอก IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก, ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีสินค้านำเข้ายุโรป

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี มองแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ คาด SET Index จะพักตัวในกรอบ 1,650-1660 จุด เนื่องจาก 1) เป็นการพักตัวหลังจากที่วานนี้ปรับตัวขึ้นแรงมาแล้วกว่า 11 จุด, 2) รอดูความชัดเจนจากปัจจัยเสี่ยงภายนอก โดยเฉพาะปัญหา Trade war ซึ่งล่าสุดสหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรปมูลค่ารวมประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ และปัจจัยเสี่ยงจาก IMF ปรับลดคาดการณ์ World GDP

3) รอดูความต่อเนื่องของ Fund flow ของต่างชาติหลังจากที่วานนี้มีแรงซื้อหนาแน่นทั้งในตลาดหุ้นและตลาด TFEX และ 4) รอดูความชัดเจนของปัญหาการเมืองในประเทศ อาทิ การประกาศสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รวมถึงการประกาศใบเหลือง ส้ม แดง และ ดำ ของ กกต.

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน เน้น Domestic play

บล.คิงส์ฟอร์ด มองแนวโน้มตลาดหุ้นเช้านี้คาดจะถูกกระทบจาก IMF ปรับลดการเติบโตเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงสู่ระดับ 3.3 % แต่คาดผลกระทบจะไม่มากเนื่องจากนักลงทุนได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ประเด็นสำคัญวันนี้ติดตามการประชุม ECB คาดยังดอกเบี้ยนโยบายที่ 0 % และรายงานการประชุมเฟดครั้งที่ผ่านมา

กลยุทธ์การลงทุน วางแนวรับที่ 1,645 – 1,650 จุด หากยืนได้คาดดัชนียังอยู่ในกรอบ Sideway Up ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 1,665 – 1,670 จุด แนนำเก็งกำไรหุ้นที่มีสัญญาณบวกทางโมเมนตัมเทคนิค เช่น EA, KTC, ESSO

บล.ไอร่า คาด SET Index มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงกดดันจากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าจาก EU วงเงิน 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อตอบโต้มาตรการอุดหนุนแอร์บัสของ EU ประกอบกับมีแรงกดดันจาก IMF ประกาศปรับลดตัวเลขการขยายตัวการเศรษฐกิจโลกจาก 3.5% ลงสู่ 3.3% เราให้กรอบ SET Index แนวรับ 1645 – 1655 จุด และแนวต้านที่ 1660 – 1670 จุด

กลยุทธ์การลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะสั้นแนะนำเก็งกำไรหุ้นกลุ่มสื่อสาร จากข่าวคสช.เตรียมใช้ม.44 ยืดการจ่ายชำระค่าคลื่น 900MHz

ด้านบล.โนมูระ พัฒนสิน คาดแนวโน้มดัชนีวันนี้ “แกว่งขึ้น” แนวต้าน 1666/1671 จุด แนวรับ 1646/1642 จุด แม้ IMF จะหั่น GDP ของโลกในปี19 ลง จาก 3.5% เหลือ 3.3% แต่เป็นการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรป ลงเหลือ 2.3% และ 1.3% ตามลำดับ

ขณะที่เอเชีย IMF ปรับ GDP จีนขึ้นจาก 6.2% เป็น 6.3% และคงการขยายตัวของ EM-ASIA ที่ 6.3% สะท้อนเศรษฐกิจเอเชีย อยู่ในจุดที่มี Downside จำกัดกว่า ในสถานการณ์ที่ธนาคารกลางโลก พลิกมาใช้นโนบายการเงินผ่อนคลายจะหนุนตลาดเอเชีย Outperform

สำหรับการลงทุนวันนี้แนะนำ Theme “Selective Play”: CPN, DTAC, STEC