ความจริง ความคิด : คาดการณ์เศรษฐกิจด้วยดัชนีเศรษฐกิจ

โดย…สาธิต บวรสันติสุทธิ์,CFP

การลงทุนคือ การจ่ายเงินในวันนี้เพื่อผลตอบแทนในอนาคต ดังนั้นเมื่อผลตอบแทนเป็นเรื่องของอนาคต จึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สิ่งที่แน่นอน คือ ราคาที่เราจ่ายในวันนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของผลตอบแทน การคาดการณ์อนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ

และเนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉพาะหุ้นจะแปรผันไปตามภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี บริษัทจดทะเบียนก็น่าจะมีผลประกอบการที่ดี เงินปันผลก็น่าจะเยอะ ราคาหุ้นก็น่าจะหุ้น ผลตอบแทนของเราก็น่าจะดี การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพิจารณาตัดสินใจในการลงทุน ดัชนีที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ คือ ดัชนีคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ (Expectation Index)

ดัชนีคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจ (Expectation Index) เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางภาวะเศรษฐกิจที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ส่งออก และผู้บริโภค เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา (ดี/เพิ่มขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง หรือ แย่/ลดลง) แยกเป็น 4 ดัชนี คือ

​1 ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ( Business Expectation Index ) เป็นดัชนีรายไตรมาสที่จัดทำขึ้นจากการสอบถามความคิดเห็นของนักธุรกิจทั่วประเทศ เกี่ยวกับภาวะธุรกิจในปัจจุบันและคาดการณ์ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า โดยสารวจเป็นรายไตรมาส ในเรื่องภาวะธุรกิจทั่วไปและภาวะธุรกิจของนักธุรกิจ ผลประกอบการ ต้นทุนการประกอบธุรกิจ การจ้างงาน และการขยายธุรกิจ ใน 6 สาขา คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ก่อสร้าง การเงิน การประกันภัย และบริการ

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ว่ามีทิศทางเป็นเช่นใด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบของดัชนีวัฏจักรธุรกิจ สำหรับเตือนภัยล่วงหน้าทางเศรษฐกิจ มี 2 หน่วยงานที่ดาเนินการสร้างดัชนี้ประเภทนี้ คือ

1) สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อว่าดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) และ

2) ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business Sentiment Index : BSI)

​2 ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจการส่งออก (Export Expectation Index) เป็นดัชนีรายไตรมาส ที่จัดทำขึ้นจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ส่งออก ทุก 3 เดือน เพื่อคาดการณ์ภาวะการส่งออกใน 3 เดือนข้างหน้า เกี่ยวกับมูลค่าการส่งออก และความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ ปัญหาและข้อคิดเห็นในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการติดตามการส่งออกของประเทศล่วงหน้า

​3 ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก ( Export Business Expectation Index) เป็นดัชนีที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เตือนภัยล่วงหน้าทางด้านการส่งออก โดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ส่งออกเกี่ยวกับภาวะการส่งออกของประเทศในแต่ละเดือน ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออก คำสั่งซื้อใหม่จากต่างประเทศ สินค้าคงคลัง และการจ้างงาน ในสินค้าส่งออก 4 ประเภท คือ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์, ประมง) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

นอกจากนี้ ได้จัดทำเป็นดัชนีรายไตรมาส คือ ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจการส่งออก (Export Expectation Index) และดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage Expectation Index) เพื่อคาดการณ์ทิศทางการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกในอนาคต ติดตามภาวะการส่งออกของประเทศสาหรับเตือนภัยล่วงหน้าด้านการส่งออก

4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) เป็นดัชนีรายเดือนที่จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสานักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้จากการสอบถามความรู้สึกของผู้บริโภค กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นักธุรกิจ พนักงานเอกชน ผู้รับจ้าง ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ เกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และผู้ไม่มีงานทา ที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคตในช่วง 3 – 6 เดือนข้างหน้าในเรื่องภาวะเศรษฐกิจทั่วไป การใช้จ่าย รายได้ โอกาสหางานทำ และการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค

ทั้งนี้ ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้สึกเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจจะจับจ่ายใช้สอยอย่างเต็มกำลัง ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แต่ถ้าผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ ก็จะมีการใช้จ่ายที่ลดลงหรือเป็นไปอย่างระมัดระวัง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้ชะลอตัวลง

การอ่านค่าดัชนีคาดการณ์ธุรกิจ ดัชนีคาดการณ์ธุรกิจ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 100
เมื่อ – ค่าดัชนี สูงกว่า 50 แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ
– ค่าดัชนี ต่ำกว่า 50 แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

มีข้อพิจารณาดังนี้

​1. ถ้าค่าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 100 แสดงว่านักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ/ประชาชน คาดว่าเศรษฐกิจดี

​2. ถ้าค่าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจคาดว่านักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ/ประชาชน คาดว่าเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง

​3. ถ้าค่าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 0 แสดงว่านักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ/ประชาชน คาดว่าเศรษฐกิจจะแย่

4. ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว ถ้าค่าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงไป ต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงว่า เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจแย่ลงหรือชะลอตัว

5. ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจจะดีขึ้นหรือฟื้นตัว

คราวนี้พวกเราคงไม่จำเป็นต้องรอแบงค์ชาติประกาศ ถึงจะรู้ว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ สังเกตจากข้อมูลดัชนีเหล่านี้อาจช่วยให้เราเห็นแนวโน้มเศรษฐกิจก่อนใครก็ได้ครับ รู้ก่อน ปลอดภัยกว่า