HoonSmart.com>> บลจ.กรุงไทย เปิดขายกองทุน KT-JPFUND อิงดัชนีนิคเคอิ 225 เพิ่มทางเลือกกระจายพอร์ต มองเศรษฐกิจฟื้นตัวหนุนตลาดหุ้น เปิดขาย IPO ถึง 8 มี.ค.นี้
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย (KTAM) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ออกกองทุนเปิดเคแทม เจแปน อิควิตี้ พาสซีฟ ฟันด์ ( KT-JPFUND) เสนอขายครั้งแรกตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2562 เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน IShares Core Nikkei 225 ETF เพียงกองเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าน้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ดยกองทุนรวมหลักจะเน้นลงทุนในตราสารทุนในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี Nikkei 225 เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี Nikkei 225
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 4 ของประเทศญี่ปุ่นขยายตัว 0.3% จากอุปสงค์ในประเทศกลับมาขยายตัวทั้งหมดจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงอุปสงค์ต่างประเทศ ขณะที่การส่งออก และนำเข้าก็ฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดี ทั้งนี้ Bloomberg ได้คาดว่า ดัชนี นิคเคอิ 225 ในปี 2020 ขึ้นไป น่าจะมีโอกาส อยู่ที่ 40,000 เนื่องจาก ROE มีค่าสูงขึ้นจากศักยภาพการสร้างผลผลิตที่สูงขึ้น ผ่านการลงทุน (Capex ) และการทำวิจัยและพัฒนาที่สูงขึ้น ( R&D) การลดภาษีธุรกิจ และการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ รวมถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจในญี่ปุ่นเริ่มสนับสนุนผู้ถือหุ้นมากขึ้น การเติบโตของเงินทุนเริ่มกลับมา
นอกจากนี้บริษัทในญี่ปุ่นถือเงินสดมากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก สามารถสร้างเงินสดได้มากกว่าการใช้เงินสดของตัวเอง และเงินสดจำนวนมากจะช่วยสนับสนุนการทำ Capex / R&D รวมถึงเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น
สำหรับจุดเด่นของกองทุน เน้นลงทุนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีนิคเคอิ 225 ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนีตลาดหุ้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมากกว่า 60 ปี ลงทุนขนาดใหญ่ในตลาดญี่ปุ่นประมาณ 225 ตัว ในหลากหลายอุตสาหกรรม มีการทบทวนหุ้นที่เป็นองค์ประกอบ ของดัชนี โดยพิจารณาจากสภาพคล่องในตลาด และความสมดุลของหมวดอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การลงทุนผ่านกองทุน KT-JPFUND ทำให้ได้โอกาสของการลงทุนที่น่าสนใจ จากมูลค่าตลาดหุ้นที่ค่อนข้างถูกในประเทศญี่ปุ่น และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัท โดยเฉลี่ยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ด้านผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหลัก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ในปี 2018 อยู่ที่ -10.47 % ในปี 2017 อยู่ที่ 21.09% ในปี 2016 อยู่ที่ 2.20% และในปี 2015 อยู่ที่ 10.78% ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark (ดัชนีอ้างอิง Nikkei 225 ) ในปี 2018 อยู่ที่ -12.08% ในปี 2017 อยู่ที่ 19.10% ในปี 2016 อยู่ที่ 0.42% และในปี 2015 อยู่ที่ 9.07%