KKP ปี 66 กำไร 5,443 ลบ. ลดลง 28% ตั้งสำรองเพิ่ม ขาดทุนขายรถยึด

HoonSmart.com>> “ธนาคารเกียรตินาคินภัทร” (KKP) เปิดกำไรงวดปี 66 อยู่ที่ 5,443 ล้านบาท ลดลง 28.4% จากงวดปีก่อน ผลขาดทุนด้านเครดิต-ขาดทุนขายรถยึด ด้านรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงจากภาวะการลงทุนในตลาดทุนซบเซา ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 16.8% ส่วนงวดไตรมาส 4/66 กำไรร่วง 53% รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยวูบ 46.8% ตั้งสำรองความเสี่ยงลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่มูลค่า 2,000 ล้านบาท ยังไม่ฟื้นจากโควิด-19

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผยผลการดำเนินงานงวดปี 2566 มีกำไรสุทธิ 5,443.40 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 6.43 บาท ลดลง 28.4% จากงวดปี 2565 มีกำไรสุทธิ 7,602.10 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 8.98 บาท

ปี 2566 ธนาคารเและบริษัทย่อยมีผลประกอบการปรับลดลง โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตและผลขาดทุนจากการขายรถยึดในส่วนของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึงและปัจจัยทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเช่าซื้อ ประกอบกับการที่ธนาคารมีการขยายตัวของสินเชื่อในระดับที่สูงในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งยังมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินเชื่อรวมของธนาคาร ส่งผลให้ธนาคารได้รับผลกระทบที่ค่อนขางมาก ในขณะที่ธุรกิจทางด้านตลาดทุนได้ร้บผลกระทบเช่นกันจากภาวะตลาดทุนไม่เอื้ออำนวย

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงความสามารถในการสร้างรายได้ในระดับที่ดีโดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 28,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% เทียบกับปี 2565 โดยหลักจากการเพิ่มขึ้นของรายไดด้อกเบี้ยสุทธิที่ปรับเพิ่มขึ้น 16.8% ตามปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัวและการปรับขึ้นของอตัราดอกเบี้ย โดยสินเชื่อรวมขยายตัว 5.3% สำหรับปี 2566

นอกจากนี้ธนาคารยังสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินที่มีการปรับขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลใหธ้นาคารยังคงมีส่วนต่างอตัราดอกเบี้ยสุทธิในระดับที่ดีกว่าคาดการณ์ ในขณะที่ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงที่ 23.5% จากภาวะทางด้านตลาดทุนที่ยังคงซบเซาและส่งผลกระทบต่อการลงทุน ส่งผลใหรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงโดยหลักจากการลดลงของรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลกัทรัพย์ รวมถึงกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่ายุตุธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่ปรับลดลงตามภาวะตลาด ในขณะที่รายได้ค่านายหน้าประกันปรับลดลงเช่นกันตามการชะลอตัวของสินเชื่อปล่อยใหม่

สำหรับค่าใช้จ่ายในด้านการดำเนินงานหากไม่รวมรายการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินรอการขาย ธนาคารยังคงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ในระดับที่ดีส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้สุทธิสำหรับปี 2566 อยู่ที่ 40.4% ซึ่งอยู่ในระดับที่แสดงถึงการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2566 ธนาคารมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 6,082 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 20.8% หากเทียบกับปี 2565 โดยในจำนวนนี้ได้รวมการพิจารณาตั้งสำรองส่วนเพิ่มในไตรมาส 4/2566 เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับลูกค้าสินเชื่อขนาดใหญ่รายหนึ่ง ที่ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา โดยธนาคารอาจต้องมีการพิจารณาจัดชั้นเชิงคุณภาพสินเชื่อรายนี้ในอนาคตซึ่งมีขนาดประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้มีการพิจารณาตั้งสำรองส่วนเพิ่มจำวนประมาณ600 ล้านบาท เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และส่งผลให้ธนาคารมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นครบถ้วนแล้วสำหรับลูกค้าสินเชื่อรายนี้ก่อนการพิจารณาจัดชั้น

สำหรับอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ สิ้นปี2566 อยู่ที่ 164.6% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 154.4% ณ สิ้นปี2565 ทางด้านคุณภาพสินเชื่อรวมปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2566 ปรับลดลงอยู่ที่ 3.2% จาก 3.5% ในไตรมาสก่อนหน้าและลดลงจาก 3.3% หากเทียบกับ ณ สิ้นปี 2565

สำหรับงบการเงินไตรมาส 4/2566 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 670 ล้านบาท ลดลง 53.2% จากงวดเดียวกันของปี 2565 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 71 ล้านบาท โดยหลักจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลง 46.8% จากไตรมาส 4/2565 ซึ่งลดลงทั้งในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานโดยหลักปรับเพิ่มขึ้นจากรายการขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอการขาย

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารได้มุ่งเน้นในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา ส่งผลให้ขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4/2566 ปรับตัวลดลง 30.9% หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2565 หากพิจารณากำไรเบ็ดเสร็จรวมเท่ากับ 857 ล้านบาท เป็นกำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 46 ล้านบาท