HoonSmart.com>>หุ้น OR พุ่ง 8.77% 5 โบรกฯ เชียร์ “ซื้อ” ฟันธงปี 68 กำไรโต เคาะเป้า 12.50 – 17 บาท หลังผลงานไตรมาส 4/67 พลิกเป็นกำไร จากขาดทุนในไตรมาส 3 ซึ่งทำได้ดีกว่าคาด โดยมาจากการลดต้นทุน-เล็งยอดขายน้ำมันเพิ่มขึ้น จากเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ท่ามกลางความไม่ชัดเจนกฎหมายใหม่ที่กระทรวงพลังงานจะออกมาเพื่อคุมราคาน้ำมันในประเทศ
หุ้น OR ปิดเทรดเช้าพุ่ง 8.77% มาที่ 12.40 บาท เพิ่มขึ้น 1 บาท มูลค่าซื้อขาย 408.01 ล้านบาท โดยเปิดตลาดที่ 11.90 บาท ขึ้นสูงสุด 12.70 บาท และต่ำสุด 11.80 บาท
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) แนะ”ซื้อ”หุ้น OR ราคาเป้าหมายปี 2568 ที่ 15 บาท แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของกฎหมายใหม่ที่กระทรวงพลังงานจะออกมาเพื่อคุมราคาน้ำมันในประเทศ แต่คาดว่ากําไรสุทธิในปี 2568 จะโตถึง 47% YoY เป็น 1.13 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการดําเนินโครงการลดต้นทุนอย่างเข้มข้น และคาดว่าปริมาณยอดขายน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.87 หมื่นล้านลิตร(+9% YoY)จากการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยผู้บริหารตั้งเป้าจะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในปีนี้อีก 2-3% จนกลับมาอยู่ระดับปกติ
กําไรสุทธิของ OR ในไตรมาส 4 ปี 2567 อยู่ที่ 3 พันล้านบาท(+1,455% YoY, ฟื้นตัวขึ้น QoQ จากขาดทุนสุทธิ 1.6 พันล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2567) ดีกว่า Bloomberg consensus 9% แต่เป็นไปตามประมาณการของ KGI บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งหลังปี 2567 ที่ 0.13 บาท/หุ้น ขึ้น XD 24 ก.พ. ซึ่งจะทําให้เงินปันผลเต็มปีอยู่ที่ 0.40 บาท/หุ้น(รวมปันผลงวดครึ่งแรกปี 2567 ที่ 0.27 บาท/หุ้น) คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 3.5% จากราคาปิดล่าสุด
บล.กรุงศรี แนะ”ซื้อ”หุ้น OR ราคาเป้าหมายปี 2568 ที่ 17 บาท/หุ้น น่าสนใจลงทุนระยะยาวบนการฟื้นตัวของ Mobility ทั้งการฟื้นของส่วนแบ่งตลาดฯ และกำไรขั้นต้นต่อลิตร รวมถึง Lifestyle ที่ขยายตัวต่อเนื่อง และมีความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน โดยแนวโน้มดังกล่าวสะท้อนในไตรมาส 4 ปี 2567 ที่กำไรสุทธิออกมาฟื้นทั้ง y-y, q-q ทุกธุรกิจ โดย Mobility ยอดขายน้ำมันต่อสาขาฟื้น q-q เร่งกว่าในไตรมาส 4 ปี 2566 สะท้อนว่าเริ่มชิงส่วนแบ่งตลาดได้ และการเติบโตของยอดขาย Lifestyle เร่งกว่าการเติบโตของสาขา และอัตรากำไรฟื้นในสภาวะที่คู่แข่งเร่งขยาย สะท้อนว่ามีความสามารถในการแข่งขัน คาดกำไรปกติ 2568-2569 +23% CAGR เทียบ PER2568 ราว 12 เท่า
บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) แนะนำ”ซื้อ”หุ้น OR เนื่องจากราคาปรับตัวลงมาสะท้อนปัจจัยลบพอสมควร และกำไรสุทธิไตรมาส 4 ปี 2567 ออกมา 2,999 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน -1,609 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2567 สาเหตุหลักมาจากกำไรขั้นต้นต่อลิตรปรับตัวดีขึ้น และของ stock loss ลดลง อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายได้มีการปรับราคาพื้นฐานเหลือ 14.50 บาท ระยะสั้นมองว่ายังไม่น่าสนใจมากนัก จากปัจจัยการเติบโตที่ยังต้องใช้เวลาพอสมควร
กำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 ออกมา 2,999 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน -1,609 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2567 สาเหตุหลักมาจากกําไรขั้นต้นต่อลิตรปรับตัวดีขึ้น และของ stockloss ลดลงเมื่อเทียบ q-q โดยหากพิจารณาในมุมของ EBITDA ในส่วนธุรกิจ Mobility เพิ่มขึ้นจาก 305 ล้านบาท เป็น 2,975 ล้านบาท ปัจจัยหลักมากจากกําไรขั้นต้นต่อลิตรปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.32 บาท/ลิตรจากเดิม 0.51 บาท/ลิตร ด้านธุรกิจ Lifestyle EBITDA ปรับตัวขึ้น 36%q-q โดยได้แรงหนุนจากยอดขาย Café Amazon เพิ่มเป็น 103 ล้านแก้ว +5%q-q รวมถึงจากกําไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ลดลง ด้ํานธุรกิจ Global มี EBITDA ปรับตัวเพิ่ม +16%q-q เนื่องจากกําไรต่อลิตรปรับตัวดีขึ้น
บล.บัวหลวง ระบุ OR รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 ที่ 2,999 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 เท่าYoY และพลิกกลับ QoQ ซึ่งมากกว่าคาด 9% (และมากกว่าตลาดคาด) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ต่ำกว่าคาด OR ประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับครึ่งหลังปี 2567 ที่ 0.13 บาทต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็นอัตราตอบแทนจากเงินปันผลขั้นต้นที่ 1.1% (จะขึ้น XD ใน 24 ก.พ. และจ่ายปันผล 29 เม.ย.)
แนวโน้มไตรมาส 1/2568 คาดว่ากำไรปรับตัวลดลง YoY และ QoQ เนื่องจากกำไรจากทุกธุรกิจ (ธุรกิจ Mobility, Lifestyle, และธุรกิจต่างประเทศ) ที่ลดลง อย่างไรก็ดี ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2568 ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 9,386 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 23% YoY) พร้อมแนะ”ถือ”หุ้น OR
บล.ดาโอ (ประเทศไทย) แนะ”ถือ”หุ้น OR ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 12.50 บาท (เดิม 16 บาท) OR รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 ที่ 3 พันล้านบาท เทียบกับกำไร 193 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2566 และขาดทุน 1.6 พันล้านบาทในไตรมาส 3/2567 สูงกว่าคาด หลัก ๆ จากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ที่ต่ำกว่าคาด และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม(equity income) ที่สูงกว่าคาด ทั้งนี้กำไรสูงขึ้น YoY, QoQ หลัก ๆ ตามปริมาณขายน้ำมันในประเทศ และกำไรขั้นต้นต่อลิตร (GP/litre) ที่สูงขึ้น รวมถึงรายได้ของธุรกิจ Lifestyle ที่สูงขึ้นตามจำนวนสาขาที่สูงขึ้น และจำนวนยอดขายที่ดีขึ้น
บริษัทมีการบันทึกการตั้งสำรองด้อยค่าของสินทรัพย์ เพิ่มเติมอีก 343 ล้านบาทในไตรมาสนี้ สำหรับบริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (KNEX) หลังจากรับรู้ผลขาดทุนจาก Texas Chicken และ Kouen Sushi ไปแล้วในไตรมาส 3/2567 แม้กำไรไตรมาส 4/2567 จะออกมาสูงกว่าที่คาด แต่ได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2568 ลง 4% เป็น 8.7 พันล้านบาท เทียบกับ 7.7 พันล้านบาทในปี 2567 เพื่อสะท้อนสมมติฐาน GP/litre ที่ลดลง และ EBITDA margin ของธุรกิจ Lifestyle ที่อ่อนตัวจากแนวโน้มราคาเม็ดกาแฟที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ดี เชื่อว่ากำไรจะเติบโตอีก 8% YoY ในปี 2569 เป็น 9.4 พันล้านบาท โดยมีแรงหนุนจากปริมาณขายน้ำมันที่เติบโตทั้งใน และต่างประเทศ และ equity income ที่เพิ่มขึ้นราคาหุ้นปรับตัวลง 19% และ underperform SET -18% ในช่วง 6 เดือน สะท้อนแนวโน้มค่าการตลาด(marketing margin) ที่อ่อนตัวและความกังวลต่อความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ (regulatory risk) ที่เป็นไปได้จากการที่กระทรวงพลังงานเตรียมร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่
ทั้งนี้ แม้ราคาปัจจุบันจะสะท้อน 2568 PER ที่ไม่แพงที่ 14.4x (ประมาณ -3.1SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER 5 ปีย้อนหลังของกลุ่มค้าปลีก) อย่างไรก็ดี เชื่อว่าความไม่ชัดเจนของ regulatory risk อาจจะเป็น overhang ต่อราคาหุ้นในระยะสั้นถึงกลางได