MFC ส่องลงทุน Q4 ให้น้ำหนักหุ้นจีน-ไทย มองบวก REIT ราคายังมีอัพไซด์

HoonSmart.com>>บลจ.เอ็มเอฟซี ส่องทิศทางลงทุนไตรมาส 4/67 ตลาดหุ้นสหรัฐฯได้แรงหนุน Fed ลดดอกเบี้ย มองเศรษฐกิจขยายตัวได้ในปีนี้ แนวโน้มชะลอตัวแบบ Soft Landing ติดตามเลือกตั้งเดือนพ.ย. ส่วน “ตลาดหุ้นยุโรป” แนวโน้มยังขาขึ้น ด้าน “หุ้นจีน” Sideway Up บรรยากาศลงทุนดีขึ้นฟันด์โฟลว์ไหลเข้าตลาด ปรับมุมมองระยะสั้นเป็น Overweight พร้อมปรับมุมมองระยะสั้นและยาว “หุ้นอินเดีย” เป็น Neutral ส่วนหุ้นไทย มองแกว่งตัวขึ้น ด้าน Global REITs ราคายังมี upside ชูกองทุนเด่นประจําไตรมาส “M-USEQH , M-USEQUH , MGPROP , MPCREDIT-UI , MGF” พร้อมกองทุนแนะนำเข้าพอร์ต


MFC มองกลยุทธ์ลงทุน Q4/67

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี (MFC) เผยมุมมอง Quarterly Investment Strategy Q4/2024 มองตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้แรงหนุนจาก Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ซึ่งถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นในการเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง โดยสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 ที่ผ่านมา หลังจากที่เฟดลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ดัชนี S&P500 มักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย +12.61%

ปัจจุบันมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ในปีนี้ สอดคล้องกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ในเดือน ก.ย. ที่กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 254,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิฐกิจสหรัฐฯ ยังมีโอกาสชะลอตัวในระยะข้างหน้า แต่จะเป็นการชะลอตัวแบบ Soft Landing เราให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ระยะสั้น 0-3 เดือน เป็น Neutral และให้น้ำหนัก 6-12 เดือน เป็น Overweight เราแนะนำให้ทยอยลงทุน โดยเน้นที่หุ้นเติบโตคุณภาพดีขนาดใหญ่

นอกจากนี้ยังแนะนำหุ้นกลุ่ม Healthcare ที่เป็น Defensive Growth ซึ่งมีความทนทานในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในไตรมาส 4 คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดือน พ.ย.นี้ กองทุนแนะน่า MGF, M-USEQH, M-USEQUH, MHEALTHG

ส่วนตลาดหุ้นยุโรป ในไตรมาส 4 ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น คาดเคลื่อนไหวในแนว Sideways up เราให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปที่ Neutral จากธนาคารกลางยุโรปมีนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง คาดการณ์ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยด้านราคาที่อยู่ในระดับที่ต่ำเฉลี่ย แต่อาจมีความผันผวนในระยะสั้นได้ เนื่องจากตลาดปรับตัวขึ้นมาสูงและอาจผันผวนตามตลาดหุ้นโลก กองทุนแนะนำ MEURO

ตลาดหุ้นจีน สำหรับไตรมาลที่ 4 คาดว่าดัชนีหุ้นจีนทั้ง CSI 300 และ Hang Seng เคลื่อนไหวในกรอบขาขึ้น Sideway Up หลังในช่วงไตรมาสผ่านมาดัชนี CSI 300 และ Hang Seng ปรับตัวขึ้นกว่า 16.1% และ 19.3% มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ถูกประกาศออกมาในช่วงปลายเดือน ก.ย. ส่งเสริมทั้งสภาพคล่องภาคอสังหาริมทรัพย์ และตลาดทุน เราปรับมุมมองการลงทุนระยะสั้นเป็น Overweight จากบรรยากาศการลงทุนและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ดีขึ้นเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นจีนอีกครั้ง

สำหรับมุมมองการลงทุนระยะยาวให้น้ำหนัก Neutral มองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำไรจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป กองทุนหุ้นจีนแนะนำ MCHEVO

ขณะที่ตลาดหุ้นอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2567 ดัชนี Nifty 50 มีโอกาสพักฐาน จากระดับ Valuation ที่เริ่มตึงตัว โดยนับตั้งแต่ต้นปี ดัชนี Nifty 50 ปรับตัวขึ้นกว่า 16% และทำระดับสูงสุดที่ 26,005 จุด มีปัจจัยหนุนจากการที่นักลงทุนในประเทศยังคงทยอยลงทุนหุ้นอินเดียผ่าน Systematic Investment Plans (SIP) อย่างต่อเนื่อง เราปรับมุมมองการลงทุนระยะสั้นและยาวเป็น Neutral

ส่วนตลาดหุ้นไทย มุนมองตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 4 ของว่าจะเคลื่อนไหว Sideways to Sideways Up ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่นำโดยจีนจะผลักดัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย ซึ่งไทยน่าจะได้อานิสงส์ด้วย ประกอบกับตลาดหุ้นได้แรงหนุนจาก Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่ทยอยเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง ซึ่งในเดือนก.ค.-ก.ย. มียอดการซื้อสุทธิอยู่ที่ +21,461.57 ล้านบาท

ส่วนปัจจัยบวกอื่น ๆ จะได้แก่ ตัวเลขภาวะการค้าระหว่างประเทศ (การส่งออก) ประจำเดือนส.ค. ของไทยที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดี อีกทั้งกระแสเม็ดเงินใหม่จากกองทุนวายุภักษ์ที่จะเข้ามาในตลาดหุ้นไทยตั้งแต่เดือน ต.ค. 67 เป็นต้นไป

“ปัจจัยราคาของดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ระดับที่น่าสนใจ โดยปัจจุบันค่า Forward P/E ของดัชนี SET Index ณ วันที่ 30 ก.ย. 67 อยู่ที่ระดับ 14.51 เท่า ดังนั้นเราจึงมีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นไทยทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้น้ำหนักเป็น Overweight”

กองทุนแนะนำ MBT-G, M-FOCUS, M-MIDSMALL, M-S50 และ HI-DIV

ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ ปัจจัยหนุนระยะยาววัฎจักรดอกเบี้ยสหรัฐฯ ขาลง คาดเฟดยังปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ส่งผลให้ระยะยาว Yield ของตราสารหนี้สหรัฐฯ ปรับตัวลงต่อได้ แนะนําตราสารหนี้สหรัฐฯคุณภาพสูงซึ่งยังให้ Carry Yield สูงที 4.5%-4.7% ทังนี้ระยะสั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวแบบ Soft Landing อาจทําให้ Bond Yield ปรับตัวขึ้น หลังจากที่รับรู้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดไปพอสมควร เราปรับน้ำหนักการลงทุนระยะสั้นเป็น Neutral และ คงน้ำหนักการลงทุนระยะยาว Overweight

ตลาดตราสารหนี้จีน ปัจจัยหนุน PBOC คงนโยบายการเงินผ่อนคลายและปรับลดดอกเบี้ย และ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง คาดผลตอบแทนจากกลุ่ม USD-offshore bond ที่ Carry Yield สูง 4.7-9.0% แต่อาจมีความผันผวนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่ Yield กลุ่ม CNY-Onshore bond ปรับลงมามากอยู่ระดับต่ำ 1.8% ทําให้ผลตอบแทนจํากัด ให้น้ำหนักการลงทุนระยะสั้นและยาว Neutral

ขณะที่ทองคํา ในไตรมาสที่ 3 ราคาทองคําปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.2% สู่ระดับ All-Time High ที่บริเวณ 2,685 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อทรอยเอานซ์ หลังความตึงเครียดในตะวันออกกลางทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และราคาทองคํายังได้แรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่า หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% โดยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทองคําให้ผลตอบแทนเป็นบวกหลังจากที่เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ย สังเกตจากปี ค.ศ. 2001-2003, ค.ศ. 2007-2008 และ ปี ค.ศ. 2019-2020 สอดคล้องกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง

นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมักบ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เราให้น้ำหนักการลงทุนระยะยาว 6-12 เดือน เป็น Overweight และให้แนวต้านระยะสั้นที่บริเวณ 2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อทรอยเอานซ์

ส่วนนํ้ามันดิบ เรามองว่าราคาน้ำมันดิบ ณ ปัจจุบันมีแนวโน้มจะปรับตัวขึนได้ โดยได้รับแรงหนุนจากผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านที่ยังคงดําเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัสยังคงมติเดิมในการปรับลดกําลังการผลิตน้ำมันดิบรวม 5.86 ล้านบาร์เรล/วัน โดยมาจากการปรับลดกําลังการผลิตของสมาชิกโอเปกพลัสจํานวน 3.66 ล้านบาร์เรล/วัน และการปรับลดกําลังการผลิตโดยสมัครใจของสมาชิกโอเปกพลัส 8 ชาติ จํานวน 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน ดังนันเราจึงให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดนํามันทังระยะสั้น 0-3 เดือน และระยะยาว 6-12 เดือน เป็น Neutral

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก เป็นสินทรัพย์ทีได้ประโยชน์วัฏจักรดอกเบี้ยสหรัฐฯขาลง ส่งผลดีต่อต้นทุนการเงินที่ลดลงของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดยังขยายตัวได้ในช่วงที่เหลือของปี ทําให้นักวิเคราะห์มีโอกาสปรับประมาณการณ์กําไรกลุ่ม REITs และ Net asset value เพิ่มขึ้น ซึ่ง US REITs คาด Earning growth (Y+1) เติบโตเฉลี่ย 6% ในปี 2568

“Dividend Yield ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ สูงถึง 3.25% และปัจจัยราคา ของ Global REITs ยังไม่แพงมากนัก จึงคาดว่า ราคายังมี upside ให้น้ำหนักการลงทุนระยะสั้นและยาว Overweight”

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทยและสิงคโปร์ ได้ปัจจัยหนุนจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง และ อัตราการจ่ายปันผลที่สูงน่าสนใจ Yield Spread ที่กว้าง รวมทั้ง ปัจจัยราคาที่ Price to Book Ratios ที่อยู่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี (-1 S.D.) ผลประกอบการณ์กลับมาฟื้นตัว สําหรับ Singapore REITS ดัชนี FTSE ST All-Share Real Estate Investment Trusts Index ให้ Yield เฉลี่ย 5.5% และ ดัชนี SETPREIT ให้ Yield เฉลี่ยสูงถึง 7.7%

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และคาดหวังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดดอกเบี้ย ในขณะที่กองทุนอสังหาริมทรัพย์กลับมาจ่ายอัตราปันผลได้ ให้น้ำหนักการลงทุนระยะสั้นและยาว Overweight