SCBAM คาดตลาดหุ้นแกว่งตัวผันผวน รอดูเงินเฟ้อสหรัฐฯ

SCBAM MARKET INSIGHT
ประจำวันที่ 11-15 ก.ย.66
Highlight ประจำสัปดาห์

๐ ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวลง หลังดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดและราคาน้ำมันดีบที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สร้างความกังวลว่าแนวโน้มเงินเฟ้ออาจเร่งตัวสูงขึ้นในระยะข้างหน้าแสะจะกดดันให้ Fed อาจต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวกว่าที่ตลาดคาด เป็น Sentiment เชิงลบต่อทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ โดย US Bond Yield อายุ 2 ปี ขึ้นมาบริเวณ 5% อีกครั้ง

นอกจากนี้ข่าวทางการจีนประกาศห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางใช้โทรศัพท์ Phone ส่งผลกดดันราคาหุ้น Appleรวมไปถึงกลุ่ม Semiconductor ที่เกี่ยวข้องให้ปรับตัวลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

๐ แนวโน้มตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่า สอดคล้องกับมุมมองของเราที่ประเมินว่า ตลาดหุ้นมีโอกาสแกว่งตัวและพักฐานในระยะสั้น คาดความผันผวนยังคงมีอยู่ในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามเรามองเป็นโอกาสในการทยอยเลือกลงทุน คาดหวังการฟื้นตัวขึ้นในกรอบระยะ 3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้จะชะลอตัวลงแต่ไม่ถึงขึ้นภาวะถดถอยในปีนี้ ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อยังลดลงไม่ถึงระดับเป้าหมายของ Fed ทำให้อัตราดอกเบี้ยมีโอกาสทรงตัวระดับสูงยาวนานกว่าคาด (Higher : for Ionger) ทั้งนี้ ติดตามเงินเฟอสหรัฐฯ (CPI/ Core CPI) ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ หากออกมาต่ำกว่าคาด น่าจะช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นโลก ให้พลิกกลับมาเป็นบวกมากขึ้น

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
สหรัฐอเมริกา : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างเข็งแกร่ง ทั้ง PMI ภาคบริการ สูงสุดในรอบ 6 เดือน ขณะที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดีการว่างครั้งแรกสัปดาห์ล่าสุด ออกมาต่ำกว่าคาดและต่ำสุดในรอบ 7 เดือน สะท้อนตลาดแรงงานยังคงตึงตัว แต่กลับเป็นข่าวลบต่อตลาดหุ้นเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า Fed อาจดำเนินนโยบายการงินตึงตัวกว่าคาด ดลาดหุ้นอาจผันผวนต่อระยะสั้น

ยุโรป : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะทยอยสะสม
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตาม Sentiment เชิงลบจากฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีเศรษฐกิจทางฝั่งยูโรโซนที่ทยอยออกมาบ่งชี้แนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ระยะสั้นตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสฟื้นตัวจากภาพทางเทคนิคและหากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนเพิ่มเติมจะช่วยหนุนตลาดหุ้นยุโรปฟื้นตัวได้เช่นกัน

ญี่ปุ่น : มุมมองค่อนข้างเป็นลบ แนะนำทยอยลดน้ำหนัก
เราปรับลดคำแนะนำตลาดหุ้นญี่ปุ่นลงเป็นทยอยลดน้ำหนัก หลังดัชนีปรับตัวขึ้นมาเข้าใกล้แนวต้านทางเทคนิค เพิ่มความเสี่ยงที่จะมีแรงเทขายทำกำไรออกมาระยะสั้น นอกจากนี้ ทิศทางเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่องทำให้มีความกังวลว่า B0J อาจเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาเสกียรภาพค่าเงิน ส่งผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นอาจมีความผันผวนสูงขั้น

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่

ไทย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
SET Index ปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังตอบสนองเชิงบวกต่อปัจจัยการเมืองไปมากพอสมควร จนเข้าใกล้โซขนแนวต้านระยะสั้น เราคาดว่าทิศทางตลาดจะแกว่งตัวออกข้างไปก่อน ติดตามการแถลงนใยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 ก.ย. เพื่อประเมินรายละเอียดของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง

จีน : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ด้ชนีเศรษฐก็จรี่มออกมาดีกว่าคาดางแต่แนวโน้มยังซะลอตัว ขณะที่การประกาศห้ามเจ้าหน้าที่รัฐใช้ไทรศัพท์ IPhone เพิ่มความกังวลต่อประเด็นสงครามเทคในโลยีรอบใหม่ ระยะสั้นคาดตลาดหุ้นจีนยังคงฝันผวนสูงต่อไป ปัจจัยที่ตลาดให้น้ำหนักคือมาตรการกระตุ้นเพิ่มต็มและสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษgกิจ

อินเดีย : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ดัชนีเศรษฐกิจโดยรวมและแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ยังเข็งแกร่ง เป็นปัจจัยสนับสนุนมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอินเดียระยะกลาง เต่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง สร้างความกังวลต่อแนวโน้มเงินอินเดียที่ค่อนข้างอ่อนไหวต่อราคาพลังงานและการที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นแรงในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้ตลาดหุ้นแกว่งตัวออกข้างไปก่อนในช่วงสั้น

เกาหลีใต้ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นเกาหลีใต้ระยะกล่าง หลังดัชนีเศรษฐกิจเรี่มออกมาดีกว่าคาดและรอบวัฏจักรของกลุ่ม Semi ที่คาดว่าน่าจะพบจุดต่ำสุดในตรมาสนี้ ขณะที่ภาพระยะสั้นดัชนี KOSPI มีโอกาสฟื้นตัวได้เช่นกัน หลังดัชนีปรับตัวลงมาอยู่บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน และหาก Dolliar Index อ่อนค่าลง จะช่วยหนุนกระแสเงินทุนในตลาดหุ้น EM

เวียดนาม : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ตลาดหุ้นเวียดนามแม้จะปรับตัวขึ้นโดดเด่นตั้งแต่ต้นปีแต่เรายังมองว่ามีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะยังปรับตัวขึ้นต่อในระยะข้างหน้า จากนโยบายสนันสนุนทั้งการเงินและการคลังจากภาครัฐ, ระดับมูลค่าที่ยังคงถูกเทียนค่าเฉลี่ยในอดีตและกระเสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าหากค่างินดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มกลันมาอ่อนค่าอีกครั้ง แนะนำรอทยอยสะสมเมื่อราคาย่อลงมา

ตราสารหนี้

ในประเทศ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและราคาอาหารที่มีความเสี่งปรับเทีมสูงขึ้นจากเอลมีไญ อาจเป็นแรงกดดับไห้ กนง. ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ราประเมินได้ โดยกรณีฐานเรามองว่า กนง. มีโอกาสที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งสู่ Terminal Rate ที่ระดับ 2.50% ดังนั้นแนะนำคงน้ำหนักตราสารหนี้ไทย โดยสามารถถือลงทุนเพื่อช่วยลดความฝันผวนของพอร์ดโดยรวม

ต่างประเทศ : มุมมองค่อนข้างเป็นบวก แนะนําทยอยสะสม
US Bond Yield ปรับตัวขึ้นทั้งอายุ 2 ปีและอายุ 10 ปีมาอยู่ที่ระดับ 4.99% และ 4.20% ตามลำดับในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังดัชนีศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด สร้างความกังวลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ว่าอาจตึงตัวมากกว่า ทั้งนี้ ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ หากออกมาต่ำากว่าคาด อาจช่วยหนุนราคาตราสารหนี้สหรัฐฯ ให้ฟื้นตัว

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาทองคำปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังดัชนี Dollar Index แข็งค่าขึ้นทะลุ 105 จุด รวมถึงระดับ US Bond Yield อายุ 2 ปีกลับมาปรับตัวขึ้นแกวระดับ 5% อีกครั้ง ทั้งนี้เรามองว่าราคาทองคำน่าจะฝันผวนต่อระยะสั้น แต่ระยะยาว ยังคงมุมมองเชิงบวก แนะนำทยอยสะสมเมื่อราคาย่อตัวลงมา เผื่อเป็นสินทรัพย์ช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ต

น้ำมัน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
ราคาน้ำมันดิบ พTI ยังปรับตัวสูขั้น่ต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังรัสซียและซาอุฯ ตกลงขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิตแบบสมัครใจจนถึงสิ้นขึ้ ส่งผลให้อุปทานดึงตัวมากขี้น ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดยังเป็นแรงหนุนความต้องการน้ำมันเพิ่มเติม ดังนั้น เราประเมินว่าแนวไน้มราคาน้ำมันดีมจะทรงตัวระดับสูงต่อไป

อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน : มุมมองเป็นกลาง แนะนําคงนํ้าหนัก
REITs อาจฟื้นตัวบ้างในระยะสั้น หลังจากปรับตัวลงมาต่อเนื่อง แต่ Upside การฟื้นตัวยังค่อนข้างจำกัดเมื่อ Bond Yield ยังคงผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอยู่ เรายังแนะนำให้ติดตามทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ เป็นหลัก เมื่อใดที่วัฏจักรขาขึ้นสิ้บสุด กลุ่ม REIT น่าจะฟื้นตัวได้ชัดเจนหลังจากนั้น