TATG เปิดเทรดวันแรก 2.32 บาท สูงกว่าราคาขาย IPO 85.6%

HoonSmart.com>>หุ้น TATG เปิดเทรดวันแรกที่ 2.32 บาท สูงกว่าราคาขาย IPO 85.6% ราคา IPO คิดเป็น historical P/E ที่ประมาณ 5.2 เท่า คิดเทียบกับ P/E บริษัทที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ SAT 8.5x และ SAT 6.7x

หุ้น TATG เปิดเทรดวันแรกที่ 2.32 บาท เพิ่มขึ้น 1.07 บาท หรือ +85.6% จากราคาขาย IPO 1.25 บาท/หุ้น

บล.โกลเบล็ก ในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายฯบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย (TATG) ประเมินราคาเหมาะสมหุ้น TATG ไว้ที่ 1.98 บาท จำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 100 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้น โดยราคา IPO คิดเป็น historical P/E ที่ประมาณ 5.2 เท่า คิดเทียบกับ P/E บริษัทที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ SAT 8.5x และ SAT 6.7x วัตถุประสงค์การระดมทุน 1) เพื่อจ่ายคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงิน และ/หรือ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 2) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ 3) เพื่อใช้สำหรับลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมในกลุ่มบริษัทฯ

TATG ประกอบด้วย บริษัทย่อย 3 บริษัท คือ 1) บริษัท ไทย ออโต ทูลส์(ปทุมธานี) (TATP) ออกแบบและผลิตแม่พิมพ์โลหะอุปกรณ์จับยึดเพื่อการตรวจสอบ และอุปกรณ์จับยึดเพื่อการประกอบ (Tooling) 2) บริษัท ไทย ออโต ทูลส์ (ชลบุรี) (TATC) ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แบบการปั๊มขึ้นรูปโลหะ (Automotive Press Parts) พร้อมบริการชุบเคลือบสีชิ้นส่วนด้วยระบบไฟฟ้า EDP (Electro Deposition Paint) โดยมุ่งเน้นผลิตชิ้นส่วนที่ต้องการความพิถีพิถันสูง เช่นฝาครอบหม้อลมเบรครถยนต์ ถาดรองน้ ามันเครื่อง ชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยอื่นๆ และ 3) บริษัท ไทย ออโต ทูลส์ (อีสเทิร์น) (TATE) ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แบบการปั๊มขึ้นรูปโลหะ (Automotive Press Parts) มุ่งรองรับลูกค้าที่ต้องการผลิตปริมาณมาก (Mass Production)

กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวมในช่วงปี 2564 ถึง 2566 เท่ากับ 2,548 ล้านบาท 2,923 ล้านบาท และ 3,003 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (3 Yrs-CAGR) ที่ร้อยละ 9 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า งวด 6 เดือนปี 2567 กลุ่มบริษัทฯมีรายได้รวมจำนวน 1,340 ล้านบาท -9%YoY สาเหตุหลักมาจากการสั่งซื้อ ชิ้นส่วนรถยนต์ลดลง ตามภาวการณ์ผลิตรถยนต์ในใประเทศที่กำลังซื้อหดตัวลง และการเข้มงวดขึ้นของสถาบันการเงิน ทำให้จำนวนการผลิตรถยนต์ในประเทศลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 20 ขณะที่ %GPM เท่ากับ 15% 10.7% 8.8% และ 11.1% ตามลำดับ งวด 6 เดือน ปี 2567 %GPM ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายเศษวัตถุดิบเกิดจากการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้ในราคาที่สูงกว่าราคา Scrap Return และ ได้รับคำสั่งซื้อสินค้า Tooling เพิ่มขึ้นจากลูกค้าผู้ผลิตรถยนต์ที่มีการออก Model รถยนต์รุ่นใหม่ ส่งผลให้ในช่วงปี 2564-2566 และงวด 6 เดือนปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 165 ล้านบาท 108 ล้านบาท 48 ล้านบาท และ 46 ล้านบาท ตามลำดับ