KTAM Focus : ความจริงในข่าวจีน

โดย..ณัฏฐะ มหัทธนา, CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์ บลจ.กรุงไทย

สองยักษ์ล้ม ข่าวพาดหัวปั่นกระแสความหวาดกลัวเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ของ Country Garden และ Evergrande ป่วนตลาดจีนอย่างหนักในสัปดาห์ล่าสุด นักลงทุนกังวลว่า วิกฤตความเชื่อมั่น จะลุกลามไปพังผู้พัฒนาอสังหาฯรายอื่นๆด้วย โดยหากราคาหุ้นและตราสารหนี้ร่วงลงยกกลุ่มนานๆจะปิดช่องทางระดมทุน แล้วถ้าสาธารณชนกังวลจนไม่กล้าซื้อบ้าน กระแสรายได้ก็หดหาย …ตายสนิท

ข้อเท็จจริงบางประการ จากข่าวอัพเดทธรรมดาไม่ใส่ไข่

Evergrande ยื่นขอความคุ้มครองล้มละลายภายใต้ Chapter 15 ในสหรัฐ เป็นเพียง “ขั้นตอนปกติ” ช่วงท้ายกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากตราสารหนี้สกุลดอลลาร์ถูกกำกับดูแลตามกฎหมายนิวยอร์ก

Country Garden สรุปแผนยืดอายุหุ้นกู้ onshore เรียบร้อยแล้ว นัดประชุมกับเจ้าหนี้ 23-25 ส.ค.

Zhongrong Trust แจ้งสื่อทางการของแบงก์ชาติจีนว่า กลุ่มบริษัทฯยังคงดำเนินงานตามปกติ

เมื่อเผชิญวิกฤตให้คิดแก้ปัญหา “วิกฤตภาคอสังหาฯจีน” ผ่านจุดเลวร้ายสุดไปตั้งแต่ 2 ปีก่อน โดยเวลานั้นรัฐบาลจีนมุ่ง “ลดความเสี่ยง” ดำเนินนโยบายเข้มงวดบีบให้ลดหนี้สินในระบบ แต่ปัจจุบันมันตรงกันข้าม! เศรษฐกิจจีนปีนี้เพิ่งฟื้นตัวจากล็อกดาวน์ได้ไม่นานอีกทั้งเผชิญสารพัดแรงเสียดทานจึงอ่อนแรงมากจนเสี่ยงต่อภาวะเงินฝืด ดังนั้น ความพยายาม “กระตุ้นการเติบโต” จึงต้องสำคัญเป็นอันดับแรก

การตอบสนองด้านนโยบาย (policy response) คือสิ่งที่นักลงทุนควรสนใจ (ไม่ใช่เอาแต่กลัวเกินเหตุแล้วตั้งคำถาม “ไร้ประโยชน์” ว่าถ้าเศรษฐกิจจีนล่มสลายแล้วจะเป็นอย่างไร?) มาตรการต่างๆจากรัฐบาลและธนาคารกลางจีนควรมุ่งปิดช่องทางลุกลามของปัญหา (อย่างน้อย 2 ประการในย่อหน้าแรก) ได้แก่

  1. 1. สนับสนุนการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นและตราสารหนี้จีน ตลอดจนดูแลค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพ
  2. กระตุ้นความต้องการซื้อบ้าน โดยมุ่งลดภาระและฟื้นความเชื่อมั่นของผู้ซื้อ

จีนส่งสัญญาณชัดและคลอดหลายมาตรการแล้ว “ทิศทางถูกต้อง”

+ Politburo ส่งซิกเปิดทางเก็งกำไรอสังหาฯ ชี้ชัดต้องการ “ปั้น” ตลาดหุ้นขึ้น

+ PBOC “เซอร์ไพรส์” ลดดอกเบี้ยนโยบายลงหลายตัว สั่งแบงก์รัฐพยุงค่าเงินหยวน

+ หลายเมืองผ่อนคลายข้อจำกัดการซื้อบ้าน ลดเงินดาวน์บ้านหลังที่สอง ลดดอกเบี้ยขั้นต่ำ

+ CSRC (ก.ล.ต. จีน) เผยมาตรการปั๊มตลาด อาทิ ลดต้นทุนเทรด สนับสนุนการซื้อหุ้นคืน

+ ตลาดหลักทรัพย์จีน ขอความร่วมมือหลายกองทุนหุ้นให้งดเว้นการ “ขายสุทธิ”

นโยบายกระตุ้นการคลังต้องใช้เวลาหลายเดือน กว่าผลลัพธ์จะปรากฏบนข้อมูลเศรษฐกิจ ราคาหลักทรัพย์ (หุ้น และ ตราสารหนี้) ควรสะท้อนความคาดหวังอนาคต โดยไม่ต้องรอให้เห็นตัวเลข เราเชื่อว่าช่วงที่ผ่านมาปัจจัยกดดันตลาดจีน “ของจริง” คือ ดอลลาร์แข็งค่า และ การปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงของยีลด์พันธบัตรสหรัฐ ขณะเทรดเดอร์ฉกฉวยจังหวะทุบตลาดจีนโดยอ้าง ข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ (มองย้อนหลัง) และ ความตึงเครียดในภาคอสังหาฯ (ผ่านพีคนานแล้ว ป้องกันไม่ให้ลุกลามได้)

พิจารณาข้อมูลล่าสุดด้วยเหตุผลแบบ “มองไปข้างหน้า” โดยโฟกัสที่ Policy Response เราจึงมองเห็น “โอกาส” ในการลงทุน หุ้นจีน ตราสารหนี้จีน และ เงินหยวน เพราะเชื่อว่า upside > downside อย่างมีนัยสำคัญ

หมายเหตุ: ผู้ที่มีกองทุนจีนมากเกินไปแล้วก็ควรกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในตลาดอื่นๆบ้าง

*** อัพเดตความเห็นล่าสุดของเราได้ทุกเช้าที่รายการ Fund Today by KTAM ***

ไอเดียกองทุนรวมมีให้ทุกวัน ผู้สนใจเชิญรับชม Fund Today by KTAM ทุกเช้าวันทำการเริ่มเวลา 8:45 น. สามารถพิมพ์คำถามทางไลฟ์ Facebook: KTAM Smart Trade, Youtube: KTAM TV ONLINE หรือรับฟังและร่วมพูดคุยใน Clubhouse: KTAM Smart Trade สดพร้อมกันสามช่องทาง นอกจากนี้ดูคลิปย้อนหลังได้ทั้ง Youtube และ Facebook

#คุยทุกวันฟันทุกเช้า #ฟันทูเดย์845

คำเตือน:

  1. ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  2. ทุกความคิดเห็นเป็นมุมมองส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับ house view ของ บลจ. ธนาคาร หรือองค์กรใดๆทั้งสิ้น
  3. พอร์ต Belief Allocation และ Today Strategy จัดให้สอดคล้องกับมุมมองส่วนตัวตามข้อ 2 โดยทั้งคู่ลงทุนสไตล์ “สุดโต่ง-ไร้ขีดจำกัด” จึงมีความเสี่ยงสูงและแตกต่างจาก asset allocation ทั่วๆไปเป็นอย่างมาก
  4. ผู้ที่ต้องการทำ asset allocation ในรูปแบบปกติ ควรพิจารณากองทุน มั่ง | มี | ศรี | สุข หรือ KTWC