HoonSmart.com>>ฟิทช์ฯให้อันดับเครดิตสากลเป็นครั้งแรกแก่ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล ที่ ‘BB’ ให้อันดับเครดิตหุ้นกู้ที่จะออกเสนอขายที่ ‘BB(EXP)’ คุณภาพสินทรัพย์จัดการได้ ระดับหนี้สินยอมรับได้ ผลประกอบการน่าพอใจเมื่อเทียบกับความเสี่ยง
บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Issuer Default Rating: IDR) แก่ บริษัท เมืองไทยแคปปิดอล (MTC) หรือ MTC ที่ ‘BB’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ ‘A-(tha) โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต มีเสถียรภาพ
พร้อมกันนี้ฟิทช์ ยังได้ให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระชะยาวที่คาดว่าจะให้ (expected rating) แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ MTC ที่จะออกเสนอขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ ‘BB(EXP)’ โดยมีวัตถุประสงค์ของการออกหุ้นกู้เพื่อใช้สำหรับ โครงการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์หุ้นกู้เพื่อสังคมของบริษัทอันดับเครดิตที่คาคว่าจะให้ดังกล่าวจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฟิทช์ใด้รับเอกสารฉบับจริงที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับมาแล้ว
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต พิจารณาจากโครงสร้างเครดิตของบริษัท อันดับเครดิตของ MTC สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งและประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถในประเทศไทย
คุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ระดับหนี้สินที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และผลประกอบการในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับความเสี่ยง
อย่างไรก็ดี อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงปัจจัยด้านโครงสร้างความเสี่ยงของบริษัทที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง เนื่องมาจากการมุ่งเน้นในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีฐานรายได้ต่ำ การมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อในระดับสูง
รวมทั้ง การดำรงสภาพคล่องส่วนเกินที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำและโครงสร้างการระดมทุน (funding profle) ที่ค่อนข้างกระจุกตัว แต่มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ อันดับเครดิตภายในประเทศของ MTC ซึ่งสะท้อนมาจากอันดับเครดิตสากล สกุลเงินต่างประเทศระยะยะยาวของบริษัทและยังพิจารณาถึงโครงสร้างเครดิตของบริษัทเทียบกับบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับในประเทศจากฟีทช์
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานจำกัดการฟื้นตัว คุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในประเทศไทยปรับตัวด้อยลงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐที่ยังชะลอตัว การจำกัดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากหน่วยงานกำกับและสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในบางกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
แม้ว่าฟิทช์ คาดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (คาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่ 2.6% ในปี 2567 และ 3.5% ในปี 2568) แต่ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank lenders)น่าจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่นักในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากแรงกดดันที่ยังคงมีอยู่จากหนี้ครัวเรือนของประเทศที่อยู่ในระดับสูง (91% ของ GDP ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567)
MTC เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยพิจารณาจากมูลค่าเงินให้สินเชื่อและจํานวนสาขา ภาคธุรกิจสินเชื่อที่มีผลตอบแทนสูงประเกทดังกล่าวนี้
ผู้ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดส่วนใหญ่ คือ MTC และผู้ประกอบการที่เป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารอีกสองรายที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการหลักในตลาด แม้การแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถและสินเชื่อที่มีหลักประกันอื่น ๆ เช่น สินเชื่อที่ดินและสินเชื่อเช่าซื้อคิดเป็น 85% ของพอร์ตสินเชื่อของ MTC ณ สิ้นปี 2566 อย่างไรก็ตาม โครงสร้างธุรกิจของ MTC ยังถูกจำกัดจากการกระจายตัวของรายได้ที่ยังน้อยและยังมีความเสี่ยงที่รายได้ของบริษัทอาจมีความผันผวนจากฐานลูกค้าที่มีรายได้ต่ำและมีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ