HoonSmart.com>>”ตลาดหุ้นโตเกียว-เอเชีย” เช้านี้บวก ขานรับ GDP สหรัฐฯ ตอกย้ำความคาดหวัเศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ชะลอตัวแบบ soft landing
ตลาดหุ้นโตเกียวเช้านี้ปรับตัวขึ้น ตามตลาดหุ้นสหรัฐที่ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวานนี้ แต่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอ่อนตัวลงถ่วงตลาด
ในกลุ่ม Prime Market กลุ่มที่นำการปรับขึ้น คือ กลุ่มโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก กลุ่มพลังงานไฟฟ้าและก๊าซ และกลุ่มขนส่งทางทะเล
อัตราเงินเฟ้อในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นเป็น 2.6% จาก 2.2% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 2.4% สูงกว่าที่คาดไว้ 2.2% จากการสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์
อัตราเงินเฟ้อของโตเกียวเป็นตัวบ่งชี้ชั้นนำของแนวโน้มทั่วประเทศ
ตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งขึ้นทำให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่นโยบายมากขึ้นในการทำนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น
ข้อมูลของรัฐบาลเผยเมื่อวันศุกร์ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 2.8% จากเดือนก่อน เนื่องจากการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
รายงานเบื้องต้นจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมเผยว่า ดัชนีการผลิตทของภาคโรงงานและเหมืองแร่ที่ปรับฤดูกาลอยู่ที่ 102.8 เทียบกับฐานปี 2020 ที่ 100 หลังจากที่ลดลง 4.2% ตัวเลขที่แก้ไขในเดือนมิถุนายน จาก 15 หมวดหมู่อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมในการสำรวจ มี 14 หมวดที่มีผลผลิตสูงขึ้น ขณะที่ลดลง 1 หมวด
อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 2.7% สูงกว่าประมาณการของรอยเตอร์ที่ 2.5%
ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ต่ำกว่า 2.9% ที่รอยเตอร์คาดการณ์ไว้ และการเพิ่มขึ้น 3.8% ตัวเลขแก้ไขในเดือนมิถุนายน
ณ เวลา 10.12 น. ในประเทศไทย
ดัชนี Nikkei 225 อยู่ที่ 38,585.43 จุด เพิ่มขึ้น 222.9 จุด , +0.58%
ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นทั้งภูมิภาค จากการรายงานประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ไตรมาสสอง ของสหรัฐที่สดใส ตอกย้ำความคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่จะชะลอตัวแบบ soft landing และจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานประมาณการ GDP ไตรมาส 2 ครั้งที่ 2 ว่า ขยายตัว 3.0% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.8% ประมาณการครั้งที่ 1 และสูงกว่า 2.8% ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ด้วยแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งตอกย้ำการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
กระทรวงพาณิชย์ ยังได้ปรับเพิ่มประมาณการการใช้จ่ายผู้บริโภคในไตรมาส 2 ขึ้นเป็น 2.9% จาก 2.3% และปรับลดการคาดการณ์ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ให้ความสำคัญ ลงมาที่ 2.5% จาก 2.6%
นักลงทุนยังรอการรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนกรกฎาคมในวันศุกร์ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ให้ความสำคัญ รวมทั้งข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า เพื่อประเมินแนวโน้มที่ชัดเจนเฟด จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนหรือไม่
ดัชนี SSE ตลาดหุ้นจีนอยู่ที่ 2,854.07 จุด เพิ่มขึ้น 30.96 จุด, +1.1%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงอยู่ที่ 18,040.5 จุด เพิ่มขึ้น 254.18 จุด, +1.43%
ดัชนี Kospi ตลาดหุ้นเกาหลีอยู่ที่ 2,679.29 จุด เพิ่มขึ้น 17.01 จุด, +0.64%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันอยู่ 22,283.59 จุด เพิ่มขึ้น 17.01 จุด, +0.64%
ราคาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.12 ดอลลาร์ หรือ 0.16% ซื้อขายที่ 76.03 ส่วนราคาน้ำมันดิบ Brent ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.18 ดอลลาร์ หรือ 0.23% ซื้อขายที่ 80.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล