HoonSmart.com>> ธปท.ยันไม่ได้รับแรงกดดันกรณีเฟดส่งสัญญาณชัดลดดอกเบี้ยเดือนก.ย.นี้ ผู้ว่า”เศรษฐพุฒิ” เผย Open ปรับลดดอกเบี้ย การตัดสินใจต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ส่วนข้อเสนอขอให้ลดเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯและแฮร์คัสหนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะตอบรับ แจงเหตุผลเก็บ 0.46%ของเงินฝาก นำไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาล 5.8 แสนล้านบาท หากเก็บลดครึ่งหนึ่งกระทบต่อการจ่ายหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ชี้ชัดแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเสี่ยง credit cost มากกว่า
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานผู้บริหาร ธปท.พบสื่อเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า กรณีประธานเฟดส่งสัญญาณชัดเจนพร้อมปรับลดดอกเบี้ยลงในเดือนก.ย.นี้จะสร้างแรงกดดันต่อกนง.หรือไม่ ว่า นโยบายการเงินของไทยขึ้นอยู่กับเรื่องของไทย ทั้งเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและเสถียรภาพการเงิน นอกจากนี้การตัดสินใจต้องคำนึงหลายปัจจัย
“เฟดส่งสัญญาณเรื่องลดดอกเบี้ยมานาน ครั้งนี้ไม่ได้ใหม่ หรือไม่ได้เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ เรื่องศักยภาพของคนไทย คือความเก่ง ที่ไม่มีใครมี”นายเศรษฐพุฒิกล่าว
ส่วนการที่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อหรือไม่ มาจากการประเมินความเสี่ยงสูง ก็ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ขึ้นอยู่กับ Credit Cost มากกว่าที่จะคำนึงถึงต้นทุน สิ่งที่ธปท.ไม่อยากเห็นคือ การประเมินความเสี่ยงเกินความจริง ทำให้เบรคสินเชื่อแรงมากไป ในส่วนสินเชื่อรถยนต์ที่หดตัวลงแรง เพราะราคารถยนต์มือสองร่วงลงมาก แรงกว่าที่คิด และยังมีรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV เข้ามาด้วย สิ่งที่ต้องการแก้ไข คือ ปัญหาโครงสร้าง ต้องการแก้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น เรื่องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การประเมินแม่นยำมากยิ่งขึ้น หรือการมีหน่วยงานเข้ามารับประกันต่อ หากเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงสูงเทียบกับต้นทุนแล้วอาจไม่คุ้ม ก็ให้ประกันรับความเสี่ยงออกไป หรือให้คิดดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งธปท.กำลังชั่งน้ำหนัก พิจารณาข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ หากเข้าระบบได้ ดอกเบี้ยก็ยังต่ำกว่าที่จ่ายนอกระบบ และเพื่อให้สินเชื่อเดินต่อไปได้
ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าธปท.กล่าวว่า การที่แบงก์จะปล่อยสินเชื่อ จะต้องมีข้อมูลในการพิจารณา ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี อยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านทั้งของไทยและระดับโลก หากประเมินภาพเครดิตของลูกหนี้ได้ แบงก์ก็พร้อมจะปล่อยกู้
สำหรับข้อเสนอให้ธปท.พิจารณาปรับลดเงินการนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ครึ่งหนึ่งของ 0.46% เงินฝากสถาบันการเงินนั้น นายเศรษฐพุฒิกล่าว ยังเร็วเกินไปที่จะตอบเรื่องนี้ รวมถึงเรื่องการแฮร์คัสหนี้ด้วย
ด้านน.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินนำส่งเงินเข้ากองทุน FIDF 0.46%ต่อปี จะได้เงินประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แบ่งจ่ายปีละ 2 ครั้ง เพื่อชำระหนี้เงินต้นที่มีการออกพันธบัตรรัฐบาล 5.8 แสนล้านบาท ชำระดอกเบี้ยประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทต่อปี คาดว่าสิ้นเดือนก.ย. 25767 หนี้จะลดลงเหลือ 5.5 แสนล้านบาทหลังจากนำเงินงวดล่าสุดไปชำระ ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลัง ไม่ใช่ของกองทุนฟื้นฟูฯ
” เงินที่ส่งเข้า FIDF 0.47% ของเงินฝาก สร้างความเข้าใจผิดมาก เงินไม่ได้วิ่งมาที่กองทุนฟื้นฟูฯหรือแบงก์ชาติ เอาไปชำระสบน. ถ้าลดเหลือ 0.23% เงินหายไป 3.5 หมื่นล้านบาท จะกระทบต่อการชำระคืนเงินต้น ยืดออกไปอีกครึ่งปี กระทบต่อดอกเบี้ยจ่ายที่ 1.6 หมื่นล้านบาท จะทำให้จ่ายดอกเบี้ยช้าลงอีก 5,000 ล้านบาท”น.ส.สุวรรณีกล่าว