SCBAM : ตลาดหุ้นเข้าโหมดพักตัว จับตางบกลุ่ม Tech สหรัฐฯ

SCBAM MARKET INSIGHT ประจำวันที่ 24-28 เม.ย.66
โดย..บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์

Highlight ประจำสัปดาห์
๐ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นหลักของโลก เคลื่อนไหวบวกลบสลับกันไป โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงเล็กน้อย เมื่อนักลงทุนกำลังทยอยรับรู้ผลประกอบการที่ร้ายงานออกมา ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาสลับทั้งดีและแย่ กล่าวคือ ภาคแรงงานและภาคอสังหาฯ มีแนวโน้มชะลอตัวแต่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) กลับออกมาดีกว่าคาด ด้านตลาดหุ้นยุโรป ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย นักลงทุนให้น้ำหนักกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวน้อยกว่าคาดมากกว่าความกังวลต่อภาวะเงินเอสูงและแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยต่อในอนาคต ขณะที่ฝั่งเอเชียปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นจีน จากแรงขายทำกำไรและความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น หลังมีกระแสข่าวว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมเสนอแผนจำกัดการลงทุนด้านเทคโนโลยีในจีน ในที่ประชุม G7 เดือน พ.ค.นี้

๐ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ล่าสุด (ข้อมูลจาก Factset ณ วันที่ 21 เม.ย.2566) รายงานออกมาแล้ว 18% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในดัชนี S&P500 พบว่า มีจำนวนบริษัทถึง 76% ที่ร้ายงานกำไรออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด นำโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ สัปดาห์นี้ นักลงทุนควรติดตามการรายงานงบของกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่สหรัฐฯ เช่น Microsoft Alphabet (25 เม.ย.), Meta (26 เม.ย.), Amazon (27 เม.ย) หากหลายบริษัทรายงานงบต่ำกว่าคาดหรือให้ Guidance ในเชิงลบ อาจส่งผลกดดันทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่อเนื่อง

หุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
๐ สหรัฐอเมริกา
ความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯข้าสู่ภาวะถดถอยมีมากขึ้น จากตัวเลขการจ้างงานที่เริ่มลดความร้อนแรง และยอดขายบ้านมือสองที่ชะลอลง ทั้งนี้ เรามองว่าตลาดหุ้นอาจแกว่งตัวในกรอบและเคลื่อนไหวตามแนวโน้มผลประกอบการ 1Q66 และGuidance ที่จะประกาศออกมามากขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ และรอดูความชัดเจนของผลการประชุม Fed ในต้นเดือนหน้า

๐ ยุโรป
รายงานดัชนี PMI เบื้องต้นเดือน เม.ย. ภาคการผลิตชะลอตัวลงต่อเนื่อง สวนทางกับภาคบริการที่ยังคงขยายตัวแข็งแกร่งลดความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป ช่วยหนุนดัชนี Stoxx 600 ทำจุดสูงสุดในรอบ 1 ปี แต่หุ้นยุโรปอาจมีแรงขายทำกำไร หลังดัชนีปรับตัวขึ้นสูง โดยเฉพาะในช่วงประกาศงบ 1Q66 หากผลประกอบการไม่เป็นไปตามตลาดคาด

๐ ญี่ปุ่น
เงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 3.2% ตามตลาดคาด ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า แต่งินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน (core-core CP) ปรับตัวสูงขึ้นมาที่ 3.8% สูงสุดในรอบ 41 ปี เป็นปัจจัยกดดันการเปลี่ยนนโยบายการเงินตึงตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ติดตามการประชุม B0J ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของผู้ว่าฯคนใหม่ ในวันที่ 27-28 เม.ย.นี้

หุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
๐ ไทย
สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มธนาคารเริ่มประกาศผลประกอบการ รอบ 1066 โดยส่วนใหญ่กำไรออกมาดีกว่าคาด เป็นตัวช่วยประคองดัชนี แต่ในระยะสั้นหุ้นไทยอาจมีความผันผวนสูงขึ้นตามทิศทางการรายงานงบและบรรยากาศตลาดหุ้นโลก ขณะที่ในระยะกลาง คาด SET Index ยังคงได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และ Sentiment เชิงบวกจากการเลือกตั้ง
จีนตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลัง ปธน.สหรัฐฯ เตรียมเสนอแผนจำกัดการลงทุนด้านเทคโนโลยีในจีน ในที่ประชุม G7 เดือน พ.ค.นี้ กดดันให้เกิด Sentiment ชิงลบระยะสั้นต่อตลาดหุ้นจีน ประกอบกับ แนวโน้มทางเทคนิคค่อนข้างอ่อนแรง ทำให้เราลดคำแนะนำลงเป็น คงน้ำหนัก เพื่อรอดูสถานการณ์ในช่วงตลาดหุ้นจีนผันผวนก่อน

๐ อินเดีย
ตลาดหุ้นอินเดีย ย่อตัวลง นำโดยกลุ่มเทคโนโลยี หลังผลประกอบการรอบ 4QFY66 ของ TC S และInfosys ออกมาต่ำกว่าคาด และคาดการณ์รายได้ลดลงในปีนี้จากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ สอดคล้องกับยอดส่งออกเดือน มี.ค. ที่หดตัว 13.9%YOY เราจึงคงมุมมองระมัดระวังต่อการลงทุนตลาดหุ้นอินเดียจากระดับมูลค่าที่ค่อนข้างตึงตัว

๐ เกาหลีใต้
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลง จากหุ้นกลุ่มแบตเตอรี่ EV หลังจาก Tesla ประกาศกำไรลดลง สำหรับงวด 1Q66 ทั้งนี้ ต่างชาติข้าซื้อสะสมในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของเราที่คาดว่าช่วงโตรมาส 2-3 ปีนี้ วัฏจักรกำไรของกลุ่ม Semiconductor น่าจะถึงจุดต่ำสุด

๐ เวียดนาม
รัฐบาลเวียดนามเห็นชอบในหลักการสำหรับการต่ออายุมาตรการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม NAT) จาก 10% เป็น 8% โดยรอการอนุมัติจากสมัชชาแห่งชาติในการประชุมเดือน พ.ค. ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ หลังจากยอดค้วปลีกเริ่มซะลอตัวลง ดังนั้น เราแนะนำทยอยสะสมลงทุนอีกครั้งหากตลาดย่อตัว (Buy on Dip)

ตราสารหนี้
๐ ในประเทศ
Bond Yield ไทย ทรงตัวในสัปตาห์ก่อน ทั้งอายุ 2 ปี และ 10 ปี บริเวณ 1.86% และ 2.50% ตามลำดับ เรามองว่า การถือตราสารหนี้ในประเทศ ช่วงนี้ จะช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นโลกมีโอกาสผักตัว และยังช่วยเสริมสภาพคล่องของพอร์ต เพื่อรอจังหวะกลับเข้าไปเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

๐ ต่างประเทศ
US Treasury Yield เริ่มขยับขึ้น ทั้งอายุ 2 ปีและ 10 ปี แม้ว่า Bond Yield จะมีโอกาสขยับขึ้นอีกบ้างจากนี้ หากนักลงทุนลดความกังวลต่อกาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือการลดดอกเบี้ยของ Fed ไม่ได้เกิดขึ้นเร็วเหมือนที่ตลาดคาดหวัง แต่เราประเมินว่า ด้วยระดับ Bond Yield ปัจจุบัน ถือว่า น่าสนใจสำหรับการทยอยสะสมเพื่อลงทุนระยะยาว

สินทรัพย์ทางเลือก
๐ ทองคำ
ราคาทองคำเริ่มปรับตัวลงโดยปิดหลุดระดับ S$2,000/0z ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเริ่มมีแรงขายทำกำไรเข้ามา หลังตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีขึ้นช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอยลงไปได้บ้างและดัชนี Dollar Index เริ่มกลับมาแข็งค่าระยะสั้น เรายังมีมุมมองเชิงระมัดระวังต่อการพักฐานระยะสั้นและรอหาโอกาสในการข้าสะสมใหม่อีกครั้งในอนาคต

๐ น้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบ WT! ปรับตัวลงหลุดระดับ บS$80/3bแ แต่ปรับตัวดีขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ด้วยแรงหนุนจากดัชนีผู้จัดการฝ้ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวดีขึ้นในยูโรโซน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ช่วยลดความกังวลอุปสงค์ชะลอตัวหากเศรษฐกิจถดถอย เราคาดว่าราคาน้ำมันมีแนวโน้มผันผวนในกรอบกว้างและแนะนำเก็งกำไรหาก WTI ลงมาต่ำกว่า US$75/bbl

๐ อสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน
การประชุม Fed เดือน มี.ค. ส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่า วัฏจักรดอกเบี้ยขขึ้นใกล้ถึงจุดสิ้นสุด ทำให้ทิศทางของ Bond Yield ปีนี้ ไม่น่าจะปรับขึ้นรุนแรงและรวดเร็วเหมือนปีก่อน ช่วยให้แรงกดดันต่อกลุ่ม REITS. ลดน้อยลง และราคากลุ่มREITs น่าจะมีความเสถียรมากขึ้น