HoonSmart.com>>หุ้น SCGP เทรด 2 วัน พุ่ง 6.15% เล็งกำไรไตรมาส 4/65 กลับมาฟื้นตัว จากปริมาณขายเพิ่มขึ้นตามฤดุกาลที่เป็น High Season และแรงกดดันด้นทุนทยอยลดลง ราคาขายผลิตภัณฑ์ยังสูง แนวโน้มมาร์จิ้นดีขึ้น สำหรับดีล M&P เลื่อนไปปี 66 คาดว่าบริษัทยังมีโอกาสเติบโตจาก Synergy ที่ได้จากการทำ M&P ทั้งการจัดการวัตถุดิบที่ดีขึ้น-การใช้ฐานลูกค้ากว้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ-รับรู้กำลังการผลิตเพิ่ม
หุ้น SCGP ปิดเช้าบวก 3.27% มาอยู่ที่ 55.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท มูลค่าซื้อขาย 676.93 ล้านบาท โดยเปิดตลาดที่ 54.25 บาท ขึ้นสูงสุด 55.75 บาท และต่ำสุด 54.25 บาท
วานนี้ (1 พ.ย.) หุ้น SCGP บวก 2.88% มาอยู่ที่ 53.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) แนะนำ”เก็งกำไร”หุ้น บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง(SCGP) คาดกำไรปกติไตรมาส 4/65 กลับมาฟื้นตัวทั้ง QoQ และ YoY จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น ตามปัจจัยฤดูกาลที่เป็น High Season และได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงอัตรากำไรขั้นต้นที่ขยายตัวจากต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลง พร้อมให้แนวต้านทางเทคนิค 55 บาท แนวรับ 53.25 บาท และ Stop loss หากต่ำกว่า 52 บาท
บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) แนะนำ”ซื้อ”หุ้น SCGP คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 4/65 ฟื้นตัว q-q เนื่องจากคาดว่าแรงกดดัน ด้านต้นทุนจะทยอยลดลง ขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์ Fiber และ Polymer packaging ยังคงอยู่นนระดับสููง และเข้าูู่ High season ทำให้คาดว่าปริมาณขาย และ margin มีแนวโน้มที่ดีขึ้น q-q ราคาพื้นฐาน 65 บาท
ทั้งนี้ คาดผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/65 มีโอกาสฟื้นตัว q-q เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานที่อ่อนตัวลง โดยราคาเฉลี่ย AOCC ไตรมาส 3/65 ลงมาอยู่ที่ 200 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 275 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในไตรมาส 2/65 และราคา spot อยู่ที่ราว 140 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากสามารถเก็บ RCP ได้มากขึ้น ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ขณะที่ราคาถ่านหินปรับลงจาก 90 เหรียญสหรัฐต่อตัน มาอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในไตรมาส 3/65 และราคา spot ทรงตัวที่ 90 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้คาดว่าแรงกดดันด้านต้นทุนในไตรมาส 4/65 จะลดลง
อีกทั้ง คาดว่าราคาขายของผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ (Fiber และ Polymer) ยังสามารถคงราคาไว้ในระดับเดิมได้ แม้ต้นทุนวัตถุดิบจะเริ่มปรับตัวลง ทำให้คาดว่า margin มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงไตรมาส 4/65 เป็นช่วง High season และช่วงสั้นปีที่คาดว่าจะมีกิจกรรมมากขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตในอุตฯยังมีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับต่ำทำให้คาดว่า กำลังการผลิต และปริมาณการขายจะปรับตัว ดีขึ้น q-q จากการขยายตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แต่การใช้มาตรการ Zero COVID ของจีนยังเป็นปัจจัยกดดันให้อุปสงค์ฟื้นตัวได้จำกัด
บริษัทปรับเป้าเงินลงทุน ปี 2565 เหลือ 16,000 ล้านบาท จากเดิม 20,000 ล้านบาท เนื่องจากมีการเลื่อนดีล M&P ไปอยู่ในปี 2566 และมีการเลื่อนการเริ่มดำเนินงานโครงการในเวียดนามไปเป็นปี 2568 จากเดิมปี 2567 เพราะจีนยังคงใช้มาตรการ Zero COVID ไปจนถึงช่วงไตรมาส 1/66 ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีสัดส่วนการขายในจีนค่อนข้างสูง ส่วนเป้าเงินลงทุนในปี 2566 อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งรวมงบลงทุนการทำ M&P ที่ถูกเลื่อนจากปี 2565 ไว้ด้วย ทำให้ทางฝ่ายคาดว่าบริษัทยังมีโอกาสเติบโตจาก Synergy ที่ได้จากการทำ M&P ทั้งในด้านการจัดการวัตถุดิบที่ดีขึ้น และการใช้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรู้กำลังการผลิตเพิ่มเติม
ปี 2566 บริษัทจะรับรู้กำลังการผลิต Fiber packaging 75,000 ตัน ซึ่งทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.46 ล้านตัน จากเดิม 1.38 ล้านตัน ซึ่งกำลังการผลิตดังกล่าวได้รวมอยู่ในประมาณการแล้ว โดยกำลังการผลิตดังกล่าวอยู่ในแผนการเติบโตของบริษัทที่จะเน้นไปยังผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มี margin ที่ค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ