“TEGH” ผู้นำโมเดลศก. BCG “ยาง-ปาล์ม-โรงไฟฟ้า” โตยั่งยืน

HoonSmart.com>>TEGH ผู้นำโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ธุรกิจอายุ 30 ปี เติบโตยั่งยืนจากรุ่น 1 สู่รุ่น 3 …. หุ้นที่กองทุนสนใจลงทุน มองธุรกิจลูกผสม 3 ขา สร้างความสมดุลของรายได้ “ยางอัดแท่งเกรดพรีเมี่ยม – ปาล์มดิบ-โรงไฟฟ้าชีวภาพ”  “สินีนุช โกกนุทาภรณ์”   ชูหุ้นปันผล-เติบโต-ยั่งยืน

 

          ผู้นำโมลเดล BCG

บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์  (TEGH) ผู้นำโมลเดลเศรษฐกิจใหม่  BCG Economy ( BCG ) ที่ประสบความสำเร็จและเห็นผลการพัฒนา สู่การทำธุรกิจแบบห่วงโซ่ สร้างระบบนิเวศและพึ่งพาตนเอง ในอาณานิคมของ TEGH

การเป็นผู้นำโมเดล BCG  ของ TEGH เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม  3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่

B  (Bio Economy) คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า

C  (Circular Economy) คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

และ G  ( Green Economy ) คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน

           3 ขาธุรกิจ ตามหลัก BCG 

           รง.ปาล์มแห่งแรกของภาคตะวันออก

ธุรกิจของ TEGH ทั้ง 3 ขาธุรกิจ ผสมผสานกับคำว่า BCG อย่างลงตัว และก่อนที่หุ้น TEGH เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (SET) วันที่ 30 กันยายน 2565 นี้ เพื่อไม่ให้นักลงทุนเสียโอกาสการลงทุนกับบริษัทที่มีศักยภาพบริษัทหนึ่ง

จุดเริ่มต้นธุรกิจ TEGH จากวันเริ่มถึงวันนี้ 30 ปี โดย ” สมชาย โกกนุทาภรณ์” ผู้บุกเบิก การปลูกพืชเกษตร อ้อย มันสำปะหลัง ในจังหวัดชลบุรี นำผลผลิตมาขายในกรุงเทพ เก็บเกี่ยวผลผลิตปีละครั้ง จากนั้นจึงทยอยปรับเปลี่ยนเพิ่มการปลูกยางและปาล์ม

ปี 2534 จึงสร้างโรงงานน้ำมันปาล์มขึ้นมา ถือเป็น โรงงานปาล์มแห่งแรกของภาคตะวันออก ส่งลูกค้าน้ำมันพืชรายใหญ่ของปทุมธานี ตั้งแต่เริ่มถึงปัจจุบัน

จากนั้นปี 2537 ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้น และปี 2543 ก่อตั้งโรงงานผลิตยางแท่ง ให้ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ชั้นนำระดับโลก

และในปี 2552-2553 กลุ่มบริษัท ฯ ร่วมทุนกับบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ อินดัสตรีส์ ทำสวนยางพาราขนาดใหญ่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู และตั้งโรงงานผลิตยางแท่งที่จังหวัดอุดรธานี

ต่อมาปี 2553 ขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ผลิตและจำหน่ายก๊าซชีวภาพ และไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ภายใต้แนวคิดการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การดำเนิน 3 ขาธุรกิจ “ ผลิต-จำหน่ายยางธรรมชาติ , ผลิต-จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ และธุรกิจพลังงานทดแทน-บริหารจัดการกากอินทรีย์” อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทย่อยทั้งหมด 11 บริษัท และบริษัทร่วมค้า 1 บริษัท

         ธุรกิจลูกผสม จุดต่าง-จุดแข็ง

         เบอร์ 1 เรื่องคุณภาพยางแท่ง

น.ส.สินีนุช โกกนุทาภรณ์  กรรมการผู้จัดการ TEGH ทายาท ผู้ถือหุ้นใหญ่ กล่าวถึงความแตกต่างและจุดแข็งของธุรกิจ TEGH  ซึ่งแตกต่างจากบริษัทยางในตลาดหลักทรัพย์ ประการแรก 1. TEGH ดำเนิน 3 ขาธุรกิจเป็นผู้ผลิตยางแท่ง คุณภาพพรีเมี่ยม และธุรกิจผลิต-ขาย ยางธรรมชาติ และธุรกิจพลังงาน บริหารจัดการกำจัดกากอินทรีย์  ขณะที่บริษัทใน

จุดแข็งยางแท่งของ TEGH เป็นสินค้าเกรดพรีเมี่ยม ขายให้ลูกค้าโดยตรง ซึ่งเป็นแบรนด์ TOP ของโลก อาทิ Michelin , Goodyear, Pirelli , Sumitomo , Yokohama ฯ และกว่า 65 แบรนด์ทั่วโลก

2. สินค้าได้ตามมาตรฐาน Sustainable Material ไม่บุกรุกป่า , การจัดการเกษตรอินทรีย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงงานของ TEGH เป็นโรงงานแรกที่ได้มาตราฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน

3.โรงงานปาล์ม-ยางธรรมชาติ เป็นสินค้าคาร์บอนต่ำ ได้รับการรับรอง 192 g CO2c/Kg ต่ำกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม

4. กระบวนการผลิตและควบคุม ได้มาตรฐาน และรางวัลคุณภาพจากลูกค้า

กรรมการผู้จัดการ บอกว่า ผลิตภัณฑ์ยางแท่งของบริษัท ขายตรงถึงลูกค้ายางรถยนต์รายใหญ่ของโลก ซึ่งการขายตรงดังกล่าว สิ่งแรกที่บริษัทคำนึงคือ คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ทำให้บริษัทได้รับรางวัลต่าง ๆ จากลูกค้า โดยลูกค้ายกให้เป็น The Best  เบอร์ 1 เรื่องคุณภาพยางแท่ง 

           โครงสร้างรายได้ยางนำ-ปาล์มตาม

           บริหารสต็อก-ปิดความเสี่ยง

น.ส.สินีนุช กล่าวว่า 3 ธุรกิจหลัก เป็นการกระจายความเสี่ยง จากการพึ่งพิงรายได้จากผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง  โดยโครงสร้างรายได้หลัก TEGH  มาจาก ผลิต-จำหน่ายยางแท่ง 75% ของรายได้ , รองมา ผลิต-จำหน่ายน้ำมันปาล์ม 24% ส่วนพลังงานชีวภาพ-การบริหารจัดการกากอินทรี มีสัดส่วนที่น้อย ราว 1% เพราะส่วนใหญ่ทำใช้ในกลุ่มบริษัท และจำหน่ายยังไม่มาก

กรรมการผู้จัดการ กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ยาง-ปาล์ม เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ราคาผันแปรตามตลาดโลก ซึ่งเกษตรกร จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่บริษัท  ฯ ได้รับผลกระทบไม่มาก จากการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ ต้อง Balance ระหว่างวัตถุดิบกับราคาขาย , โดยเฉพาะความสำคัญของการบริหารสต็อกเนื้อยาง ขึ้นอยู่กับความแม่นยำในการตีเปอร์เซ็นต์ยาง

ทั้งนี้งวด 6 เดือนแรก 2565 กลุ่มบริษัท ฯ มีรายได้ 7,536 ล้านบาท , เพิ่มขึ้น 45% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 5,214 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 367 ล้านบาท เติบโต 42% จากช่วงเดียวกันที่มีกำไร 258 ล้านบาท

         เพิ่มทุนรองรับ 3 ขาธุรกิจ

กรรมการผู้จัดการ บอกอีกว่า การเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้นให้นักลงทุนทั่วไปครั้งแรก (IPO ) จำนวน 270 ล้านหุ้น ราคาเสนอขาย 4.80 บาท มูลค่าการระดมทุน 1,296 ล้านบาท  นอกจากแผนขยายการผลิตยางธรรมชาติแล้ว บริษัทฯ มีแผนขยายกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ โดยปรับปรุงโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรใหม่ วงเงิน 100-200 ล้านบาท ของแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 1,200 ล้านบาท , ลงทุนพลังงาน 600-700 ล้านบาท และยางแท่ง 300-400 ล้านบาท

ทั้งนี้ กำลังผลิตน้ำมันปาล์มดิบ  ณ วันที่ 1 ส.ค. 2565  กลุ่มบริษัทฯ มีกำลังการผลิต  473,040 ตันทะลายปาล์ม/ ปี เป็น 735,840 ตันทะลายปาล์มต่อปี เพิ่มขึ้น 262,800 ตันทะลายปาล์มต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 55.56%  โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในไตรมาสที่ 1/2566 และดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 4/2566

นอกจากนี้ มีแผนขยายกำลังผลิตก๊าซชีวภาพ โซน 3 จากกำลังผลิต 43.80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็น 67.00 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 190.43%  จากแผนการขยายการลงทุนดังกล่าว สนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สอดคล้องกับนายเฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TEGH ที่ตั้งเป้าการเป็นผู้ผลิตยางแท่ง 5 อันดับแรก (Top 5) ของประเทศ ด้วยการขยายกำลังการผลิตยางแท่ง เป็น 416,494 ตันต่อปี ภายในปี 2567 รองรับแนวโน้มความต้องการยางแท่งที่จะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต