HoonSmart.com>> ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วง ดัชนีดาวโจนส์ลบ 98 จุด นักลงทุนยังกังวลเฟดคุมเงินเฟ้อโดยไม่กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ แม้ข้อมูลรายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 428,000 ตำแหน่ง สูงกว่านักวิเคราะห์คาด บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้นเหนือ 3% ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ขึ้นต่อ 1.51 ดอลลาร์ฯ ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปิดลบ นโยบายการเงินยังเป็นปัจจัยครอบงำตลาด หลังธนาคารกลางหลายประเทศขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average:DJIA) วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ปิดที่ 32,899.37 จุด ลดลง 98.60 จุด หรือ 0.30% เป็นการลดลงติดต่อกันสัปดาห์ที่ 6 ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน จากความกังวลว่าธนาคารกลาง(เฟด)จะสามารถคุมเงินเฟ้อโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ แม้ข้อมูลล่าสุดบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานฟื้นตัว
ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 4,123.34 จุด ลดลง 23.53 จุด, -0.57%
ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,144.66 จุด ลดลง 173.03 จุด, -1.40%
ในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์ลดลง 0.24% ดัชนี S&P500 ลดลง 0.21% ส่วนดัชนี Nasdaq ลดลง 1.54%
กระทรวงแรงงานรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 428,000 ตำแหน่ง สูงกว่า 400,000 ตำแหน่ง ที่นักวิเคราะห์คาด ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 3.6% สูงกว่า 3.5% ที่นักวิเคราะห์คาด
ข้อมูลบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานในเศรษฐกิจสหรัฐฯยังแข็งแกร่ง แม้เฟดเริ่มดำเนินนโยบายการเงินตึงตัว และตอกย้ำมุมมองของเฟดที่ว่าเศรษฐกิจอย่างน้อยในขณะนี้ยังแข็งแกร่งพอที่จะรองรับนโบายการเงินตึงตัว อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้วการขึ้นดอกเบี้ยจะดึงเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัตการณ์ในรอบ 40 ปีลงมาได้หรือไม่ รวมไปถึงยังมีประเด็นทางเศรษฐกิจมหภาคอื่นที่่น่าวิตก และเป็นความไม่แน่นอน ที่นักลงทุนมีความกังวล
เอ็มมานูเอล เกา นักกลยุทธ์จาก Barclays ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แม้เฟดอาจจะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยในเชิงรุก 0.75% แต่นัยของนโยบายในช่วงข้างหน้าคือ แข็งกร้าว(hawkish) เว้นเสียแต่ว่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จะกลับทิศ เฟดอาจจะไม่มีทางเลือกมากไปกว่าการชะลอเศรษฐกิจเพื่อชะลอเงินเฟ้อ และคงความน่าเชื่อถือ
นักลงทุนจับตาการรายงานข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายเดือนในสัปดาห์หน้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นมาที่ 3.13% ก่อนที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง โดยหุ้นแอมะซอนลดลง1.4% หุ้นไมโครซอฟต์ หุ้น Nvidia ต่างลดลงราว 0.9% หุ้นเน็ตฟลิกซ์ลดลง 3.9%
หุ้นพลังงานปรับขึ้นโดดเด่น จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นอีกโดยหุ้น EOG Resources บวก 7.1%
หุ้นอันเดอร์ อาร์เมอร์ อิงค์ ลดลง 23.8% หลังผลการดำเนินงานต่ำกว่าคาด
หุ้น Cigna ธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้นราว 6% จากผลการดำเนินงานดีกว่าคาด
ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มค้าปลีกที่ลดลง 2% ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ร่วงแรงในวันพฤหัสบดี และนักลงทุนกังวลมากขึ้นหลังจากวิเคราะห์แนวนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจละเอียดมากขึ้น
นโยบายการเงินยังเป็นปัจจัยครอบงำตลาด หลังจากธนาคารกลางหลายประเทศขึ้นดอกเบี้ยทั้งธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางอังกฤษ ส่วนธนาคารกลางสหภาพยุโรป(ECB)แม้ยังไม่ปรับแต่มีแนซดน้มี่จะปรับขึ้นในช่วงหน้าร้อนนี้
Olli Rehn สมาชิก ECB และผู้ว่าการธนาคารแห่งฟินแลนด์ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์CNBC เมื่อวันศุกร์ว่า ความปั่นป่วนของตลาดอาจเกิดจาก “ความไม่แน่นอนในวงกว้าง” ที่บดบังแนวโน้มเศรษฐกิจ
“ในยุโรป เรากำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน จากความใกล้ชิดกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการพึ่งพาพลังงานรัสเซียมากเกินไป”
“เราได้ปรับลดประมาณการการเติบโตลงแล้วจากปัจจัยเหล่านี้ ในทางกลับกัน เศรษฐกิจยุโรปยังคงเติบโต การฟื้นตัว การจ้างงานดีขึ้น และเราเห็นว่าการผ่อนคลายทางการคลังและการเงินอย่างมากยังเป็นแรงหนุนเศรษฐกิจต่อไป”
Rehn เห็นว่า ควรมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%ในการประชุมนโยบายครั้งต่อไปของ ECB เพื่อป้องกันไม่ให้การคาดการณ์เงินเฟ้อฝังแน่น
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 429.91 จุด ลดลง 8.35 จุด, -1.91%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิด 7,387.94 จุด ลดลง 115.33 จุด, -1.54%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,258.36 จุด ลดลง 110.04 จุด, -1.73%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,674.29 จุด ลดลง 228.23 จุด, -1.64%
ราคาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 1.51 ดอลลาร์ หรือ 1.4% ปิดที่ 109.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ Brent ทะเลเหนืองวดส่งมอบเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 1.49 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิ