MFC : A Week of Central Banks

Highlighted Funds

MGF : ลงทุนในหุ้นเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด เนื่องจากหุ้นประเภทนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ อีกทั้งยังทนกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เงินเฟ้อและดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นได้ดี

M-EDGE : โอกาสลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตอย่างยั่งยืน คัดเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพดี สามารถสร้างมูลค่าได้เหนือกว่าดัชนีหุ้นโลก อีกทั้ง กองทุนกระจายการลงทุนไปในธุรกิจที่มี business cycle ต่างกัน และหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เหมาะสมกับภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีความผันผวนสูง

M-BT : กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่นที่คัดสรรหุ้นไทยที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคโดยทีมผู้จัดการกองทุนที่มากด้วยประสบการณ์และมีกลยุทธ์การบริหารพอร์ตที่ยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด ที่มีความผันผวน

MEURO : ปัจจุบันเราเริ่มเห็นตลาดหุ้นยุโรปดัชนี STOXX600 ได้ถูกปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯดัชนี S&P500 นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังมีมูลค่าที่ถูกกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดย Relative Forward P/E ของดัชนี STOXX600 และดัชนี S&P500 อยู่ที่ระดับ -2S.D.

M-EUBANK : หุ้นกลุ่มธนาคารได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยหุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปมี Valuation ค่ อนข้างถูก มี P/BV Ratio 0.75 เท่า เมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ ที่มี P/BV Ratio 1.45 เท่า นอกจากนี้หุ้นกลุ่มธนาคารยุโรปได้รับการปรับประมาณการกำไรมากกว่าหุ้นกลุ่มธนาคารสหรัฐฯ

Investment Strategy

จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่ราคายังยืนเหนือ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งอาจหนุนให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดคาด

ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.9%YoY ในเดือน ก.พ. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2525 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคยุโรปก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเดือน ก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.8%YoY โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น 31.7%YoY เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อของยุโรปยังมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวขึ้นได้อีก หากสถานการณ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนมีความรุนแรงขึ้นจนรัสเซียประกาศหยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ยุโรป ซึ่งสอดคล้องกับผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ส่งสัญญาณลดการกระตุ้นเศรษฐกิจ (APP) เร็วกว่าแผนเดิม โดยจะลดวงเงินซื้อสินทรัพย์จนสิ้นสุดมาตรการในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้น

นอกจากนี้ ECB ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้ จาก 4.2% เหลือ 3.7% และปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจาก 3.2% เป็น 5.1% ซึ่งสร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อที่สูง (Stagflation) โดยเหตุการณ์สำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ การประชุม FOMC ในวันที่ 16 มี.ค. ซึ่งนอกจากเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกที่ 0.25% แล้ว ตลาดยังคาดว่าเฟดจะเปิดเผยแผนการลดขนาดงบดุล (QT) ในการประชุมครั้งนี้ด้วย

หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของจีนปรับตัวลงต่อเนื่องจากข่าวที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ อาจเพิกถอนบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 5 ราย เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเปิดเผยข้อมูลทางบัญชีได้

นอกจากนี้ทางการจีนยังได้สั่งล็อกดาวน์เมืองเซินเจิ้นที่เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีของจีน เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น 3,400 รายในวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ดัชนี Hang Seng TECH ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดในปี 2564 มาแล้วกว่า -60% ในระยะสั้นเรามองว่าราคาหุ้นเทคโนโลยีของจีนปรับตัวลงจาก Sentiment เชิงลบ มากกว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัท