MFC เปิดกลยุทธ์ลงทุน Q1/65 ชี้เป้ากองทุน MGF, M-EDGE, MRENEW, MEURO

กลยุทธ์การลงทุนไตรมาสที่ 1 ปี 2565

สำหรับภาพรวมในไตรมาส 1 ปี 2565 เรายังมองตลาดหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ถึงแม้ว่าผลตอบแทนคาดหวังอาจจะไม่ได้สูงเหมือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Valuation ของดัชนีหุ้นโลกที่ตึงตัวสะท้อนผ่าน Forward P/E ของดัชนี MSCI ACWI ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ ณ บริเวณ +1SD ในรอบ 10 ปีผ่านมา รวมถึงธนาคารกลางในหลายประเทศก็มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น

ขณะที่รายงานการประชุมเฟดเดือน ธ.ค. และการคาดการณ์ของตลาด (Fed Fund Futures) บ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วที่สุดในปีนี้คือการประชุม FOMC รอบเดือน มี.ค.

จากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก (Hyper-Growth Stocks) เช่นเดียวกับการลงทุนในตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนไม่มาก (TINA Effect) เราจึงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ทยอยลงทุนเมื่อตลาดหุ้นมีการปรับฐาน โดยมองความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นมีการปรับฐานในไตรมาสนี้อยู่ 3 ประเด็น ได้แก่

1.) การแพร่ระบาดที่รวดเร็วของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจนโรงพยาบาลรับไม่ไหว

2.) ร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ Build Back Better ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ถูกขัดขวางในวุฒิสภา

3.) ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง จนเป็นสาเหตุให้นักลงทุนคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มเติมจากเดิมที่ 3 ครั้ง กลายเป็น 4 ครั้ง ในปีนี้

อย่างไรก็ตาม หากตลาดหุ้นปรับฐานลงจากประเด็นเหล่านี้เรามองเป็นโอกาสทยอยลงทุนจาก Upside ของตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเหตุผลของ TINA Effect ที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยเน้นไปที่หุ้นเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) เนื่องจากหุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีกำไรกับรายได้เติบโตสม่ำเสมอ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาดในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น

Highlighted Funds

MGF : เรามองว่าหุ้นเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) จะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงกลางวัฏจักร (Mid-Cycle) และสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด เนื่องจากหุ้นประเภทนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ อีกทั้งยังทนกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เงินเฟ้อและดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นได้ดี

M-EDGE
: โอกาสลงทุนในหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และเติบโตอย่างยั่งยืน คัดเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพดี สามารถสร้างมูลค่าได้เหนือกว่าดัชนีหุ้นโลก อีกทั้ง กองทุนกระจายการลงทุนไปในธุรกิจที่มี business cycle ต่างกัน และหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เหมาะสมกับภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีความผันผวนสูง

MRENEW : ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานยั่งยืนและพลังงานทดแทนทั่วโลก (Renewable Energy) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนเม็ดเงินของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก เราคาดว่าธีมพลังงานสะอาดจะเป็น Mega Trend ที่เติบโตต่อไปอีกในทศวรรษหน้า

MEURO : ตลาดหุ้นยุโรปดัชนี STOXX600 ถูกปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯดัชนี S&P500 นอกจากนี้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดย Relative Forward P/E ของดัชนี STOXX600 และดัชนี S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ -2S.D.

มุมมองการลงทุนไตรมาส 1 ปี 2565

ในปี 2564 สินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่ ทั้งหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี ถึงแม้จะเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทั้งสายพันธุ์เดลต้าและโอมิครอน แต่สินทรัพย์เสี่ยงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก อีกทั้ง หลายประเทศทั่วโลกกลับมาเปิดเมืองและเปิดประเทศอีกครั้ง สอดคล้องกับจำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวดีขึ้น

โดยสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนมากที่สุดในปี 2564 ได้แก่ น้ำมัน (WTI) ที่ให้อัตราผลตอบแทนมากถึง 55% รองลงมาเป็น ตลาดหุ้นเวียดนาม (VNI) ให้อัตราผลตอบแทน 36%, Global REIT ให้อัตราผลตอบแทน 30%, ตลาดหุ้นฝรั่งเศส (CAC40) ให้อัตราผลตอบแทน 29% และตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ให้อัตราผลตอบแทน 27% ในขณะที่สินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนติดลบมากที่สุดในปี 2564 ได้แก่ ตราสารหนี้จีนผลตอบแทนสูง (China High Yield Bond) ปรับตัวลดลง -26% จากประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีน รองลงมาเป็นตลาดหุ้นฮ่องกง (Hang Seng) และตลาดหุ้นจีน (CSI300) ที่ปรับตัวลดลง -14% และ -5% ตามลำดับ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านกฎระเบียบจากทางภาครัฐ

สำหรับภาพรวมในไตรมาส 1 ปี 2565 เรายังมองตลาดหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ถึงแม้ว่าผลตอบแทนคาดหวังอาจจะไม่ได้สูงเหมือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Valuation ของดัชนีหุ้นโลกที่ตึงตัว สะท้อนผ่าน Forward P/E ของดัชนี MSCI ACWI ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ ณ บริเวณ +1SD ในรอบ 10 ปีผ่านมา (ภาพที่ 1) รวมถึงธนาคารกลางในหลายประเทศก็มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่รายงานการประชุมเฟดเดือน ธ.ค. และการคาดการณ์ของตลาด (Fed Fund Futures) บ่งชี้ว่าเฟดมีโอกาสที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วที่สุดในปีนี้คือการประชุม FOMC เดือน มี.ค. (ภาพที่ 2) สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯรุ่นอายุ 2 ปีที่ปรับตัวขึ้นมาบริเวณ 0.85% และรุ่นอายุ 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นมาแตะระดับเดียวกันกับช่วงเดือน พ.ย. 2564 ที่ 1.75% ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ตลาดจะเข้าสู่โหมด Risk-Off จากเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

จากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลาง-เล็ก (Hyper-Growth Stocks) เช่นเดียวกับการลงทุนในตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนไม่มาก (TINA Effect) เราจึงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ทยอยลงทุนเมื่อตลาดหุ้นมีการปรับฐาน โดยมองความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ตลาดหุ้นมีการปรับฐานในไตรมาสนี้อยู่ 3 ประเด็น ได้แก่

1.) การแพร่ระบาดที่รวดเร็วของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิ ครอนที่ตอนนี้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศสหรัฐฯ และทวีปยุโรป ถึงแม้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน จะมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดที่รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า 2-5 เท่า อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจนโรงพยาบาลรับไม่ไหว และเป็นสาเหตุให้รัฐบาลต้องกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวดอีกครั้งเพื่อยับยั้งอัตราการเสียชีวิต (ภาพที่ 3)

2.) การผ่านร่างกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ Build Back Better ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน โดยสถาบัน Oxford Economics คาดว่าหากร่างกฎหมาย Build Back Better (BBB) ถูกขัดขวางในวุฒิสภาก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2565 ถูกปรับลดประมาณการลง 0.4% จากเดิมที่คาดการณ์ขยายตัวที่ 4.1%YoY จะเหลือขยายตัวเพียง 3.7%YoY (ภาพที่ 4)

3.) ตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง จนเป็นสาเหตุให้นักลงทุนในตลาด (Fed Fund Futures) คาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มเติมจากเดิมที่ 3 ครั้ง กลายเป็น 4 ครั้ง ในปีนี้

อย่างไรก็ตามหากตลาดหุ้นปรับฐานลงจากประเด็นเหล่านี้เรามองเป็นโอกาสทยอยลงทุนจาก Upside ของตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเหตุผลของ TINA Effect ที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยเน้นไปที่หุ้นเติบโตคุณภาพดี (Quality Growth Stock) เนื่องจากหุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีกำไรกับรายได้เติบโตสม่ำเสมอ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาดในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น (ภาพที่ 5)

ขณะที่ตลาดหุ้นจีน เรามองว่าในระยะข้างหน้ามีโอกาสเกิด “Positive Surprise” จากการที่ธนาคารกลางจีน (PBoC) อาจมีการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม คล้ายกับในช่วงปี 2561-2562 ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ Trade War ที่ธนาคารกลางจีนทำการลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (Reserve Requirement Ratio) ติดต่อกัน 6 ครั้ง รวมลด RRR ทั้งหมด -4.0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและปริมาณสินเชื่อ (Credit impulse) ที่ชะลอตัวลง ซึ่งตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ปริมาณสินเชื่อในระะบบเศรษฐกิจจีนอยู่ ณ บริเวณจุดต่ำสุดเมื่อเทียบกับวัฏจักรของปริมาณสินเชื่อในอดีตที่ผ่านมา (ภาพที่ 6)

เศรษฐกิจโลกในไตรมาส 1 ปี 2565 จะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแต่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ฟื้นตัวค่อนข้างแรงในปี 2564 จากที่มีการเข้าถึงวัคซีนและมีการใช้นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามในปี 2565 เศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับเข้าสู่สภาวะปกติ จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกจะเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟด ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 3 ครั้งในปี 2565 ทำให้ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อมูลค่าของตราสารหนี้

อีกทั้ง อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศและตราสารหนี้ไทยเป็น Slightly Underweight เช่นเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนจะทำให้พอร์ตของนักลงทุนได้รับประโยชน์จากภาวะ TINA Effect ในส่วนของตราสารทุนของประเทศพัฒนาแล้วให้น้ำหนักเป็น Slightly Overweight เหมือนกับไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหุ้นจีน สำหรับการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (EM) ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral เช่นเดียวกับในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย

สำหรับในกลุ่ม Alternatives เช่น REITS ต่างประเทศ และ REITS ไทย ปรับลดน้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral

ถึงแม้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 อาจถูกกดดันจากประเด็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนอยู่ รวมทั้งการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และนโยบายการเงินของเฟดที่เข้มงวดมากขึ้น สำหรับน้ำมันยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral เหมือนในไตรมาสก่อนหน้า เช่นเดียวกับการลงทุนในทองคำ