ตลท.เปิดแผนธุรกิจปี 65-67 เพิ่มประโยชน์ตลาดทุนไทย

HoonSmart.com>>”ภากร ปีตธวัชชัย”นำทีมผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แถลงกลยุทธ์และโมเดลธุรกิจ 3 ปี (2565-2567) เดินหน้าเพิ่มพันธมิตร เชื่อมโยงตลาดทุนควบคู่กับโลกอนาคต สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำธุรกิจและการลงทุน มุ่งเป็นแหล่งระดมทุนสอดรับกับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงและขยายอุตสาหกรรมใหม่ ปีนี้มี IPO ไม่น้อยกว่าปีก่อน กำลังพิจารณา 20 ดีล เสริมสร้างคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย คาดไตรมาส1/65 ใช้เกณฑ์แคชบาลานซ์ใหม่  ส่งผลศึกษาการจัดเก็บภาษีขายหุ้นให้ภาครัฐแล้ว

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในรูป K ซึ่งมีผลต่อการลงทุน และปัจจุบันนักลงทุนต้องการกระจายความเสี่ยงมากขึ้น ในหลายสินทรัพย์ ข้ามประเทศ มีการผสมไปทั่วโลก จะทำอย่างไรให้นักลงทุนใหม่ ลงทุนน้อยได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องปรับแผนธุรกิจในปี 2565 เพื่อทำให้ตลาดทุนแข็งแรงขึ้น และมีความยืดหยุ่นในปี 2565-2567

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัว และเปิดโอกาสให้มีการทำงานร่วมกับพันธมิตรได้อย่างเต็มที่ เชื่อว่าจะสามารถสร้างโลกการลงทุนปัจจุบันควบคู่ไปกับโลกอนาคตได้อย่างไร้รอยต่อ ตอบโจทย์ทั้งผู้ออกหลักทรัพย์ ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน พร้อมเดินหน้าดูแลคนไทยผ่านความเปลี่ยนแปลงและเติบโตไปพร้อมกัน เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนของประเทศ” นายภากรกล่าว

ตลาดหลักทรัพย์มุ่งพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน 1.เชื่อมโยงโอกาสทุกภาคส่วน 2.พัฒนานวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกคนไว้วางใจ และ 3.ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการเงินเพื่อคนไทย

กลยุทธ์แรก การเชื่อมโยงโอกาสทุกภาคส่วน ด้วยการส่งเสริมการระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนครั้งแรก (IPO) ของบริษัทที่มีศักยภาพและการเติบโตสูง รวมถึงบริษัทจากต่างประเทศ มุ่งพัฒนาแหล่งระดมทุนสำหรับธุรกิจเพื่อสังคม เอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ด้วยการต่อยอดจาก LiVE Platform ไปสู่ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์” (LiVE Exchange) คาดว่าจะเปิดการซื้อขายภายในไตรมาส 1 ปี 2565 พร้อมยกระดับคุณภาพของบริษัท โดยการบ่มเพาะให้เป็น ESG Investment Stars สนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและเล็ก นำแนวคิดด้าน ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทที่อยู่ในดัชนีความยั่งยืนระดับโลก เพิ่มการเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายขึ้นด้วยกระบวนการเปิดบัญชีที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมผู้ลงทุนบุคคลใช้เทคโนโลยีช่วยในการซื้อขาย ตอบโจทย์ผู้ลงทุนรุ่นใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ใช้เงินลงทุนขั้นต่ำน้อย รวมทั้งเชื่อมโยงโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ อาทิ ETF DR DW และ Fractional Product ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ซื้อขายได้ต้นไตรมาส 3 ของปีนี้

ส่วนพัฒนานวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกคนไว้วางใจ คาดว่าจะเปิดให้บริการศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDX) ภายในไตรมาส 3 ปี 2565

สำหรับความสำเร็จในปี 2564 ตลาดหลักทรัพย์สร้างการเติบโตได้โดดเด่น มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของ  IPO ที่ 4.54 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 7 ในเอเชีย และอันดับ 18 ของโลก   นอกจากนี้ยังคงมีสภาพคล่องสูงสุดในอาเซียนต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2555 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 9.39 หมื่นล้านบาท การเปิดบัญชีของนักลงทุนหน้าใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 1.6 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นถึง 40% เทียบกับจำนวน 7 แสนบัญชีในปีก่อน ทำให้มีบัญชีซื้อขายหุ้นกว่า 5 ล้านบัญชี ส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการเปิดบัญชีโดยไม่ต้องเห็นหน้า และการระดมทุนในธุรกิจใหม่  นอกจากนี้ยังมีการการเชื่อมโยงสินค้าและผลิตภัณฑ์ตลาดทุนโลก เช่น DR และ DW วอร์แรนต์ การซื้อขายกองทุนก็ก้าวกระโดด 3.3 หมื่นรายการต่อวัน ทำให้การเข้าถึงกองทุนง่ายขึ้น

ส่วนความยั่งยืน บจ.ไทยมี 24 บริษัท ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ ( DJSI) สูงสุดในอาเซียนเป็นปีที่ 8 และ 11 บริษัทไทย ติดอันดับ Gold class ของ S&P Global สูงสุดของโลกใน

ส่วนการนำมาตรการแคชบาลานซ์ใหม่มาใช้ อาทิการหยุดการซื้อขานหุ้นที่ร้อนแรงเกินปกติ ปัจจุบันอยูาในชั้นตอนการพิจารณาของก.ล.ต.คาดว่าจะนำมาใช้ในไตรมาสแรกปีนี้ ส่วนกรณีกรมสรรพากรจะจัดเก็บภาษีขายหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องหลายครั้ง และสรุปข้อมูลส่งภาครัฐแล้ว

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในปี 2565 คาดว่าจะมี IPO เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนมูลค่าเท่าไรยังต้องประเมินอีกครั้ง  ปัจจุบันมีบริษัทยื่นมาแล้วอยู่ในการพิจารณา 20 เคส คาดจะทยอยออกมาในปีนี้  ตลาดเปิดโอกาสให้เข้าถึงตลาดทุนง่ายขึ้นและมากขึ้น มีการแก้กฎเกณฑ์ให้ทันกับสถานการณ์ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการไทย ภูมิภาคและโลก พร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย และครอบคลุมบริษัทในตลาต่างประเทศด้วยโดยคำนึงถึงความสมดุลในการับหลักทรัพย์กับความคุ้มครองนักลงทุน

ปัจจุบันนักลงทุนให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG ปีนี้จะผลักดันมากขึ้นเป็นพิเศษ ในรเรื่องการเปิดเผยข้อมูล และการทำความเข้าใจเรื่อง ESG และการนำเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจมากขึ้น  พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูลมากขึ้น เช้นการนำข้อมูลที่มีคุณค่านำไปใช้งาน  เข้าถึงได้ง่าย และนำข้อมูลนำกลับมาใช้ไหม  ตลาดหลักทรัพย์สามารถนำมาวิเคราะห์เชิงลึกขึ้น ในเรื่อง ESG เป็นการพัฒนาตลาดอย่างต่อเนื่อง