๐ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปมีสัญญาณฟื้นตัวจากการปรับฐานในช่วงก่อนหน้านี้ โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาส 3 ของกลุ่มการเงินและกลุ่มธนาคารที่ประกาศผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด
๐ นักวิเคราะห์คาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 โต 27.5%YoY ขณะที่ดัชนี STOXX600 ของยุโรปคาดโต 46.7%YoY
๐ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 จากเดิม 6.0% สู่ระดับ 5.9% สาเหตุจากความกังวลเรื่องของ Supply Chain Disruption
๐ GDP จีนในไตรมาสที่ 3 ขยายตัว 4.9% YoY ต่ำกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อยที่ 5.0%YoY แต่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว +7.9%YoY อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนในภาพรวมทั้งปี 2564 ยังเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
Highlighted Funds
MGF : เรามองว่าหุ้นเติบโตจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นคุณค่า ในช่วงกลางวัฏจักร (Mid-Cycle) และสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาด โดยเฉพาะหุ้นเติบโตที่มีคุณภาพดี (Quality Growth Stock) เนื่องจากหุ้นประเภทนี้จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง ขณะเดียวกันก็มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ
MRENEW : หุ้นในกลุ่มพลังงานสะอาดที่เป็นหนึ่งในธีมการลงทุนของกองทุนหลัก ราคาหุ้นได้มีการปรับตัวลง จนทำให้ปัจจุบันมี Valuation ที่น่าสนใจอีกครั้ง สังเกตได้จากค่า Forward P/E ของดัชนี S&P Global Clean Energy Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ที่ลงมาอยู่บริเวณค่าเฉลี่ยในรอบ 2 ปี
MEURO : นักวิเคราะห์คาดการณ์ ปี 2564 ตลาดหุ้นยุโรปจะมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) สูงกว่าภูมิภาคอื่น มีกำไรเติบโตสูงถึง 55%YoY นอกจากนี้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดย Relative Forward P/E ของดัชนี FTSE World Europe ex UK และดัชนี S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ -1S.D.
MCBOND : ตราสารหนี้ภาคเอกชนจีนยังมีอัตราผลตอบแทน (Yield) สูงกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ และมีความสัมพันธ์กับตราสารหนี้สหรัฐฯ ในระดับต่ำ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีหากเฟดเริ่มลดการอัดฉีดสภาพคล่อง ซึ่งกองทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เฉลี่ย BBB อยู่ในระดับ Investment Grade
Investment Strategy
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปมีสัญญาณฟื้นตัวจากการปรับฐานในช่วงก่อนหน้านี้ โดยได้แรงหนุนจากผลประกอบการไตรมาส 3 ของกลุ่มการเงินและกลุ่มธนาคารที่เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการออกมาเป็นกลุ่มแรก เช่น Bank of America, Morgan Stanley, Wells Fargo, Citigroup, และ JP Morgan ที่ประกาศกำไรออกมาดีกว่าคาดค่อนข้างมาก
สาเหตุจากการควบคุมต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัท และต้นทุนความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลง (Credit cost) โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 จะเติบโต 27.5%YoY ลดลงจากไตรมาส 2 ที่ 90.9%YoY
ขณะที่ดัชนี STOXX600 ของยุโรปคาดผลประกอบการโต 46.7%YoY ลดลงจาก 152.6%YoY ในไตรมาส 2
อย่างไรก็ตามกำไรที่ลดลงจากไตรมาส 2 เป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดไว้ก่อนหน้าแล้ว เราแนะนำให้ติดตาม Earning Surprise ว่ากำไรที่ประกาศออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหรือต่ำกว่าคาดมากน้อยแค่ไหน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 จากเดิม 6.0% สู่ระดับ 5.9% สาเหตุจากความกังวลเรื่องของ Supply Chain Disruption โดยการประชุมครั้งนี้ IMF ได้ปรับลด GDP ปี 2564 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วลงจากเดิมที่ 5.6% สู่ระดับ 5.2% นำโดยสหรัฐฯ ถูกปรับ GDP ลดลงจากเดิม 7.0% เหลือ 6.0% และญี่ปุ่นจากเดิม 2.8% เหลือ 2.4%
ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาถูกปรับ GDP เพิ่มขึ้นจากเดิม 6.3% สู่ระดับ 6.4% ซึ่งการปรับประมาณการของประเทศกำลังพัฒนาถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มระหว่างประเทศที่ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น เช่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ ที่ถูกปรับประมาณการ GDP เพิ่มขึ้น กับกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN 5) ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ที่ถูกปรับประมาณการ GDP ลดลงจากความล่าช้าในการเปิดประเทศ