Weekly Investment Strategy
4 ตุลาคม 2564
๐
ประเด็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่สูง กลับมากดดันภาพรวมการลงทุนในเดือน ต.ค. อีกครั้ง ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด
๐
รัฐบาลจีนออกคำสั่งให้ 19 มณฑลในประเทศจะต้องถูกตัดไฟฟ้าบางส่วน โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดปัญหา Supply Chain Disruption ออกไปทั่วโลก
๐
วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าของจีนจะกระทบธุรกิจในกลุ่ม Industrial ที่ต้องใช้พลังงานในกระบวนการผลิตแต่สำหรับธุรกิจพลังงาน การขาดแคลนไฟฟ้าจะหนุนการเติบโตของการใช้พลังงานสะอาด (Renewable Energy) ในอนาคต
๐
ประเด็นการอนุมัติกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ (Debt Ceiling) ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และมีกำหนดเส้นตายที่ต้องให้สมาชิกวุฒิสภาโหวตผ่านให้ทันภายในวันที่ 18 ต.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
Investment Strategy
ประเด็นเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่สูง กลับมากดดันภาพรวมการลงทุนในเดือน ต.ค. อีกครั้ง ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด สะท้อนจากความคาดหวังเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้แรงหนุนมาจากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าในประเทศจีน หลังจากที่รัฐบาลจีนออกคำสั่งให้ 19 มณฑลในประเทศจะต้องถูกตัดไฟฟ้าบางส่วน โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตเหล็ก อะลูมิเนียม สิ่งทอ และปิโตรเคมี ส่งผลให้เกิดปัญหา Supply Chain Disruption ออกไปทั่วโลก ทำให้การส่งมอบสินค้าล่าช้าออกไปไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง High Season และอาจลากยาวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็สร้างความกังวลต่อสถานการณ์เงินเฟ้ออีกทางหนึ่ง สะท้อนจาก Bloomberg Commodity Spot Index ที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งต้องจับตาผลการประชุมโอเปกพลัส ว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าการประชุมครั้งก่อนหน้าที่ 400,000 บาร์เรล/วัน หรือไม่ ขณะที่ประเด็นการอนุมัติกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐ (Debt Ceiling) ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และมีกำหนดเส้นตายที่ต้องให้สมาชิกวุฒิสภาโหวตผ่านให้ทันภายในวันที่ 18 ต.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ เรามองว่าประเด็นนี้อาจจะยืดเยื้อไปจนถึงกลางเดือน ต.ค. แต่สุดท้ายทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันจะสามารถตกลงกันได้ในที่สุด
"ในเชิงกลยุทธ์เรามองว่าการที่ตลาดปรับฐานจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และความเสี่ยงเรื่องการขยายเพดานหนี้ เป็นโอกาสการลงทุนในประเทศที่มีสัดส่วนของภาคการบริการที่สูงอย่างเช่นหุ้นสหรัฐฯและยุโรป สอดคล้อง Valuation ของหุ้น Big Tech ในสหรัฐฯ และยุโรปที่ลดความตึงตัวลงมาจากช่วงก่อนหน้านี้ เรามองว่าหาก Bond Yield ทรงตัวอยู่ที่บริเวณ 1.4%-1.6% ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปน่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ต.ค."
Highlighted Funds
MGF :
ในภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยหนุนให้หุ้นเติบโต อย่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าหุ้นกลุ่มวัฏจักร โดยเฉพาะหุ้นเติบโตที่มีคุณภาพดี (Quality Growth Stock) เนื่องจากหุ้นประเภทนี้จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง ขณะเดียวกันก็มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ
MRENEW :
หุ้นในกลุ่มพลังงานสะอาดที่เป็นหนึ่งในธีมการลงทุนของกองทุนหลัก ราคาหุ้นได้มีการปรับตัวลง จนทำให้ปัจจุบันมี Valuation ที่น่าสนใจอีกครั้ง สังเกตได้จากค่า Forward P/E ของดัชนี S&P Global Clean Energy Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ที่ลงมาอยู่บริเวณค่าเฉลี่ยในรอบ 2 ปี
MEURO :
นักวิเคราะห์คาดการณ์ ปี 2564 ตลาดหุ้นยุโรปจะมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) สูงกว่าภูมิภาคอื่น มีกำไรเติบโตสูงถึง 55%YoY นอกจากนี้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดย Relative Forward P/E ของดัชนี FTSE World Europe ex UK และดัชนี S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ -1S.D.
MCBOND :
ตราสารหนี้ภาคเอกชนจีนยังมีอัตราผลตอบแทน (Yield) สูงกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ และมีความสัมพันธ์กับตราสารหนี้สหรัฐฯ ในระดับต่ำ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีหากเฟดเริ่มลดการอัดฉีดสภาพคล่อง ซึ่งกองทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เฉลี่ย BBB อยู่ในระดับ Investment Grade