นางคริสติน ลาการ์ด ประกาศลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรที่ใช้ในช่วงวิกฤตโควิดตามโครงการ PEPP ซึ่งเป็นผลจากการที่เศรษฐกิจของยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวได้ดีและเร็วกว่าที่ ECB คาดไว้
อย่างไรก็ตาม ECB ไม่เรียกว่า “Tapering” เป็นแค่การปรับเปลี่ยน “Recalibrating” และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้ซื้อพันธบัตรมากขึ้นหรือน้อยลงหลังจากที่มีการทบทวนนโยบายอีกครั้งในการประชุมเดือน ธ.ค.
ตลาดกำลังเฝ้าติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ หลังจากที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 8.3%YoY ทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี
เรามองว่าหุ้นเติบโตขนาดเล็ก (Russell 2000 Growth Index) จะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีหลังจากนี้ เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวลงมาถึงจุดที่น่าสนใจอีกครั้ง
สัปดาห์ที่ผ่านมา นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรที่ประกาศใช้ฉุกเฉินในช่วงวิกฤตโควิดตามโครงการ PEPP (Pandemic Emergency Purchase Programme) เทียบเท่าได้กับ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยมีเป้าหมายในการลดวงเงินจากเดิมเข้าซื้อเฉลี่ยราว 80,000 ล้านยูโรต่อเดือน เหลือ 50,000 ล้านยูโรต่อเดือนซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของยุโรปมีทิศทางฟื้นตัวได้ดีและเร็วกว่าที่ ECB คาดไว้
อย่างไรก็ตามนาง คริสติน ลาการ์ด ก็ได้กล่าวว่าการลดปริมาณการซื้อพันธบัตรในครั้งนี้ไม่ใช่การทำ “Tapering” เป็นแค่การปรับเปลี่ยน “Recalibrating” เท่านั้น และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้ซื้อพันธบัตรมากขึ้นหรือน้อยลงหลังจากที่มีการทบทวนนโยบายอีกครั้งในการประชุมรอบเดือน ธ.ค.
นอกจากนี้ ECB ยังได้มีการปรับประมาณการ GDP ปี 2564 เพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ที่ 4.6% เป็น 5.0% ในการประชุมรอบนี้ และมองปรากฏการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นแค่เพียงเรื่องชั่วคราวจากปัจจัยราคาน้ำมัน Supply Disruption และภาคบริการที่พึ่งเริ่มเปิดทำการ โดยผลกระทบทั้งหมดน่าจะเริ่มทยอยลดลงในกลางปีหน้า ซึ่งจากท่าทีการสื่อสารที่มีทิศทางออกไปในโทน Dovish และมีความยืดหยุ่นของ ECB ในครั้งนี้ ส่งผลให้เรายังคงมุมมองบวกกับตลาดหุ้นยุโรปต่อเนื่องในปีนี้
ขณะที่ทางฝั่งสหรัฐฯ ตลาดกำลังเฝ้าติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ส.ค. ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) รายงานออกมาเพิ่มขึ้น 8.3%YoY ทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาด และส่งผลให้ Fed ต้องประกาศทำ QE Tapering อย่างเป็นทางการในการประชุมวันที่ 21-22 ก.ย. นี้ ซึ่งเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.
Highlighted Funds
MGF : ในภาวะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยหนุนให้หุ้นเติบโต อย่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าหุ้นกลุ่มวัฏจักร โดยเฉพาะหุ้นเติบโตที่มีคุณภาพดี (Quality Growth Stock) เนื่องจากหุ้นประเภทนี้จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง ขณะเดียวกันก็มีกำไรและรายได้เติบโตสม่ำเสมอ
MRENEW : หุ้นในกลุ่มพลังงานสะอาดที่เป็นหนึ่งในธีมการลงทุนของกองทุนหลัก ราคาหุ้นได้มีการปรับตัวลง จนทำให้ปัจจุบันมี Valuation ที่น่าสนใจอีกครั้ง สังเกตได้จากค่า Forward P/E ของดัชนี S&P Global Clean Energy Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด ที่ลงมาอยู่บริเวณค่าเฉลี่ยในรอบ 2 ปี
MEURO : นักวิเคราะห์คาดการณ์ ปี 2564 ตลาดหุ้นยุโรปจะมีการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) สูงกว่าภูมิภาคอื่น มีกำไรเติบโตสูงถึง 55%YoY นอกจากนี้ Valuation ของตลาดหุ้นยุโรปยังถูกเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดย Relative Forward P/E ของดัชนี FTSE World Europe ex UK และดัชนี S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ -1S.D.
MCBOND : ตราสารหนี้ภาคเอกชนจีนยังมีอัตราผลตอบแทน (Yield) สูงกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ และมีความสัมพันธ์กับตราสารหนี้สหรัฐฯ ในระดับต่ำ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีหากเฟดเริ่มลดการอัดฉีดสภาพคล่อง ซึ่งกองทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้เฉลี่ย BBB อยู่ในระดับ Investment Grade