การฉีดวัคซีนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และควบคุมโรคติดต่อ หากไม่ได้รับวัคซีนมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ดังนั้นเราควรจะป้องกันไว้ก่อน (ดีกว่าที่จะสายเกินแก้)…ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนจำนวนมากที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เวลานี้ วัคซีนที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานเร่งให้ความสำคัญกับวัคซีนโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงการทำประกันภัยเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามยังมีวัคซีนอีกจำนวนมากที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้างถึงจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
1. วัคซีนป้องกันโรคโควิด–19 นับว่าเป็นวัคซีนที่ปัจจุบันนี้ทุกคนต้องให้ความสำคัญและมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่รอการรับวัคซีนอยู่ ซึ่งอย่างไรก็ตามระหว่างการรอรับวัคซีนสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติ คือ การป้องกันโรคภัยอย่างเคร่งครัดทุกครั้งเมื่ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน
2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) ควรฉีดวัคซีนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
3. วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine)แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ป่วยที่ตัดม้าม ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
4. วัคซีนงูสวัด(Zoster vaccine) แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงสุด ผู้ป่วยที่มีอายุ 50 – 59 ปี ที่มีความประสงค์จะรับวัคซีนนี้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก แนะนำฉีดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ
5. วัคซีนเอชพีวี (HPV) เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถป้องกันได้ร้อยละ 70-90
6. วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน/บาดทะยัก-คอตีบ (Tdap/Td) เข็มรวมผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อการป้องกันโรคทั้ง 3 ชนิดนี้ โดยฉีดวัคซีน บาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน(Tdap) 1 ครั้งในวัยผู้ใหญ่ หลังจากนั้นฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ (Td) ทุก 10 ปี
7. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ย่อว่า MMR) ในผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ควรได้รับวัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง หญิงวัยเจริญเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน ควรได้รับวัคซีนหัดเยอรมันหรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูมอย่างน้อย 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 3 เดือนหลังฉีดวัคซีน
การหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตลอดจนหมั่นมาตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงค่อยมาพบแพทย์เพื่อรักษาในวันที่สายเกินไป แต่เพื่อป้องกันเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจจะบานปลายสามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทุกการรักษาได้อย่าง ประกัน ประกันสุขภาพ Health Extra และ ประกันสุขภาพเต็มเต็ม จากซมโปะ