SUPER เผยก.ล.ต.อนุมัติเกณฑ์ IFF ใหม่ ดีเดย์ 1ก.ย.นี้ เล็งยื่นจัดตั้งกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ พร้อมวางเป้ารายได้ปี 61 โตก้าวกระโดด หลังประกาศเดินหน้าขยายการลงทุนทั้งในประเทศ-ต่างประเทศสร้างผลตอบแทนที่ดีให้ผู้ถือหุ้น แจงงบไตรมาส 2/61 รายได้ 1.43 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 342 ล้านบาท
นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ SUPER เปิดเผยว่า การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์) นั้น ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติและประกาศการแก้ไขกฎเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 โดยมีผลในวันที่ 1 กันยายน 2561 นี้ ซึ่งคาดว่า SUPER จะสามารถยื่นไฟลิ่งในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้ภายในเร็วๆนี้ โดยมีธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ในเบื้องต้นบริษัทฯ มีแผนให้โซลาร์ฟาร์มขนาด 118 เมกะวัตต์ ซึ่งSUPER ถือหุ้นราว 10-15%ขายสินทรัพย์เข้ากองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปชำระหนี้ และรองรับการขยายงานในอนาคต
” การจัดตั้งกองทุน IFF ที่ผ่านมาเรา ทำงานกับทุกส่วนที่กี่ยวข้องทั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ,ที่ปรึกษากฏหมาย และบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม โดยปัจจุบันสำนักงานก.ล.ต. ในได้อนุมัติและประกาศการแก้ไขเกณฑ์เรื่องการจัดตั้งกองทุนแล้ว ดั้งนั้นตามกระบวนการน่าจะยื่นไฟลิ่งในเร็วๆนี้ อย่างแน่นอน ” จอมทรัพย์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส2/2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,439,720 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวม 342.044 ล้านบาท โดยไตรมาสดังกล่าวบริษัทฯ มีรายได้หลักมาจากโซลาร์ฟาร์ม ขณะเดียวกันยังเริ่มรับรู้รายได้บางส่วนจากโครงการโรงไฟฟ้าขยะ จ.สระแก้ว เข้ามาช่วยสนับสนุนอีกด้วย อย่างไรก็ตามในไตรมาส 3/2561 จะมีรายได้จากโรงไฟฟ้าขยะ เข้าเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ และยังถือว่าจากนี้ SUPER จะมีรายได้พลังงานทดแทนด้านขยะ นอกเหนือจากโซลาร์เซลล์อย่างเดียว
อย่างไรก็ตามSUPER ยังคงดำเนินธุรกิจตามแผนงานที่วางไว้เพื่อสร้างรากฐานและรายได้ที่มั่นคง และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือ ขณะเดียวกันเร็วๆ นี้จะเห็นโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ (SPP Hybrid Firm )อีกจำนวน 30 เมกะวัตต์ ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้จะทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 /ของปี2561 นี้พร้อมจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีที่ติดตั้งเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 4-5 เดือน ส่วนการลงทุนในตลาดต่างประเทศ ยังเดินหน้าศึกษารายละเอียดในการขยายการลงทุนทั้งในรูปแบบลงทุนเองและร่วมลงทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นในประเทศ
ทั้งนี้เป้าหมายรายได้คาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 25% จากปีก่อน ส่วนปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังผลิตไฟฟ้าในประเทศที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วราว 802.1 เมกะวัตต์ (MW) โดยCOD แล้ว 749.60 เมกะวัตต์ ส่วนโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 3 แห่ง กำลังผลิตรวมราว 30 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะ COD ได้ในปี 2562-2563 , โซลาร์ฟาร์มสหกรณ์ ระยะที่ 2 ราว 28 เมกะวัตต์ COD ในปี 2561, การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm จำนวน 32 เมกะวัตต์ COD ในปี 2564 ขณะที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม อีก 700 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดและรูปแบบการลงทุนและรูปแบบการพัฒนา โดยจะทยอย COD ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เริ่มตั้งแต่ ปลายปลายปี 2562 เป็นต้นไป