SCBAM : “Fed มีท่าที Hawkish ขึ้นมากกว่าตลาดคาด”

• ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจาก Fed มีทิศทางนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้น เป็นผลมาจากความกังวลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงข้ึนอย่างรวดเร็ว โดยคณะกรรมการได้เริ่มหารือถึงแผนการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) ซึ่งแนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นนี้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Dol ar index) แข็งค่าขึ้นและเป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ตลาดโดยรวมยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ เนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน โดยล่าสุดประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรปมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนถึง 52.23% และ 44.76% ของจำนวนประชากรทั้งหมดตามล าดับ ขณะท่ีประเทศภูมิภาคเอเชียไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ฉีดไปแล้ว 24.51%, 15.23%, 15.06% และ 7.09% ตามลำดับ

• Fed คงนโยบายการเงินเดิมตามคาด แต่มีท่าที Hawkish ขึ้นมากกว่าตลาดคาด แม้คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ในคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด แต่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Dot plots) ถูกปรับขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนที่ Fed ส่งสัญญาณจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบัน (0-0.25%) ไปจนถึงสิ้นปี 2023 มาเป็นคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยถึงสองครั้งเป็น 0.5-0.75% ณ สิ้นปี 2023 ประกอบกับคณะกรรมการได้เริ่มปรึกษาถึงการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) ซึ่งตลาดคาดว่า Fed อาจส่งสัญญาณ QE Taper เบื้องต้นในการประชุม Jackson Hole Symposium วันที่ 26-28 ส.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมของ FOMC ในวันที่ 21-22 ก.ย. และคาดจะเริ่มลดจริงในช่วงต้นปี 2022

• ยอดผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ (Initial Jobless Claims) เพิ่มขึ้น 3.7 หมื่นราย เป็น 4.12 แสนราย ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 มิ.ย. อย่างไรก็ดี คาดว่าตลาดแรงงานยังมีแนวโน้มฟ้ืนตัวต่อเนื่อง ตามการเปิดทำการของภาคธุรกิจและภาคการบริการ หลังการแจกจ่ายวัคซีนเป็นวงกว้างมากขึ้น

• ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ของสหรัฐฯ พลิกกลับมาหดตัวที่ -1.3% MoM แย่กว่าที่ตลาดคาดที่ -0.8% MoM จากตัวเลขเดือนก่อนที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายในภาคบริการ เช่น ท่องเท่ียวและสถานบันเทิงมากขึ้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวไม่ได้นับรวมการในหมวดยอดค้าปลีก

• ปรับคำแนะนำจากเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็นคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบจากเรื่องการแพร่ระบาด COVID-19 อยู่ อีกทั้งการฉีดวัคซีนในประชาชนหมู่มากได้ถูกเลื่อนออกไป ทำให้การเกิดภาวะภูมิคุ้มกันหมู่อาจช้าออกไปกว่าที่คาด

• ปรับคำแนะนำจากคงน้ำหนักการลงทุนเป็นเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเกาหลี จากราคา Semiconductors มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ภาคการส่งออกโดยเฉพาะด้าน Semiconductors ได้รับผลเชิงบวก อีกทั้งความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแผนการเปิดประเทศ เป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดตราสารทุน

ตลาดหุ้นไทย : ปรับคำแนะนำ “จากเพิ่มน้ำหนักการลงทุน” เป็น คงน้ำหนักการลงทุน
ตลาดหุ้นเกาหลี : ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน
ตลาดหุ้นจีน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares และหุ้นจีน H-Shares”
ตลาดหุ้นยุโรป : แนะนำ “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”

ตลาดตราสารหนี้
ตราสารหนี้ไทย : แนะนำลงทุน SCBFP
ตราสารหนี้ต่างประเทศ : แนะนำ “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ใน SCBUSHY” และ แนะนำลงทุนใน SCBFIN

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : ปรับคำแนะนำจาก “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” เป็น “คงน้ำหนักการลงทุน
น้ำมัน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
อสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน : ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBPIN