SCBAM : ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าคาด

• ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ เนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน โดยล่าสุดประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรปมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนถึง 51.45% และ 42.36% ของจำนวนประชากรทั้งหมดตามลำดับ ขณะที่ประเทศภูมิภาคเอเชียไม่ว่าจะเป็นอินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทยฉีดไปแล้ว 13.86%, 19.10%, 12.04% และ 5.26% ตามลำดับ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ภาคธุรกิจกลับมาเปิดทำการตามปกติได้มากขึ้น แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นแต่การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากปัจจัยชั่วคราว ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ลดลงต่อมาอยู่ที่ระดับ 1.4% อีกทั้งการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจในช่วงนี้อาจทำไปสู่การลดการอัดฉีดสภาพคล่องของ FED ในระยะถัดไป

• อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) เดือน พ.ค. ของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. เร่งตัวขึ้นเป็นระดับ 5.0% YoY จาก 4.2% ในเดือนก่อนหน้า นับว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2008 และเป็นผลมาจากฐานต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกิดการระบาดรุนแรงของ COVID-19 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อโดยหลักยังเป็นผลจากราคาในหมวดที่เกี่ยวเน่ืองกับการเปิดเศรษฐกิจ (Reopening) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม และเสื้อผ้า

• ตัวเลขการส่งออกของจีนเดือน พ.ค. ชะลอตัวลง โดยตัวเลขเดือน พ.ค. ขยายตัวที่ระดับ 27.9% YoY แต่ชะลอตัวลงจากระดับที่ 32.3% ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศตะวันตกชะลอตัวลง เช่น สหรัฐฯ และประเทศฝั่งทวีปยุโรป ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียยังขยายตัวดีต่อเน่ือง ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกไป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศแถบ ASEAN ซึ่งมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการ Work From Home ทั้งสินค้าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือน

• การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงนโยบายผ่อนคลายตามคาดการณ์ ล่าสุดในการประชุมวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ECB ยังคงมีมติที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม -0.50% และคงการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านโครงการ PEPP โดยเป้าวงเงินการเข้าซ้ือยังคงเข้าซ้ือที่ 1.85 แสนล้านยูโรจนถึงเดือน มี.ค. 2565 เป็นอย่างน้อย อีกทั้งคณะกรรมการยังคงระบุพร้อมปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่มีตามความเหมาะสม เพื่อหนุนให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน และยังปรับประมาณการเศรษฐกิจ GDP ปีนี้ เพิ่มขึ้นจากเดิม 0.6% มาอยู่ที่ระดับ 4.6%

• ปรับคำแนะนำจากเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็นคงน้ำหนักการลงทุนในทองคำ ขายทำกำไรจากราคาทองคำปรับขึ้นมาในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. เร่งตัวขึ้นเป็นระดับ 5.0% YoY จาก 4.2% ในเดือนก่อนหน้า อีกทั้งอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวสหรัฐฯ อายุ 10 เริ่มมีแนวโน้มปรับลดลงจาก 1.6% มาอยู่ที่ช่วงกรอบประมาณ 1.4-1.5% นอกจากนี้ยังควรจับตาการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและท่าทีของธนาคารกลาง FED ที่เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดสภาพคล่อง (QE taper) ในระยะข้างหน้าจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดตราสารทุน

ตลาดหุ้นไทย : แนะนำ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน"
ตลาดหุ้นเกาหลี : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นจีน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares และหุ้นจีน H-Shares”
ตลาดหุ้นยุโรป : แนะนำ “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดตราสารหนี้
ตราสารหนี้ไทย : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตราสารหนี้ต่างประเทศ : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน ใน SCBUSHY” และ แนะนำลงทุนใน SCBFIN

สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ : ปรับคำแนะนำจาก "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน" เป็น "คงน้ำหนักการลงทุน"
น้ำมัน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
อสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน : ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น “เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBPIN