KTAM Focus : ห้ามคิดถึงกบ

โดย…ณัฏฐะ มหัทธนา
ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์ บลจ.กรุงไทย

 
 
ถ้าอยู่ดีๆมีคนมาบอก “ห้ามคิดถึงกบ” สิ่งแรกที่คุณนึกถึงคืออะไร? ใช่แล้ว…กบ

“อย่าเพิ่งคิดเรื่องเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหรือลด QE เร็วๆนี้” ดูเหมือนเป็นความเชื่อเรื้อรังฝังอยู่ในศีรษะของนักลงทุนจำนวนมาก กระตุ้นให้กล้าเดินหน้าซื้อไล่ราคาหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงจนวิ่งทะลุสารพัดแนวต้าน แข่งกันทำจุดสูงสุดใหม่แทบไม่เว้นแต่ละวันมาหลายเดือนแล้ว

แม้เฟดยืนยันท่าทีผ่อนคลายสุดขั้วต่อไป ตาม forward guidance ล่าสุด “จนกว่าการจ้างงานและเงินเฟ้อฟื้นตัวดีขึ้นมาก” แต่รายงานการประชุม FOMC เดือน ธ.ค. ส่งสัญญาณชัดเจนว่า คณะกรรมการ “หลายคน” กำลังครุ่นคิดถึงวิธีลด QE ในอนาคต โดยอาจดำเนินตามแนวทางที่เคยใช้ในปี 2013-2014

หลังตัวชี้วัดในตลาดบอนด์สะท้อนความคาดหวังเงินเฟ้อระยะยาวทะลุ 2% ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนปี สังเกตได้ว่าคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่เฟดระยะนี้ บางคนพูดแบบสะท้อนอารมณ์ “ห้ามคิดถึงกบ” เช่น Patrick Harker ประธานสาขาฟิลาเดลเฟีย “ไม่เห็นว่าจะมีการถอน QE ในอนาคตอันใกล้” แต่ก็กล่าวว่า “เป็นไปได้ที่จะทำปลายปีนี้-ต้นปีหน้า” สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของ Loretta Mester จากคลีฟแลนด์ ส่วนประธานสาขาแอตแลนตา Raphael Bostic ขู่ชัดๆ “เฟดอาจลด QE เร็วกว่าที่คาดไว้” ขณะบางคนพูดถึงตัวแปรที่กำลังจับตาเพื่อตัดสินใจถอนนโยบายผ่อนคลาย

เราเริ่มต้นปี 2021 อย่างระมัดระวัง เน้นตุนสภาพคล่องไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเช่น KTSTPLUS เพื่อหาโอกาสลงทุนใหม่ๆ …ควรมีกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต? ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการ “เตรียมพร้อม” ของแต่ละบุคคล

สินทรัพย์เสี่ยงที่เลือกไว้ลุยต่อ
KT-Ashares #ตัวท็อปแห่งทศวรรษใหม่ ตลาด onshore ขึ้นกับสตอรี่ในจีนเป็นหลัก ปัจจัยมหภาคระดับโลกกระทบน้อย

KT-CHINA #แชมป์ใหม่ offshore เปิด upside รับโอกาสฟื้นคืนชีพของหุ้นเทคจีนอย่างสบายใจด้วย master fund สไตล์ยืดหยุ่น ปรับตัวว่องไว แสวงหาการลงทุนดีๆทั้ง new economy และ old economy อย่างลงตัว

KT-WTAI #เป็นมากกว่าหุ้นเทค มิใช่แค่อยากได้ top-10 holdings (Tesla, Roku ฯลฯ) แต่กองทุนนี้มีไว้โกยพลังการเติบโตของ AI อันเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยี megatrends ซึ่งอาจแฝงอยู่ในหุ้นกลุ่มใดก็ได้

KT-PIF #ม้ามืด2021 อสังหาฯปีที่แล้วแย่ คนส่วนใหญ่ยังเมินเพราะโควิดระบาดใหม่ เข้าข่าย “ม้ามืด” มีโอกาสสร้างเซอร์ไพรส์ใหญ่ระดับปรากฏการณ์ หากเงินจำนวนมหาศาลในตลาดตราสารหนี้เริ่มทนไม่ไหวกับผลตอบแทนต่ำสุดขั้ว แล้วพากันอพยพโถมกระหน่ำเข้าใส่ REITs & Property Funds ซึ่งยีลด์สูงกว่ามากแถมอนาคตการเติบโตสดใสขึ้นเพราะมีวัคซีน …ระยะนี้จึงเป็นจังหวะสะสม KT-PIF เพื่อเสริมความแตกต่าง มีให้เลือกทั้ง “สะสมมูลค่า” และ “จ่ายเงินปันผล”

“ห้ามคิดถึงกบ” ข้อสังเกตดังกล่าวตอนต้นเผยความเสี่ยงที่เฟดอาจถอนมาตรการผ่อนคลายเร็วขึ้น หรือถ้าพูดให้ถูกต้องตรงกว่านั้นคือ “ตลาดอาจเริ่มกังวลเรื่องเฟดกำลังคิดแผนลด QE” จึงควรเติมเครื่องมืออีกสักตัวเข้าพอร์ตเพื่อเตรียมพร้อมเผชิญปัจจัยนี้ KT-JAPAN น่าได้ประโยชน์หากตลาดปรับมุมมองส่งผลให้ดอลลาร์หยุดอ่อนและเงินเยนหยุดแข็งค่า หุ้นญี่ปุ่น small cap ซึ่งกองทุนหลักเน้นก็ยังถูกมากเป็น laggard ล้าหลังหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งวิ่งนำไปก่อน แถมจุดเข้าช่วงนี้น่าสนใจเพราะญี่ปุ่นเพิ่งเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมโควิด ดังนั้นระยะถัดไปพอจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงก็คงผ่อนคลายมาตรการ แล้วลุ้นกันว่าจะจัดโอลิมปิกโตเกียวตามกำหนดเดือน ก.ค. ได้หรือไม่? นอกจากนี้ เงินเยนเป็นหนึ่งในสกุลหลัก (major currencies) ที่ใช้กันทั่วโลก BOJ จึงพิมพ์ออกมาได้ไม่อั้น รัฐบาลญี่ปุ่นกู้ยืมดอกเบี้ยใกล้ 0% เอาไปใช้จ่ายสบายๆแจกกระจายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยสเกลใหญ่มหึมาไม่แพ้ยุโรปหรือสหรัฐ KT-JAPAN จึงเป็นการลงทุนในตลาดที่ไม่ขาดสตอรี่ดูแล้วมี upside ซื้อหาได้ ณ ราคาเบาๆในยุค new normal ซึ่งหุ้นหลายตลาดแพงขึ้นมาก

ใครอยากได้ “กองเดียวจบ” มีผู้จัดการกองทุนดูแลพอร์ตจัดสินทรัพย์ให้ก็พิจารณา 4 กองทุนผสมระดับ flagships ตั้งใจบริหารเชิงรุกเพื่อผลิตผลตอบแทนขณะรักษาเสถียรภาพพอร์ตได้อย่างน่าประทับใจ ผ่านช่วงผันผวนทั้งขาลงและขาขึ้นได้เป็นอย่างดี ภายใต้กลยุทธ์ที่เหนือกว่าด้วยความ “ยืดหยุ่น” และ “หลากหลาย” ในการบรรจงเลือกเครื่องมือลงทุน ตลอดจนปรับสัดส่วนของแต่ละ asset classes ประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยมั่งคั่ง กองทุนเปิดกรุงไทยมีทรัพย์ กองทุนเปิดกรุงไทยศรีสิริ และ กองทุนเปิดกรุงไทยสุขใจ หรือเรียกรวมกันว่า มั่ง มี ศรี สุข ผู้ลงทุนสามารถเลือก 1 จาก 4 กองทุนตามระดับความผันผวนที่รับได้ โดยแต่ละกองทุนมี 2 ชนิด “สะสมมูลค่า” และ “จ่ายเงินปันผล”


คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน