การเงินธนาคาร ยกให้ “อาทิตย์” เป็น นักการเงินแห่งปี 2560

อาทิตย์ นันทวิทยา รับรางวัลนักการเงินแห่งปี 2560 ธนาคารกรุงเทพ ครองธนาคารแห่งปี 2561 ธนาคารออมสิน คว้าธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2561 ด้านบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย-บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ-บมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส ขณะที่ บล.บัวหลวง นั่งบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 พร้อมด้วย 9 กองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2561

นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร เปิดเผยว่า วารสารการเงินธนาคาร จัดงานมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2018 ขึ้นในปีนี้เป็นปีที่ 11 เพื่อยกย่องผู้บริหาร ธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมในรอบปี

สันติ วิริยะรังสฤษฎ์

นายสันติกล่าวว่า รางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2018 มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนความสำเร็จของธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทจดทะเบียนให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม นอกจากจะเป็นการให้กำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว ยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมบุคลากร องค์กรภาครัฐและเอกชน ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและสร้างรากฐานความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจการเงินของประเทศได้อย่างมั่นคง

โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเกียรติยศ Money & Banking Awards 2018

1. รางวัลนักการเงินแห่งปี 2560 Financier of the Year 2017 เป็นรางวัลที่มอบให้กับนายธนาคาร และนักการเงินที่มีผลงานโดดเด่น มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้า มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และทำคุณประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ได้แก่ นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

2. รางวัลธนาคารแห่งปี 2561 Bank of the Year 2018 เป็นรางวัลที่มอบให้กับธนาคารที่มีผลประกอบการรวมยอดเยี่ยมที่สุดในรอบปี ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

3. รางวัลธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2561 Best Retail Bank of the Year 2018 เป็นรางวัลที่วารสารการเงินธนาคาร ร่วมกับ สวนดุสิตโพล ทำการสำรวจผู้เข้าชมงานและสมัครใช้บริการทางการเงินในงานมหกรรมการเงิน Money Expo ที่มีความชื่นชอบในบริการทางการเงิน และตัดสินใจเลือกใช้บริการมากที่สุดในงานทั้ง 6 ครั้งตลอดปี

o ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยแห่งปี 2561 Best Retail Bank of the Year 2018 ได้แก่ ธนาคารออมสิน

 ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยม ด้านเงินฝาก 2561 ได้แก่ ธนาคารออมสิน
 ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยม ด้านสินเชื่อบ้าน 2561 ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
 ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยม ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอี 2561 ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยม ด้านสินเชื่อบุคคล 2561 ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
 ธนาคารที่มีบริการยอดเยี่ยม ด้านบัตรเครดิต 2561 ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

4. รางวัลบริษัทจดทะเบียนยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 Best Public Company of the Year 2018 เป็นรางวัลที่มอบให้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีผลประกอบการรวมยอดเยี่ยมในรอบปี

o บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มเทคโนโลยี 2561 ได้แก่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 2561 ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มธุรกิจการเงิน 2561 ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มทรัพยากร 2561 ได้แก่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 2561 ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 2561 ได้แก่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
 บริษัทยอดเยี่ยม กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 2561 ได้แก่ บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)

o บริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ได้แก่ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

5. รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 Best Securities Company of the Year 2018 เป็นรางวัลที่มอบให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่มีผลประกอบการรวมยอดเยี่ยมในรอบปี ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

6. รางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2561 Best Mutual Fund of the Year 2018 เป็นรางวัลที่มอบให้กับกองทุนรวมแต่ละประเภท ที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในรอบปี ดังนี้

o กองทุนตราสารหนี้
กลุ่มที่ 1 กองทุนสะสมทรัพย์ ตราสารหนี้ (Money Market)
ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
กลุ่มที่ 2 กองทุนตราสารหนี้ทั่วไป (Fixed Income General)
ได้แก่ กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล (แฟม) ตราสารหนี้ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด

o กองทุนตราสารทุน
กลุ่มที่ 3 กองทุนตราสารทุน หุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large)
ได้แก่ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มเซ็ท 50 บลจ.วรรณ จำกัด
กลุ่มที่ 4 กองทุนตราสารทุนทั่วไป (Equity General)
ได้แก่ กองทุนเปิดเค Mid Small Cap หุ้นทุน บลจ.กสิกรไทย จำกัด

o กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กลุ่มที่ 5 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตราสารหนี้ (RMF Fixed Income)
ได้แก่ กองทุนธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ บลจ.ธนชาต จำกัด
กลุ่มที่ 6 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตราสารทุน (RMF Equity)
ได้แก่ กองทุนเปิดภัทรหุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ บลจ.ภัทร จำกัด

o กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กลุ่มที่ 7 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด

o กองทุนต่างประเทศ (FIF)
กลุ่มที่ 8 กองทุนตราสารทุนโลก (Global Equity)
ได้แก่ กองทุนเปิดทหารไทย World Equity Index บลจ.ทหารไทย จำกัด
กลุ่มที่ 9 กองทุนจัดสรรสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation)
ได้แก่ กองทุนเปิดยูไนเต็ด อินคัม โฟกัส ฟันด์ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด