SCBAM : FED ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ดอกเบี้ยนโยบายจะยังต่ำเป็นเวลานาน

• ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายทางการเงินที่มีแนวโน้มผ่อนคลายกว่าเดิม หลังจาก Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน โดยจะปล่อยให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นเหนือระดับ 2% ส่งผลให้ดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นระยะเวลานาน และแม้ความตึงเครียดเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนกลับมาตึงเครียดอีกครั้งหลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศขึ้น บัญชีดำกับบริษัทจีน 24 แห่งเนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีส่วนร่วมให้หน่วยงานทหารของจีนในการก่อสร้างและมีกิจกรรมทางทหารใน “ทะเลจีนใต้” แต่จากการเจรจาเรื่องความคืบหน้าข้อตกลงการค้า Phase 1 ล่าสุด จีนได้ทำตามข้อตกลงไปแล้วบางส่วน จึงช่วยบรรเทาความตึงเครียดได้บ้าง

• Fed จะมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อจากเดิมที่กำหนดเป้าเงินเฟ้อ “ขยายตัว 2%” เป็น “ขยายตัวเฉลี่ย 2%” ส่งผลให้ Fed จะยังไม่จำเป็นต้องลด QE และ/หรือ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในทันทีที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกิน 2% เพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ต่ำกว่าเป้ามาโดยตลอดหลายปีทำ ให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นระยะเวลานาน และนโยบายการเงนในอนาคตมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นกว่าเดิม เป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นกว่าเดิมเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก ท่ามกลางแรงกดดันจาก COVID-19 ที่ยืดเยื้อ

• ดัชนี Composite PMI เบื้องต้นเดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีกว่าคาด ขณะที่ยูโรโซนปรับลดลงสวนกับที่คาด และญี่ปุ่นยังคงอยู่ในเกณฑ์หดตัว โดยดัชนีสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.4 จุด เป็น 54.7 จุด จากการปรับเพิ่มขึ้นของทั้งภาคการผลิตและบริการ ประกอบกับดัชนีย่อยการจ้างงาน (Employment) ฟื้นตัวขึ้นกลับเข้าสู่เกณฑ์ขยายตัวอีกครั้ง ดัชนียูโรโซนปรับตัวลดลง -3.3 จุด เป็น 51.6 จุด สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นต่อเป็น 55.0 จุด เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เร่งตัวขึ้น ทำให้หลายๆประเทศในยูโรโซนเริ่มกลับมาใช้มาตรการคุมเข้มอีกครั้ง ขณะที่ดัชนีญี่ปุ่น ทรงตัวที่ 44.9 จุด ซึ่งยังคงอยู่ในภาวะหดตัว สะท้อนโมเมนตัมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงอ่อนแอจากยอดคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ยังคงอ่อนแออย่างมาก

• ผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ ชะลอลงเล็กน้อยเป็น 1.0 ล้านราย ตามที่ตลาดคาด ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ส.ค. นับเป็นการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวดังกล่าวเริ่มแผ่วลงท่ามกลาง COVID-19 ที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลให้ภาคธุรกิจยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องกลับมาว่าจ้างให้เท่ากับระดับปกติ