บล.หยวนต้าชอบ TOP-SPRC-PTTGC-IVL ไม่ต้องรีบช้อน

HoonSmart.com>>บล.หยวนต้าวิเคราะห์กลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรเคมีน่าสนใจกว่า PTT-PTTEP  แต่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาในไตรมาส 2  เกือบ 50% แล้ว หาจังหวะรอเข้าลงทุนอ่อนตัว

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คงน้ำหนักกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีเท่ากับตลาด และน่าสนใจกว่ากลุ่มต้นน้ำ เนื่องจากขาดทุนสต็อกน้ำมันจำนวนมากไม่เกิดขึ้นซ้ำ  อุป
สงค์น้ำมันฟื้นตัวจากการทยอยเปิดเมือง โรงกลั่น TOP,SPRC, IRPC ซึ่งมีสัดส่วนการใช้น้ำมันดิบจากตะวันออกกลางราว 60-70% จะได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมัน ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาส 2 ส่วนกลุ่มต้นน้ำ PTT และ PTTEP จะไม่โดดเด่น เพราะราคาน้ำมันซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักยังอยู่ระดับต่ำ

“ชอบ TOP,SPRC, PTTGC และ IVLให้ราคาเหมาะสม 50 บาท 6.80 บาท 48 บาทและ 30 บาทตามลำดับ แต่ในไตรมาส 2 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นขึ้นมาเฉลี่ย 49%สูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ Upside gain ไม่ สูงนัก และราคาน้ำมันที่บวก 36% ถือว่าสะท้อนการฟื้นตัวของกำไรที่เด่นกว่ากลุ่มฯ ไปบ้างแล้ว และระยะสั้นมีผลเชิงลบจากสถานการณ์สงครามการค้าที่เปราะบาง เชิงกลยุทธ์แนะนำนักลงทุนยังไม่ต้องรีบเข้าลงทุน โดยอาจหาจังหวะ เข้าลงทุนช่วงหุ้นอ่อนตัว “บล.หยวนต้าระบุ

ภาพรวมปีนี้ยังเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายของกลุ่มฯ แต่น่าจะผ่านช่วงเลวร้ายที่สุดไปแล้วในเดือนเม.ย. (ยกเว้นสงครามการค้า และการแพร่ระบาดรอบ 2 เกิดขึ้นอีกครั้ง) แนวโน้มไตรมาสที่ 2/2563 ผลกระทบจากการปิดเมือง จะกดดันตลาดน้ำมันหดตัว ครึ่งปีหลังตลาดจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการทยอยเปิดเมือง และการปรับลดปริมาณผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ ปริมาณสต็อกน้ำมันที่อยู่ระดับสูง และภาวะ Contango ที่ไม่รุนแรงแล้ว นับตั้งแต่ต้นปี 2563 ราคาน้ำมันดิบ WTI Brent Dubai ปรับตัวลงเฉลี่ย 46% โดยเฉพาะเดือนมี.ค.-เม.ย. ไม่สมดุลอย่างมาก และทรุดหนักจนถึงขั้นติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ม

สำหรับผลประกอบการของโรงกลั่น-ปิโตรเคมี 10 บริษัทที่ศึกษา (ไม่รวมโรงไฟฟ้า) น่าจะต่ำที่สุดในไตรมาส 1 ขาดทุน 2.3 หมื่นล้านบาท หดตัวเป็นไตรมาสที่ 5 และขาดทุนครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/2558 แต่ถือว่าใกล้เคียงกับที่คาด บริษัทที่กำไรเติบโต ได้แก่ BANPU,GGC, IVL โดยสาเหตุหลักมาจากปัจจัยเฉพาะตัว คงประมาณการกำไรปี 2563 หดตัว -38% จากปี 2562

ไตรมาส 1 BANPU มีกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก GGC ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันปาล์มที่พุ่งขึ้น และนโยบายน้ำมันดีเซล B10 ของรัฐบาล และ IVL เติบโตจากการเข้าซื้อกิจการ ซื้อสินทรัพย์ของ Huntsman และมีกำไรจากการต่อรองซื้อกิจการ 2 พันล้านบาท

ส่วนโรงกลั่น และปิโตรเคมีที่หดตัว รวมถึงการพลิกเป็นขาดทุนสุทธิ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ดิ่งลงอย่างหนักราว 37 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากต้นปี ทำให้มีผลขาดทุนสต็อกน้ำมันรวม 6.3 หมื่นล้านบาท (เทียบกับขาดทุน 0.5 พันล้านบาทในไตรมาส 4/2462 และกำไร 8.3 พันล้านบาทใน 1/2562 และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าราว 2.5 บาท/ดอลลาร์ ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ที่มีหนี้สินสกุลเงินดอลลาร์ บันทึกขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก PTT ,PTTEP,PTTGC, TOP ,IRPC, SPRC และ SCC