FETCO เตรียมชงแผนลงทุนหุ้นโดยตรงลดหย่อนภาษี กรณี SSF ไม่ได้ผล

HoonSmart.com>> FETCO เตรียมแผนฟื้นตลาดหุ้น ชูลงทุนหุ้นโดยตรงไม่ต้องผ่านกองทุน ได้ลดหย่อนภาษี หากกองทุน SSF ไม่ได้ผล จับตาครม.คลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวันนี้ ด้านดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุน 3 เดือนข้างหน้า ลดลง 11.48% แตะระดับต่ำสุด “ซบเซา” ต่อเนื่อง พร้อมคาดการณ์กนง.หั่นดอกเบี้ยลงอีก

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า ตอนนี้ตลาดหุ้นไทยจำเป็นต้องพึ่งมาตรการของการคลัง ซึ่งต้องติดตามการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (10 มี.ค. 63) ว่าจะมีเม็ดเงินมากเพียงพอที่สร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนได้ขนาดไหน โดยเฉพาะมาตรการทางด้านตลาดทุนที่รัฐบาลจะให้วงเงินพิเศษในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ซึ่งการลงทุนในหุ้นได้ลดหย่อนภาษีอีก 2 แสนบาท โดยช่วงลงทุนอยู่ที่เดือน เม.ย-มิ.ย.นี้

ขณะเดียวกันสภาตลาดทุนไทยเตรียมเสนอมาตรการอื่น เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นโดยตรงไม่ต้องผ่านกองทุน โดยถือระยะเวลา 2 ปี ซึ่งสามารถเอาเงินไปลดหน่อยภาษีได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงซื้อในระยะยาว โดยต้องรอดูผลจากกองทุน SSF ประมาณ 1-2 เดือนก่อน

ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค.2563) ลดลง 11.48% มาอยู่ที่ระดับ 64.40 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยทำมา และอยู่ในเกณฑ์ซบเซาเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สะท้อนมุมนักลงทุนที่ยังไม่เห็นภาพการลงทุนที่ดีขึ้น

หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD) ส่วนหมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ นโยบายภาครัฐ ขณะที่ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

“การลงทุนระยะสั้นไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นสำหรับนักลงทุนที่เล่นหุ้นระยะสั้นๆ แต่ถือได้ 2-3 ปี ต้องมองยาว เพราะไม่แน่ใจว่า คือ จุดต่ำสุดของรอบหรือยัง เนื่องจากเป็นวิกฤตที่เราไม่ได้ก่อ และเราไม่มีเม็ดเงินการออมระยะยาว ทำให้ตลาดอ่อนไหวมาก ซึ่งคาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะกลับมาได้เร็ว หากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะดีขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า ครึ่งปีหลังตลาดก็น่าจะฟื้นตัวแรง เพราะเศรษฐกิจไม่ได้บอบช้ำมาก”นายไพบูลย์ กล่าว

ด้านน.ส.อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (nterest Rate Expectation Index) เดือน มีนาคม 2563 คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของเดือนมีนาคมนี้ปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มจัดทำดัชนีมา โดยอยู่ที่ระดับ 8 ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้วมาอยู่ในกณฑ์ “ลดลง (Decese)” สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง. ในเดือน มี.ค. นี้ อาจการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับร้อยละ 1 โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ลดลง และ Fund Flow จากต่างชาติไหลออก

ในส่วนดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฐบาลระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี ในรอบการประชุม กนง. ของเดือน พ.ค. 63 ทั้ง 2 ระยะวลาปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่เริ่มจัดทำดัชนีอยู่ที่ระดับ 22 ลดลงอย่างมากจากครั้งที่แล้วมาอยู่ในเกณฑ์ลดลง “ลดลง (Decese)” เนื่องจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คาดว่าอัตราผลตอบแทนอาจลดลงจาก 0.88% และ 1.09% ตามลำดับ ณ วันที่ทำการสำรวจ (28 ก.พ. 63)

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ลดลง เศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว อุปสงค์และอุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัว และเงินลงทุนจากต่างชาติไหลออกอย่างต่อเนื่อง