ในปี 2561 ธนาคารกรุงไทย (KTB) และบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 28,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากปี 2560 จากการเติบโตของสินเชื่อที่ 4.4% จากสิ้นปีที่ผ่านมาโดยสินเชื่อรายย่อยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่ อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบกับสินเชื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เติบโตตามลักษณะธุรกิจของธนาคาร ในขณะที่ สินเชื่อ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ทยอยขยายตัวในช่วงครึ่งหลังของปี
รายได้รวมจากการดําเนินงาน เท่ากับ 117,221 ล้านบาท โดย รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 3.7% อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เท่ากับ 3.13% ลดลงเมื่อเทียบกับ 3.28% ในปี 2560 เป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อลูกค้า รายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.50% ในเดือนพฤษภาคม 2560 สภาวะตลาดและการแข่งขัน ประกอบกับการ มุ่งเน้นการบริหารพอร์ตสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยง ในขณะที่ต้นทุน ทางการเงินอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อน
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 7.8% โดยมีสาเหตุหลักจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง 1.5% โดยเป็นผลกระทบบางส่วนจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินรายย่อยผ่านช่องทางดิจิตอล ประกอบกับรายได้อื่นที่ลดลงโดยมีสาเหตุหลักจากในไตรมาสที่ 4/2560 มีรายได้จากเงินชดเชยความเสียหาย ตามคดีความ จํานวน 1,636 ล้านบาท และส่วนแบ่งเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียที่ลดลงจากกลุ่มธุรกิจประกัน
ค่าใช้จ่ายจากการดําเนินงานเพิ่มขึ้น 7.3% โดยมีสาเหตุหลักจากการขยายตัวของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน เนื่องจากการบริหารบุคลากรของพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นจากค่าใช้จ่ายทางการตลาด ธนาคารและบริษัทย่อยมี Cost to Income ratio เท่ากับ 45.29% เพิ่มขึ้นจาก 40.16% ในปี 2560
ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายสํารองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ธนาคาร ยังคงนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามหลักความระมัดระวัง โดยทยอยเพิ่ม ระดับของอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) อย่างต่อเนื่อง
ณ 31 ธันวาคม 2561 มี Coverage Ratio เพิ่มขึ้นเป็น 125.81% จาก 121.71% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ สินเชื่อรวม (NPLs Ratio-Gross) เท่ากับ 4.52% อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้ สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs Ratio-Net) 1.94% โดย NPL Ratio-Gross เพิ่มขึ้นจาก 4.19% และ NPL Ratio-Net เพิ่มขึ้นจาก 1.77% โดยส่วนใหญ่เพิ่มจากลูกค้ากลุ่ม SME ในบางอุตสาหกรรม และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการจัดชั้นเชิงคุณภาพที่เข้มงวดขึ้น
ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุน ชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง เท่ากับ 14.35% และ 18.19% ตามลําดับ (งบการเงินเฉพาะธนาคาร)