“สแกน อินเตอร์” ปรับลดสัดส่วนซื้อหุ้นเพิ่มในโรงไฟฟ้ามินบู เมียนม จาก 19% เหลือ 10% รวมถือ 40% หลังผู้ขายขอปรับลด ยันไม่กระทบสิทธิและแผนลงทุน ชงผู้ถือหุ้นอนุมัติ 29 พ.ย.นี้
บริษัท สแกน อินเตอร์ (SCN) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 4 ต.ค.2561 อนุมัติการปรับแผนการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมของบริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด (“GEP Thailand”) ผู้ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเมืองมินบู สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา อีกครั้ง จากเดิม 19% เป็น 10% ตามข้อเสนอของผู้ขาย มูลค่าการซื้อขายรวม 2,216,329.41 เหรียญสหรัฐ จากเดิมบริษัทฯถือหุ้นอยู่ 30% โดยจะชำระค่าหุ้นเป็นหุ้นเพิ่มทุนและเงินสด
ทั้งนี้ การปรับสัดส่วนถือหุ้นดังกล่าวจะไม่กระทบต่อสิทธิและการลงทุนของบริษัท โดยบริษัทจะยังคงได้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการในเป็นจานวน 4 คนจากกรรมการทั้งหมด 10 คน ตามเดิม และยังคงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน (EIRR) ในอัตราประมาณ 10% ตามเดิม
อย่างไรก็ามการซื้อหุ้นเพิ่มใน GEP Thailand สัดส่วน 10% ดังกล่าว เป็นการซื้อจาก Noble Planet จำนวน 6.5% มูลค่า 1.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งบริษัทจะชำระค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ไม่เกิน 10.74 ล้านหุ้น หรือ 0.89% ในราคาเสนอขายหุ้นละ 4.50 บาท คิดเป็นมูลค่ารวม 48.32 ล้านบาท และซื้อจาก Planet Energy จำนวน 3.5% มูลค่า 7.74 แสนเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทจะชำระค่าตอบแทนเป็นเงินสด เพื่อให้บริษัทได้มาซึ่งหุ้น GEP Thailand เป็นจำนวน 10% ณ วันที่เริ่มดาเนินการเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้ามินบู ระยะที่ 1
คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 600 ล้านบาท เป็น 605.37 ล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุนไม่เกิน 10.74 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อจัดสรรให้กับ Noble Planet เพื่อเป็นค่าตอบแทนส่วนหนึ่งสำหรับหุ้นสามัญของ GEP Thailand ที่บริษัทจะลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งภายหลังจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวแล้วจะทำให้ Noble Planet เข้ามาถือหุ้นในบริษัทจำนวน 0.89%
นอกจากนี้อนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท หรือเทียบเท่าสกุลอื่น โดยจะนำเสนอมติทั้งหมดต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2561 ในวันที่ 29 พ.ย.61
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในเมืองมินบู ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 220 เมกะวัตต์ นับเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่าโครงการมากกว่า 10,000 ล้านบาท ที่แบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ คาดก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) จำนวน 50 เมกะวัตต์ในเฟสแรกได้ภายในต้นปี 62 โดยประเมินว่าโครงการนี้จะมีผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 10%