โดย…ณัฏฐะ มหัทธนา
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนและลูกค้าสัมพันธ์ บลจ.กรุงไทย (KTAM)
โลกเสี่ยงเผชิญ “วิกฤตอาหาร” โจ ไบเดน ปธน.สหรัฐ กล่าวเตือนหลังประชุมสุดยอด NATO, G-7, EU ที่เบลเยียม พร้อมเรียกร้องให้ประเทศต่างๆพยายามเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวสาลี เพื่อชดเชยซัพพลายที่ขาดหายไป อันเนื่องมาจากสถานการณ์รัสเซียรุกรานยูเครนล่วงเข้าสู่เดือนที่สองแล้ว นอกจากนี้ ไบเดนยังกระตุ้นนานาชาติให้ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าและทลายกำแพงภาษีส่งออกอาหารด้วย ถ้อยแถลงล่าสุดของผู้นำสหรัฐประสานเสียงสหประชาชาติซึ่งออกโรงเตือนในเดือนนี้เช่นกันว่า ประเทศยากจนแถบเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง กำลังเผชิญวิกฤตความมั่นคงด้านปัจจัยสี่ตัวสำคัญคือ “อาหาร”
ภาวะขาดแคลนอาหาร ก่อตัวขึ้นมาสักพักใหญ่ตามสภาพความไม่สมดุลในตลาดโภคภัณฑ์ด้วยสาเหตุหลัก “อุปสงค์” ฟื้นเร็วกว่า “อุปทาน” หลังวิกฤตโควิดล็อกดาวน์ คราวนี้พอ รัสเซีย-ยูเครน สองประเทศที่ได้สมญา “ตะกร้าขนมปัง” ผู้ส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 1 ใน 3 ของทั้งโลก เกิดสงครามทำให้ภาคตะวันออกของยูเครนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้และสถานการณ์ยืดเยื้อจนใกล้เข้าสู่ฤดูเพาะปลูกรอบใหม่ …ยังไม่พอ… รัสเซียระงับการส่งออกปุ๋ยเพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก (รัสเซียเป็นผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีรายใหญ่สุดของโลก) ดังนั้น “วิกฤต” คงหลีกเลี่ยงได้ยากเต็มที
ธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและความมั่นคงด้านอาหาร น่าจะมีแนวโน้มการเติบโตและได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากราคาโภคภัณฑ์และสินค้าเกษตรซึ่งพุ่งทะยานนำไปก่อนแล้ว
KT-AGRI (กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อะกรีคัลเจอร์ ฟันด์) เน้นลงทุนในหน่วยของ BlackRock Nutrition Fund คลาส SGD Hedged (กองทุนหลัก BlackRock World Agriculture เปลี่ยนชื่อเป็น BlackRock Nutrition ตั้งแต่ 25 มี.ค. 2019 และใช้นโยบายลงทุนปัจจุบันตั้งแต่ 2 มี.ค. 2021) มุ่งแสวงหาการเติบโตระยะยาวจากจากตราสารทุนของบริษัทในห่วงโซ่อุปทานอาหารและเกษตรรวมถึงบรรจุภัณฑ์ (packaging) กระบวนการ (processing) กระจายสินค้า (distribution) เทคโนโลยี (technology) บริการเกี่ยวกับอาหาร/เกษตร (food/agriculture-related services) เมล็ดพันธุ์ (seeds) เคมีภัณฑ์เกษตร/อาหาร (agricultural or food-grade chemicals) ตลอดจนผู้ผลิตอาหาร (food producers)
ธีมเด่นของพอร์ตกองทุนหลัก (เรียบเรียงจาก KTAM Product Insider 19 ส.ค. 2021)
- Eating Trends (แนวโน้มการบริโภค) ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการกินมากขึ้น โดยเลือกกินอาหาร/เครื่องดื่มที่มีประโยชน์และบำรุงสุขภาพ หรือกินอาหารเสริมต่างๆเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
- Buying Trends (แนวโน้มการเลือกซื้อสินค้า) หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด เราจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงไปโดยผ่านช่องทาง delivery หรือซื้อออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้หรือ “ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก” มากขึ้นอีกด้วย
- Growing Trends (แนวโน้มการเพาะปลูก) ปัจจุบันภาคการเกษตรนำเทคโนโลยีมาใช้กันมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดจนผลผลิตจากการเพาะปลูก (higher crop yield) เช่น เครื่องจักรกลทางการเกษตรสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและประหยัดพลังงานมากขึ้น โดรนหรือหุ่นยนต์รดน้ำ/ใส่ปุ๋ย/เก็บเกี่ยวผลผลิต หรือการใช้เทคโนโลยีในโรงเพาะปลูก ควบคุมอุณหภูมิ/ความชื้น/ปริมาณแสง เป็นต้น
หมายเหตุ: มุมมองและกลยุทธ์ล่าสุดของกองทุนรวมหลัก เราจะอัพเดตให้ตามช่องทางสื่อสารของ KTAM เร็วๆนี้
Morningstar Style Box ระบุสไตล์กองทุนหลัก mid-cap growth (30 พ.ย. 2021) มีสัดส่วนหุ้น consumer defensive มากสุดราวครึ่งพอร์ต รองลงมาได้แก่ basic materials, consumer cyclical และ industrials
Top-10 Holdings สิ้นเดือน ก.พ. defensive ยังคงเป็นองค์ประกอบหลัก ขณะหุ้นเติบโตสูงและ value stocks ราคาถูกก็มีอยู่บ้าง ทั้งนี้ เกือบครึ่งพอร์ต (49%) ลงทุนในสหรัฐ รองลงมาคือแคนาดาและอีกหลายประเทศยุโรป P/E เฉลี่ย 22.69x
KT-AGRI “ฝ่าวิกฤตอาหาร” เป็นธีมที่น่าสนใจในระยะนี้ เพราะความมั่นคงด้านอาหารของโลกกำลังสั่นคลอนอาจกระตุ้นกระแสเงินทุนเข้าสู่ธุรกิจเกษตรและอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หุ้นโดยเฉลี่ยในพอร์ตกองทุนหลักมีระดับราคาไม่แพงเกินไป ขณะกลุ่ม defensive มีสัดส่วนสูงจึงน่าจะช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงได้บ้างหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ไอเดียกองทุนรวมมีให้ทุกวัน ผู้สนใจเชิญรับชม Fund Today by KTAM ทุกเช้าวันทำการเริ่มเวลา 8:45 น. สามารถพิมพ์คำถามทางไลฟ์ Facebook: KTAM Smart Trade, Youtube: KTAM TV ONLINE หรือรับฟังและร่วมพูดคุยใน Clubhouse: KTAM Smart Trade สดพร้อมกันสามช่องทาง นอกจากนี้ดูคลิปย้อนหลังได้ทั้ง Youtube และ Facebook
#คุยทุกวันฟันทุกเช้า #ฟันทูเดย์845
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน คู่มือการลงทุน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน