ดาวโจนส์ปิดร่วง 546 จุด-S&P 500 ลดลงเดือนแรก กังวลขัดแย้งเพดานหนี้

HoonSmart.com>> ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ ดาวโจนส์ร่วง 546 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลงเป็นเดือนแรก นักลงทุนกังวลเงินเฟ้อ ความขัดแย้งการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ ในสภาคองเกรส แม้วุฒิสภาอนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ด้านตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ลดลง ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น สวนทางเบรนท์ปรับลดลง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average:DJIA) วันที่ 30 กันยายน 2564 ปิดที่ 33,843.92 จุด ลดลง 546.80 จุด หรือ 1.59% จากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจ และความขัดแย้งในสภาคองเกรส แม้วุฒิสภาอนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว และมีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจขึ้น

ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 4,307.54จุด ลดลง 51.92 จุด, -1.19%

ดัชนี Nasdaq ปิดที่14,448.58 จุด ลดลง 63.86 จุด, -0.44%

วุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ซึ่งช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางมีงบประมาณใช้จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม และไม่ต้องชัตดาวน์ ร่างกฎหมายนี้จะถูกส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากให้ความเห็นชอบ ก็จะต้องส่งให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนามรับรองเป็นกฎหมายก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 30 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐฯ

ขณะเดียวกันสภาผู้แทนราษฎรยังได้ ผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของรัฐบาล แต่อาจจะถูกขัดขวางจากสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภา และหากไม่ผ่านสภาคองเกรส ก็จะส่งผลให้สหรัฐเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

นางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินการเพื่อนำร่างกฏหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศวงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์และร่างกฎหมายการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 3.5 ล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทน ขณะที่สมาชิกพรรคเดโมแครต โจ แมนชินระบุว่าร่างกฎหมายการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องปรับลดวงเงินเหลือ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ก่อนที่จะโหวตให้

กระทรวงพาณิชย์รายงานการประมาณการ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปีนี้ครั้งที่ 3 ว่า ขยายตัว 6.7% เพิ่มขึ้นจาก 6.5% ในประมาณการครั้งที่ 1 และเพิ่มขึ้นจาก 6.6% ครั้งที่ 2

ตลาดในเดือนกันยายนนี้เจอปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน ส่งผลให้ดัชนี DJIA ลดลง 4.3% ซึ่งเป็นเดือนที่ลดลงมากที่สุดในปีนี้

ดัชนี S&P 500 ลดลง 4.8% และเป็นเดือนแรกที่ปรับตัวลดลงนับตั้งแต่มกราคม ด้วยความกังวลต่อแนวโน้มนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เงินเฟ้อ การยกระดับการกำกับดูแลภาคธุรกิจในจีน และการระบาดของไวรัสที่ยังแพร่กระจาย แต่ก็ยังปรับขึ้น 15% ตั้งแต่ต้นปี

ดัชนี Nasdaq ลดลง 5.3% และเป็นเดือนที่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 ที่เริ่มมีการระบาดของไวรัส

การซื้อขายเมื่อวานนี้ยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อและห่วงโซ่อุปทาน โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลาง (เฟด) กล่าวถ้อยแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรว่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะกินเวลานานกว่าที่คาดไว้ ก่อนหน้านี้ในการเสวนาที่จัดขึ้นโดยธนาคารกลางสหภาพยุโรป นายพาวเวลล์กล่าวว่า แรงกดดันเงินเฟ้อจะมีไปถึงปี 2022

ปัญหาเงินเฟ้อและห่วงโซ่อุปทานกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท Bed Bath & Beyond ในไตร

มาสสอง ราคาหุ้นลดลง 22.1% และยังมีผลไปถึงหุ้นค้าปลีกอื่น หุ้น Walgreens Boots Alliance ลดลง 3.4% หุ้น Home Depot ลดลง2.6%

กระทรวงแรงงานรายงานการยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 11,000 ราย มาที่ระดับ 362,000 ราย สูงกว่า 335,000 รายที่นักวิเคราะห์คาด และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3

นักวิเคราะห์จาก Capital Economics มองว่า ยังมีปัจจัยลบอีกหลายตัวที่มีผลต่อตลาด แม้ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการลดซื้อพันธบัตรของเฟด โดยชี้ว่า ราคาหุ้นขึ้นมาสูงมากแล้ว ขณะที่โอกาสการปรับคาดการณ์ผลการดำเนินงานขึ้นอีกมีไม่มาก รวมทั้งยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่าในช่วงสองปีข้างหน้านี้ตลาดหุ้นจะปรับขึ้นได้ไม่มาก

ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง แม้ข้อมูลเศรษฐกิจดีกว่าคาด แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้น และภาวะเงินเฟ้อทำให้นักลงทุนระมัดระวังการลงทุน

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดลบเป็นไตรมาสแรกนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2020 และลดลง 3.6% ในเดือนนี้ ซึ่งลดลงมากสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน

ในอังกฤษ GDP ไตรมาสสองขยายตัว 5.5% สูงกว่า 4.8% การคาดการณ์ครั้งก่อน และดีขึ้นจากที่ติดลบ 1.6% ในไตรมาสแรก โดยการใช้จ่ายของรัฐ การส่งออกและการลงทุนดีกว่าคาดทั้งหมด

ในฝรั่งเศสเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 1% จากเดือนกรกฏาคมที่ติดลบ 2.4% และสูงกว่า 0.1% ที่นักวิเคราะห์คาด ส่วนเงินเฟ้อเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบรายปี และแตะระดับสูงสุดรอบเกือบ 10 ปี

ในอิตาลีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3.0%

ในเยอรมนีการว่างงานลดลง 30,000 ราย ส่วนการว่างงานในยูโรโซนลดลงมาที่ 7.5%

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 454.81จุด 0.22 ลดลง จุด, -0.05%

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,086.42 จุด ลดลง 21.74 จุด, -0.31%

ดัชนี CAC 40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,520.01 จุด ลดลง 40.79 จุด, -0.62%

ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 15,260.69 จุด ลดลง 104.58 จุด, -0.68%

ราคาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 20 เซนต์ ปิดที่ 75.03 ลดลง ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ Brent ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ลดลง 12 เซนต์ ปิดที่ 78.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล