• ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นบางประเทศยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่กลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง จากเชื้อกลายพันธุ์ Delta ซึ่งมีจุดกำเนิดในอินเดีย โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป อีกทั้งในช่วงก่อนหน้า Fed เริ่มมีการส่งสัญญาณโดยมีทิศทางนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นและคณะกรรมการได้เริ่มหารือถึงแผนการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเรื่องแผนขึ้นภาษีของปธน. Biden ที่เริ่มเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในเดือนนี้ อย่างไรก็ดี ตลาดโดยรวมยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ เนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน โดยล่าสุดประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรปมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนถึง54.02% และ 41.21% ของจ านวนประชากรทั้งหมดตามล าดับ ขณะที่ประเทศภูมิภาคเอเชียไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ฉีดไปแล้ว 29.91%, 23.44%, 19.67% และ 9.90% ตามล าดับ
• Bloomberg Consensus คาด GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ จะขยายตัว 9.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 6.4% QoQ ในไตรมาสก่อนหน้า จากแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแจกเช็คเงินสด ท่ามกลางอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่เกิดปัญหาขาดแคลนด้านอุปทาน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงเกินเป้าหมายที่ 2% เป็นระยะเวลานานกว่าคาด
• การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.92 แสนตำแหน่งในเดือน มิ.ย. ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.00 แสนตำแหน่ง โดยหลักมาจากกลุ่มการโรงแรมและการพักผ่อน สะท้อนตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องตามการเปิดเศรษฐกิจและการแจกจ่ายวัคซีนท่ีเป็นวงกว้างมากขึ้น และหนุนการจ้างงานในภาคบริการ
• ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 รอบสามในไทยชัดเจนขึ้น หลังมีการ Lockdown อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนหดตัวลง -3.1% MoM จากขยายตัว +12.6% MoM ในเดือนก่อน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอมากเช่นเดิม ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 6.1 พันคน จาก 8.5 พันคนในเดือนก่อน เป็นผลจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังเข้มงวดสูงทั่วโลก
• ดัชนี PMI ของทางการจีนเดือน มิ.ย. ปรับตัวลดลงเล็กน้อย -0.1 จุด เป็น 50.9 จุด แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 50.8 จุด ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนท่ี 4 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อภายนอกประเทศถูกกดดันจากการระบาดของ COVID-19 บริเวณท่าเรือ Yantian ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นท่าเรือส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ และยุโรป อีกทั้งการระบาดระลอกใหม่ยังนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการ
คุมเข้มในบางเมือง
• ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ของญี่ปุ่น หดตัว -0.4% MoM จากผลกระทบของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรอบใหม่ ใน 10จังหวัด ซึ่งรวมถึง Tokyo และ Osaka ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. จนถึงวันที่ 20 มิ.ย. ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากกว่าท่ีตลาดคาดจากการหดตัวของการผลิตในกลุ่มยานยนต์
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดตราสารทุน
ตลาดหุ้นไทย : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นเกาหลี
: แนะนำ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน"
ตลาดหุ้นจีน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares และหุ้นจีน H-Shares”
ตลาดหุ้นยุโรป : ปรับคำแนะนำจาก “เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” เป็น “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
:ปรับคำแนะนำจาก “คงน้ำหนักการลงทุน” เป็น "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน"
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
ตลาดตราสารหนี้
ตราสารหนี้ไทย : แนะนำ “ลงทุนใน SCBFP”
ตราสารหนี้ต่างประเทศ
: แนะนำ "เพิ่มน้ำหนักการลงทุน ใน SCBUSHY"
และ แนะนำลงทุนใน “SCBFIN”
สินทรัพย์ทางเลือก
ทองคำ
: แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
น้ำมัน : แนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน”
อสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน
: แนะนำ “เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน SCBPIN”
”