HoonSmart.com>> เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเมินอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. สหรัฐฯ พุ่งเกินคาด สร้างความกังวลต่อตลาดหุ้น นักลงทุนเทขายหุ้น Growth Stock โยกเข้าหุ้น Value มองไม่ได้จุดเปลี่ยนตลาดเป็นขาลง แนะจับตาเฟดประชุม 15-16 มิ.ย. รายงานเงินเฟ้อรอบถัดไป 10 มิ.ย. แนะสะสม 9 หุ้นเด่นเข้าพอร์ต IRPC, ESSO, PTTGC, NER,TU, SAT, EPG,SAT, EPG
นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ MBKET ประเมินอัตราเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ เดือน เม.ย. ปรับตัวขึ้น +4.2% YoY, 0.8% s.a. MoM ขยายตัวมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ +3.6% YoY ซึ่งมาจากการขยายตัวของราคารถมือสองและรถบรรทุก (+21% YoY, +10% s.a. MOM)
ในขณะที่กลุ่มการใช้จ่ายเกี่ยวกับภาคบริการที่ขยายตัวเด่น ได้แก่ ค่าตั๋วเครื่องบิน (+10.2% YoY, +0.4% s.a. MoM), ค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว (7.6% YoY, +3.8% s.a. MoM) และ ค่าเข้าชมการแข่งขันกีฬา (+10.1% YoY, +4.7% s.a. MoM) ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ บ่งชี้ภาวะที่ผ่อนคลายลงเป็นอย่างมากจากสถานการณ์ COVID-19 สร้างความกังวลต่อตลาดหุ้นให้มีโอกาสปรับฐาน แต่ยังไม่ใช่ขาลงรอบใหม่ โดยอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่เร่งตัวมากกว่าคาดอย่างมีนัยสำคัญ น่าจะสร้างความกังวลว่า Fed จะลดขนาดการทำ QE เร็วขึ้น (Consensus: 4Q64) เป็นปัจจัยกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้น Growth Stock ที่ราคาเล่นบนความคาดหวังในอนาคต
อย่างไรก็ตามยังประเมินว่าเงินเฟ้อที่เร่งตัวรอบนี้น่าจะยังไม่ใช่จุดเปลี่ยนแนวโน้มของตลาด (จากขาขึ้นรอบใหญ่เป็นขาลง) เนื่องจาก 1) ตลาดยังรอความชัดเจนในการประชุม FOMC ครั้งถัดไป วันที่ 15-16 มิ.ย.
2) การเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อเดือน เม.ย. เกิดขึ้นเป็นเดือนแรก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก Pent-up Demand ของกิจกรรมหลังเปิดเมือง จึงยังต้องรอบทพิสูจน์ว่าในช่วงถัดไปจะสามารถยืนระยะได้หรือไม่ (จับตาการรายงานเฟ้อ พ.ค. วันที่ 10 มิ.ย.)
3) สหรัฐฯยังไม่ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 อย่างสมบูรณ์แบบ สะท้อนจากการใช้มาตรการกระตุ้นด้านการคลังที่ยังมีต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา ยังมีการอัดฉีดเงิน 3.5 แสนล้านเหรียญฯ ให้แก่รัฐต่างๆเพื่อกระตุ้นการจ้างงาน ซึ่งภาคแรงงาน ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ Fed จะใช้พิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ยิ่งไปกว่านั้นการถอดถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเริ่มจากหยุดมาตรการด้านการคลังก่อนเป็นลำดับแรก ตามด้วยด้านการเงิน (ลดขนาดการทำ QE และขึ้นดอกเบี้ยตามลำดับ)
ตลาดให้น้ำหนักปัจจัยที่ชัดเจนในระยะสั้นมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่สะท้อนให้เห็นจากการเคลื่อนไหวของกระแสเงินทุน พบว่า ตลาดหันมาให้น้ำหนักปัจจัยที่ชัดเจนในระยะสั้น และลดทอนความคาดหวัง สิ่งที่ไม่แน่นอนในระยะยาว 1) เกิดแรงขายหุ้น Growth Stock ที่เล่นความคาดหวัง และซื้อขายบน multiple สูง (เช่น กลุ่ม TECH) สลับเข้าซื้อหุ้น Value ที่แนวโน้มระยะสั้นมีความชัดเจน (เช่น ENERG) 2) Yield Curve ชันขึ้น สะท้อนแรงขายพันธบัตรระยะยาวและสลับเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้น ดังนั้น จึงประเมินกลุ่มหุ้นที่มีความน่าสนใจ เป็นโอกาสสะสมเมื่ออ่อนตัว
Outperform: ENERG&PETRO (IRPC, ESSO, PTTGC), AGRI (NER), FOOD (TU), INDUS&CONMAT (SAT, EPG), Logistics ((SAT, EPG)
ต่อรองราคา : BANKING: แบงค์ใหญ่ , COMM: หุ้นที่โดนผลกระทบ COVID19