“ซีแพค” ดันนวัตกรรมก่อสร้าง “ห้องแยก-ควบคุมเชื้อ ” หนุนการแพทย์สู้โควิด

CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ชูโซลูชั่น “ห้องแยกและควบคุมเชื้อ”  ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่

นายวีรกร สายเทพ CPAC BIM Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) เปิดเผยว่า จากองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง ที่สั่งสมมานาน CPAC BIM ได้พัฒนาต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหาด้าน Medical Solution เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ที่เร่งด่วน โดยนำศักยภาพของบริษัทที่มีในหลายด้านมาต่อยอด ช่วยเหลือบุคลากรทางแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข ภายใต้เงื่อนไขการทำงาน Speed with Good Enough Quality

Medical Solution by CPAC BIM  เป็นการออกแบบ สร้าง และปรับปรุงห้องแยกและควบคุมเชื้อเพื่อใช้ในทางการแพทย์ โดยมีจุดเด่น คือ การนำ Digital และ Construction Technology เข้ามาช่วยในการวางแผน และ กระบวนการก่อสร้าง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ใช้งานห้องด้านความปลอดภัย และยังสามารถสร้างได้รวดเร็ว ควบคุมงบประมาณได้

ปัจจุบัน CPAC  ได้พัฒนาห้องแยกและควบคุมโรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

1. คลินิกแยกโรคติดเชื้อแบบสำเร็จรูปพร้อมติดตั้ง (Acute Respiration Infection Outdoor Clinic, ARI Outdoor Clinic) ภายในแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ทั้งการคัดกรอง ตรวจเชื้อ และเก็บเชื้อ  แยกแพทย์ กับผู้ป่วยออกจากกัน เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ ผสานด้วยการนำเทคโนโลยีระบายอากาศ ความดันลบและความดันบวกมาใช้ เป็นการป้องกันไม่ให้อากาศที่มีเชื้อโรค ไหลเวียนเข้ามาแพร่เชื้อ สู่บุคลากรและผู้ป่วย ในโรงพยาบาล

2. ห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ (Airborne Infectious Isolation Room, AIIR) แบบสำเร็จรูปแบบพร้อมติดตั้ง  ใช้เทคโนโลยีความดันลบ เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อโรคภายนอกเข้ามาให้ห้อง และหากมีเชื้อโรคภายในห้อง ระบบกรองอากาศจะฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ตลอดจนจำกัดบริเวณการไหลเวียนของเชื้อโรคได้ จึงมั่นใจว่า ห้องบุคลากรทางการแพทย์จะปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ อากาศที่ปล่อยออกไป ไม่มีเชื้อโรคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้วเสร็จที่ โรงพยาบาลสระบุรีและโรงพยาบาลวชิรพยาบาล

ห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ

“ การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เราจะไม่ปล่อยให้เกิดการแพร่ระบาดไปมากกว่านี้ โดยความเชี่ยวชาญของ CPAC BIM  สามารถนำนวัตกรรมที่มีอยู่ ต่อยอดจนสามารถสร้างคลินิกแยกโรคติดเชื้อแบบสำเร็จรูปพร้อมติดตั้ง และห้องแยกโรคติดเชื้อความดับลบแบบสำเร็จรูปได้ เชื่อว่า 2 นวัตกรรมที่ CPAC BIM คิดค้น จะทำให้เกิดประโยชน์ด้านการแพทย์อย่างมหาศาล เนื่องจาก ตอบโจทย์ความรวดเร็วในการก่อสร้างให้ถ้วงทันกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้มาตรฐานที่บุคคลากรแพทย์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย นี่เป็นเป้าหมายสำคัญที่เราตั้งใจพัฒนานวัตกรรมนี้ขึ้นมา ” วีรกร สายเทพ กล่าว

ผศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช เปิดเผยว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19  การป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ให้ได้รับเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นในโรงพยาบาล ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นเร่งด่วนในการยับยั้งการแพร่ระบาด

โรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต และ CPAC BIM ที่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำความเชี่ยวชาญมาพัฒนานวัตกรรมห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ (Airborne Infection Isolation Room – AIIR) ในแบบ Modified Version ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทย ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องเวลาที่จำกัด งบประมาณที่ไม่สูงมาก รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์

การออกแบบของห้อง AIIR นี้ จุดเด่นอยู่ที่ ผนังห้องแบบ Sandvic Panel เป็นผนังแบบ Compact รวมถึงฝาเพดาน ซึ่งเป็นนวัตกรรม Smart Structure ที่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ ไม่สะสมเชื้อโรค ระบบดูดอากาศ ผ่านเครื่องกรองที่ควบคุมการไหลเวียนอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและฆ่าเชื้อก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งรวมถึงห้องน้ำผู้ป่วยด้วย

“โควิด-19 เสมือนสึนามิของการแพร่ระบาดเชื้อ หมอมองว่า ทำอย่างไรให้รวดเร็วทันสถานการณ์ การสร้างห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งเรารอไม่ได้ แต่สำหรับแบบ Modified Version ที่ CPAC BIM ได้นำเสนอกับโรงพยาบาล มีความเป็นไปได้ ตอบโจทย์ความรวดเร็ว ตอบโจทย์งบประมาณ และตรงตามมาตรฐานของ Negative Pressure Room ” ผศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขที่ต้องการคำแนะนำ-ปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CPAC Contact Center โทร. 02-555-5555 หรือ CPAC Solution Center ทั้ง 23 สาขาทั่วประเทศ

 

ห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ