“ไทยเครดิต”ทำกำไรปี’66 นิวไฮ รวม 3,556.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.2%

HoonSmart.com>>ไทยเครดิต คว้ากำไรสุทธิปี 2566 ทำสถิติสูงสุดในประวัติการณ์ ที่ 3,556.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.2% ผลจากสินเชื่อเติบโตทุกกลุ่ม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

ธนาคารไทยเครดิต (CREDIT) รายงานผลการดำเนินงานในปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 3,556.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.2% ทำสถิติสูงสุดในประวัติการณ์ โดยรายได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 20.6% สอดคล้องกับเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้เติบโตเท่ากับ 18.8% จากปริมาณเงินให้สินเชื่อที่เติบโตเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม ผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี สินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อคนค้าขาย และสินเชื่อบ้าน ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

นอกจากนี้ธนาคารฯ มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่ำงต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานของธนาคารฯ ลดลงเท่ากับ 36.7% จาก 39.5% ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

อัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในปี 2566 อยู่ที่ 8.2% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยของธนาคารฯสอดคล้องการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. และมาตรการลดหย่อนค่าเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) สิ้นสุดลงในปี 2565 อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิต่อส่วนของเจ้าของในปี 2566 สูงขึ้นจาก 18.94% เป็น 22.31%

ทั้งนี้ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตสำหรับเงินให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น 17.6% เพื่อรักษาระดับของ Coverage ratio ในระดับสูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ด้านสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLs) เพิ่มขึ้น 29.2% จากเดิม 4,734.4 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็น 6,115.6 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อผลขำดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (gross NPLs ratio) เพิ่มขึ้นจากเดิม 3.9% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็น 4.2% ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จาก ธปท. ส่งผลให้สินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังคงไม่แน่นอนจากปัจจัยมหภาค (Macroeconomic) ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารฯ เช่นปัจจัยเงินเฟ้อที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์จากสงครามรัสเซียและยูเครน การชะลอตัวของภาคส่งออกของไทย และอุปสงค์ภายในประเทศยังคงฟื้นตัวช้า

สำหรับ เงินกองทุนตามกฎหมาย (ตาราง)