นักลงทุนย้ายเข้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ลุย KCE ได้ดีราคาทองแดงลดลง หยวนต้าแนะนำซื้อ 2 ตัว HANA เติบโตสูง ปันผล 6% SVI กลับมาเทิร์นอะราวด์ กำไรพุ่งกระฉูด บล.บัวหลวงยก เอสวีไอเป็นหุ้นเด่น
แรงซื้อเข้าหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 1 ก.พ. นำโดย KCE บวก 1.25 บาท หรือ 4.76% ซื้อขายที่ 27.50 บาท มูลค่า 79 ล้านบาท ส่วน HANA ลดลง 0.25 บาท ซื้อขายที่ 34.25 บาท และ SVI ไม่เปลี่ยนแปลง 5.25 บาท ณ เวลา 10.45 น.
บล.หยวนต้า(ประเทศไทย) แนะนำซื้อ HANA ราคาเป้าหมาย 42 บาท เนื่องจากเป็นหุ้นเติบโตและปันผลสูง และปรับคำแนะนำ SVI ขึ้นเป็นซื้อจากเดิมขาย จากการฟื้นตัวของธุรกิจที่เร็วกว่าที่คาดไว้ ให้มูลค่าหุ้นที่ 6 บาท เท่าเดิม
ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังมีการเติบโต จากตลาดเซมิคอนดัคเตอร์โลกแม้ยังมีความผันผวน แต่มีฐานการเติบโตสูงขึ้น และไทยจะได้ประโยชน์จากสงครามการค้า คาดว่าตลาดเซมมิคอนดัคเตอร์โลกจะเติบโตต่อได้ 4-8%ในช่วงปี 2562-2563 และจะเร่งตัวขึ้นอีกครั้งในปี 2564ที่จะเข้าสู่ยุค 5G และการใช้ระบบ IoT ที่มากขึ้น
บล.หยวนต้าแนะนำซื้อ HANA เพราะเห็นพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง ยอดขายที่สูงช่วยเพิ่มการประหยัดต่อขนาด และสถานะทางการเงินที่แข็งแรง คาดว่าจะจ่ายเงินปันผล 6% ในปี 2562 เทียบกับ SVI ที่ 4% ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ พี/อี 11 เท่า แต่กำไรต่อหุ้นเติบโต 15% ในปีนี้และ 14% ในปีหน้า ส่วน SVI มีกำไรเติบโตสูงกว่าจากประโยชน์ของการเข้าซื้อกิจการเมื่อปี 2560 คาดว่ากำไรในปีนี้จะเติบโตถึง 27% และ 16% ในปีหน้า ซื้อขายที่พี/อี 12 เท่า หลังจากเพิ่มฐานลูกค้าในยุโรป ยอดขายที่ย้ายมาจากจีน
นอกจากนี้ยังปรับสมมุติฐานค่าเงินบาทให้แข็งขึ้น 2.5% จากเดิมเป็น 32.8-33.5 บาทต่อดอลลาร์ ในปี 2562-2563 เชื่อว่าอัตรากำไรขั้นต้นของ HANA จะเพิ่มขึ้น 0.80% และ SVI เพิ่มขึ้น 0.30% จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้อัตรากำไรขั้นต้นยังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่ 9.2% ในปีที่ผ่านมา และ 9.3-9.5% ในปี 2562-2563 หลังจากหดตัวเหลือ 8% ในปี 2560
“เรามองว่าราคาหุ้น HANA ปรับลงมาสู่ระดับที่ไม่แพง ขณะที่แนวโน้มธุรกิจดีขึ้น การออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ การได้ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น และมีอัตรากำไรดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่มีสถานะเป็นเงินสดสุทธิ และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ คาดอัตราผลตอบแทนปีนี้ 6% “บล.หยวนต้าระบุ
บล.บัวหลวงชอบหุ้น SVI มากที่สุดในกลุ่ม ส่วน KCE ได้รับอานินสงส์จากต้นทุนทองแดงที่ลดลง
ปกติธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จะมียอดขายดีที่สุดในไตรมาส 3 และชะลอตัวลงในไตรมาส 4 แต่สำหรับปี 2561 ที่ผ่านมา คาดว่า SVI และ CCET จะมียอดขายไตรมาส 4 เติบโตจากไตรมาส 3 และระยะเดียวกันปีก่อน จากอุปสงค์ที่แข็งแรง เพราะสินค้าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ไม่ใช่ในกลุ่มอุปโภคบริโภค คาดว่ากลุ่มนี้รักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับเดียวกับไตรมาส 3 เนื่องจากค่าเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก และต้นทุนวัตถุดิบทรงตัว
ส่วน KCE ยอดขายไตรมาส 4 จะถูกกดดันมากไปกว่าปกติมาจากประเด็นยอดขายรถยนต์ในยุโรปลดลงเป็นเดือนที่ 4 ส่งผลต่อ