BA-THCOM-IVL เปิดแหล่งรายได้ใหม่ เร่งลงทุนธุรกิจมีกำไร-ดัน EBITDA วิ่งต่อ

HoonSmart.com>การบินกรุงเทพ-ไทยคม-อินโดรามาฯ เปิดแหล่งรายได้ใหม่ในยุคเทรนด์โลกเปลี่ยนขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตในอีก 3 ปีข้างหน้า ยันวินวินทั้งบริษัท ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผธ้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินกรุงเทพ (BA) กล่าวในหัวข้อ “ถอดรหัส หุ้นแกร่ง” จัดโดย นสพ.ข่าวหุ้นว่า ปี 2567 ตั้งเป้าหมายการเติบโตของ EBITDA ที่ 20-25% ซึ่งจะต่ำกว่าไตรมาส 1 ปี 2567 ที่ EBITDA อยู่ที่ 30% ซึ่งถือว่าสูงกว่าปกติมากจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีเข้ามามาก ราคาตั๋วดีขึ้น จำนวนเที่ยวบินมากขึ้น แต่ไตรมาส 2 ลดลงอย่างมาก เริ่มกระเตื้องไตรมาส 3 กลับมาสูงขึ้นในไตรมาส 4 และดีสุดไตรมาส 1 ซึ่งเป็นวัฐจักรของธุรกิจการท่องเที่ยวในการที่จะผลักดันให้รายได้เคิบโตต่อเนื่องในอนาคต จะเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องบินที่ใช้งานอยู่ 40 ลำ พยายามรักษาตลาดให้ครอบคลุมพื้นที่บริการ เน้นเส้นทางบินที่มีกำไร ควบคู่ไปกับการลงทุนใหม่ ประกอบด้วย

1.ขยายการลงทุนที่สนามบินเกาะสมุย จะใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท ให้รองรับผู่โดยสารได้มากถึง 2 ล้านคน
2.ลงทุนขยายสนามบินตราด 700 ล้านบาท ในการขยายลู่วิ่งให้ยาวขึ้นเพื่อรองรับเครื่องบินลำใหญ่ขึ้น ปรับปรุงและสร้างอาคารผู้โดยสาร ลานจอด และอาคาร
3.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา อายุสัมปทานมา 50 ปี
4.จัดหาเครื่องบินลำใหม่ทดแทนเครื่องบินลำเก่า ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะใช้งบเท่าไหร่ โดมี 2 แนวทาง คือ ซื้อ กับเช่า เพราะปัจจุบันเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีทันสมัย บินได้ไกลขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนน้ำมันที่เป็นต้นทุนหลักของสายการบินได้ 10-15% โดยอยู่ระหว่างเปิดให้ผู้ผลิตเข้ามาเสนอเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่สำคัญในอนาคต

สำหรับ สนามบินอู่ตะเภาจะใหญ่มากถ้าทำจบโครงการจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 60 ล้านคนเท่าสนามบินสุวรรณภูมิ และสามารถขยายเครือข่ายการบินจากอู่ตะเภาเพราะเป็นจุดที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อรองรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่เป็นพื้นที่อุตสากรรม ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ มีโอกาสเติบโตด้านเครือข่ายการบิน จึงเป็นจุดที่รายได้ของบริษัทฯสามารถก้าวกระโดดต่อไปในอนาคต

ขณะนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างทำตามงื่อนไขสัญญาสัมปทานซึ่งทำมาได้เกินครึ่งแล้ว ถ้าปีนี้สามารถบรรลุกทุกเงื่อนไขปี 2568 จะสามารถเริ่มสร้างได้ โดยเฟสแรกจะสร้างเพื่อรองรับผู้โดยสาร 12 ล้านคน
“เงินลงทุนในการขยายสนามบินสมุยและตราด เราเตรียมไว้แล้ว เบื้องต้นใช้สภาพคล่องที่มีอยู่ ธุรกิจสนามบินมีกำไรมากกว่าธุรกิจสายการบินเยอะมาก ถ้าสามารถบริหารจัดการให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ หรือ Optimum ทั้งมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการ จำนวนเที่ยวบิน เพราะในสนามบินมีบริการที่หลากหลายที่จะได้ตามมา” นายพุฒิพงศ์ กล่าว

THCOM มุ่ง ธุรกิจดาวเทียม-ภาพถ่ายดาวเทียม
นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยคม (THCOM) กล่าวในงานเดียวกันว่า ธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาเติมรายได้ในอนาคตของบริษัทคือ 1.ธุรกิจดาวเทียม ซึ่งเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจดั้งเดิม ที่ใช้ในการสื่อสาร การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 2.ธุรกิจสเปซ เทค ที่เป็นธุรกิจใหม่มาก โดยเจาะที่ตลาดภาพถ่ายดาวเทียม

1.สำหรับธุรกิจดาวเทียม บริษัทชนะประมูลวงโคจรดาวเทียมที่สำคัญที่สุดในไทย อยู่เหนือฟิลิปปินส์ และเหนืออินเดีย ใบอนุญาต 20 ปี ซึ่งได้ขออนุญาตผู้ถือหุ้นลงทุน 15,000 ล้านบาทในการลงทุนดาวเทียม 3 ดวงไปแล้ว ซึ่งจะมีการยิงดาวเทียมขึ้นวงโคจรตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป และได้ทำการเซ็นสัญญาล่วงหน้ากับบริษัทอินโฟแซท บริษัทดาวเทียมเบอร์ 3 ของโลกและเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฝรั่งเศสด้วย โดยลงนามในสัญญาจะใช้ดาวเทียมดวงใหม่ของบริษัทฯในจำนวน 50% ของทั้งดวงตลอดอายุการใช้งาน 20 ปี ช่วยลดความเสี่ยงด้านการลงทุนไปได้อย่างมหาศาล

อีก 50% จะขายให้กับตลาดในประเทศและรองรับความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ที่โตขึ้นไม่หยุดยั้งแม้เศรษฐกิจจะไม่ดีก็ไม่กระทบตลาด เพราะคนที่ซื้อคือรัฐบาล และคนที่ใช้คือประชาชน โดยจะเจาะตลาดประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีประชากรรวมกัน 1,800 ล้านคน ซึ่งมีพื้นที่สายกับสัญญาณมือถือไปไม่ถึงแน่นอนในอีก 50 ปี

2.ธุรกิจเสปซ เทค เป็นธุรกิจที่ใหม่มาก ปัจจุบันทำรายได้ 1-2% แต่แนวโน้มเติบโตสูง บริษัทมุ่งไปที่ตลาดภาพถ่ายดาวเทียม ที่มีบทบาทสูงในภาคความมั่นคงของประเทศและสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการทหาร และการเกษตร ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง ซึ่งภาพถ่ายดาวเทียมปัจจุบันต่างจากอดีตมาก เพราะถ้าด้านความมั่นคงทางทหารจะมีความละเอียดสูงสามารถบอกข้อมูลเชิงลึกที่รอบด้านได้ทันทีว่าสิ่งที่อยู่ในภาพคืออะไร เห็นได้ถึงทะเบียนรถยนต์ จากเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และจาก AI กับ AOL ที่สามารถประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลและบอกได้เลย เช่น สามารถบอกได้ว่าสนามบิน ก.มีเครื่องบินกี่ลำที่กำลังจอดอยู่ ประเภทไหน เป็นเครื่องบินพาณิชย์ หรือ เครื่องบินรบ

นอกจากนี้ ภาพถ่ายดาวเทียม ยังสามารถตอบโจทย์เรื่องเทรนด์ ESG สามารถดูพื้นที่ป่า น้ำ พื้นที่มลพิษ การวัดปริมาณการดูดซับคาร์บอนจากป่าที่ปลูกเพื่อนำไปเทรดเครดิตได้ โดยปัจจุบันบริษัทฯเป็นรายเดียวที่สามารถทำได้

นายปฐมภพ กล่าวว่า ปัจจุบันรายได้ 60% ของบริษัทมาจากในประเทศ และ 40% มาจากต่างประเทศ แต่หลังจากที่บริษัทฯได้มีดาวเทียมชุดใหม่ 3 ดวงมาแล้ว กับการทำธุรกิจสเปซ เทคคาดว่ารายได้จากต่างประเทศอาจขึ้นไปถึง 70% และรายได้จากไทยจะอยู่ประมาณ 30% โดยในต่างประเทศมีการลงทุนในบริษัทลาวเทเลคอมที่เป็นบริษัทมือถือ 25% มา 20 ปีแล้ว ซึ่งตอนนี้เป็นเบอร์ 1 อยู่ มีแชร์ 60% และคนต้องการใช้อินเทอร์เน็ตสูงมาก

“นี่คือธุรกิจหลักของเราที่จะเติบโตต่อไปได้ในอีก 20 ปีข้างหน้า และจะสร้าง Top Line คือรายได้ และกำไรของเราให้ก้าวกระโดดจากที่มีอยู่ในปัจุบัน จากจำนวนลูกค้าที่มากขึ้น การใช้งานที่มากขึ้นและต่อยอดกับลูกค้าเดิมกับฐานเดิมที่มีอยู่ และธุรกิจสเปซ เทค ที่เป็นธุรกิจใหม่เพิ่งทำรายได้ให้บริษัท 1-2% ของรายได้รวม จากการเข้าไปในโครงการประกันภัยนาข้าวเพื่อตรวจจับระดับภัยแล้งและน้ำท่วมในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนผ่านภาพถ่ายดาวเทียม และมีการเซ็นต์สัญญากับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในการทำเรื่องคาร์บอนเครดิต”นายปฐมภพ กล่าว

IVL ยึดรีไซเคิลขวด PET-ธุรกิจผลิตสารตั้งต้น
น.ส.นรี พฤกษยาภัย JVP,Strategy,Planing & Investor Relations บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ (IVL) สำหรับ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจใน 3 ปีข้างหน้าจะเน้นการเติบโตด้วยทุนของตัวเอง จะใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ ใน 148 แห่งทั่วโลก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยการ
1. เน้นเรื่องการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต สามารถทำให้เพิ่มรายได้จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น
2. เน้นการใช้เงินลงทุน ไปกับตลาดรีไซเคิล การนำวัตถุดิบเชิงชีวภาพเข้ามาใช้ในการผลิต
3 มุ่งลดภาระหนี้สินลง ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อคงอัตรากำไร เหนือกว่าอุตสาหกรรมได้แบบนี้ต่อไป ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดียิ่งขึ้น และ และพร้อมเติบโตในระยะถัดไป

“สิ่งเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนลดลง เพื่อจะมีกำลังในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เปลี่ยนแปลง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เสียผลประโยชน์”น.ส.นรี กล่าว

น.ส.นรี กล่าวว่า สำหรับธุรกิจใหม่ที่จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทในอนาคต จะอิงกับเป้าหมายใหญ่คือการมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หนึ่งในนั้นคือ การรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ,การนำสารวัตถุดิบเชิงชีวภาพนำกลับมาใช้ใหม่ ,ธุรกิจผลิตสารตั้งต้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่จะทำให้ margin ดีดตัวขึ้นไปได้ ในขณะที่การผลิตขวด PET ธรรมดาไม่สามารถ Pricingได้มากนัก

“ปัจจุบันยอมรับว่าสัดส่วนการรีไซเคิลขวด PET ไม่ได้ เยอะมากมีเพียง 5% เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตขวด PET โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มเป็น 20% ในปี 2573 ถ้าปริมาณการผลิตมากพอ กำลังการผลิตถึง 70-80% และจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ถึง 70-80% ในปี 2573 จากปัจจุบันอยู่ที่ 50% มาร์จิ้นตรงนี้จะสูงกว่าราคาของขวด PET” น.ส.นรี กล่าว

น.ส.นรี กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทฯมีโรงงานรีไซเคิล 23 แห่งทั่วโลก โดยตลาดอินเดียน่าสนใจมาก เพราะมีอัตราการจัดเก็บขวดที่เป็นขยะที่นำมารีไซเคิลได้เกินกว่า 90% และที่อินเดียบริษัทฯมีโรงงานรีไซเคิลอยู่แล้ว 4 แห่ง

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจสารตั้งต้น ใช้ชื่อว่า ไอโอดี ที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็น อินโดวินยา โดยแยกธุรกิจที่ผลิตสารตั้งต้น ที่มีการเติบโตหลัก 10% และมีกำไรค่อนข้างดี มีอัตราผลตอบแทนจากเงินทุน หรือ ROCE ค่อนข้างสูงเป็นหลัก 10%

ทางบริษัทฯจึงทำการแยกธุรกิจออกมา และปลดล็อคมูลค่า หรือ VALUE ออกมา และมีแนวโน้มที่จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป โดยที่ IVL จะยังเป็นผู้ถือหุ้นหลักบริษัทฯจะผลักดันศักยภาพของความเป็นผู้นำต่อยอดตอกย้ำในตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโต