โดย…บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย)
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% ในวันนี้ (29 มีนาคม 2566) ซึ่งเป็นไปตามที่ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ กนง. ยืนยันที่จะดำเนินการให้อัตราดอกเบี้ยกลับไปอยู่ในระดับปกติอย่างช้าๆ (Gradual Policy Normalization remains appropriate)
สอดคล้องกับมุมมองของเราที่คาดว่า กนง.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% อีกครั้งในเดือนพฤษภาคมและคงระดับ 2.00% ไปถึงสิ้นปี เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ในขณะที่เงินเฟ้อปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ระดับ 1% – 3% โดย กนง. คาดว่าเงินเฟ้อปี 2566 จะอยู่ที่ 2.9% และจะลดลงไปที่ระดับ 2.4% ในปี 2567
นอกจากนี้ กนง.ระบุพร้อมปรับขนาด-เงื่อนไขขึ้นดอกเบี้ยหากแนวโน้มเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อเปลี่ยนไปจากคาด หลังผลประชุมกนง.ออกนั้น Bond yield ในตลาดรองตราสารหนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นไปตามที่ตลาดคาด
ผลกระทบต่อกองทุนรวมตลาดเงิน คาดว่าจะยังไม่มีผลกระทบมากนัก (ผลตอบแทนกองทุนยังไม่เปลี่ยนแปลง) เนื่องจากเป็นไปตามตลาดคาด ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดเงินมีค่อนข้างสูงทั้งจากปัจจัยภายในและเงินเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนของนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาซื้อตราสารภาครัฐระยะสั้น ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ครบ เดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.05%+/- ครบเดือน พ.ค. อยู่ที่ 1.3%+/- ต่ำกว่า ดอกเบี้ยนโยบายอยู่มาก ไม่สะท้อนดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ดี หากเงินเก็งกำไรหมดไป ผลตอบแทนตราสารน่าจะปรับตัวสูงขึ้นตาม และทำให้ผลตอบแทนกองทุนปรับตัวสูงขึ้นคาดว่า จะประมาณอีก 1 เดือน
ผลกระทบต่อกองทุนรวมตราสารหนี้ คาดว่าจะยังไม่มีผลกระทบมากนัก ผลตอบแทนตราสารหนี้น่าจะผันผวนในกรอบ เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายใกล้จุดสูงสุดแล้ว
บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) แนะนำเพิ่มเงินลงทุนบางส่วนในกองทุนตราสารหนี้
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีกองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตลาดเงินไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุนซึ่งผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน