HoonSmart.com>> บล.ทิสโก้ แนะนำ “ซื้อ” BBL ราคาเป้าหมาย 175 บาท แม้ขาดทุนจากการลงทุน ผลประกอบการไตรมาส 4/65 แข็งแกร่ง NIM สูงเกินคาดมองขับเคลื่อนรายได้ตลอดปีนี้ พร้อมแนะ “ซื้อ” BAY ราคาเป้าหมาย 40 บาท ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แม้พลาดเป้ารายได้อ่อนแอ ต้นทุนเครดิตสูงขึ้น ส่วน KBANK “ถือ” ราคาเป้าหมาย 166 บาท กังวลคุณภาพสินทรัพย์ ยก BBL-SCB หุ้นเด่นกลุ่มแบงก์
หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลงแรงในช่วงเช้าเช้า หลังผิดหวังผลประกอบการไตรมาส 4/65 ของธนาคารขนาดใหญ่ออกมาต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ KBANK ปิดภาคเช้าที่ 145.00 บาท -8.50 บาท หรือ -5.54% มูลค่าการซื้อขายสูงถึง 8,578.36 ล้านบาท BBL ปิดที่ 151.50 บาท 3.00 บาท หรือ -1.94% มูลค่าการซื้อขาย 2,601.43 ล้านบาท SCB ปิดที่ 108.50 บาท -2.50 บาท หรือ -2.25% มูลค่าการซื้อขาย 1,490.33 ล้านบาทและ BAY ปิดที่ 31.25 บาท -0.25 บาท หรือ -0.79% มูลค่าการซื้อขาย 9.84 ล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ ยังคงมีมุมมองเชิงบวก BBL คงคำแนะนำ “ซื้อ” และเป็นหุ้น Top pick ของฝ่ายวิเคราะห์ให้ราคาเป้าหมาย 175 บาท โดยมองผลประกอบการที่น่าประทับใจ NIM ที่แข็งแกร่งจะเป็นตัวชับเคลื่อนรายได้ไปตลอดปี 2566 แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ส่วนการขาดทุนใน VTPL ควรที่ะลคลง (ว้นแต่ว่าตลาดจะชะลตัวลงอย่างรวดเร็ว) หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนเป็นกำไรในไตรมาสถัดไป และแม้ว่า B8L จะรักษา Credit Cost ไว้ในระดับสูง แต่ก็ไม่น่าจะทำให้แนวโน้มการพื้นตัวของกำไรลดลง ซึ่งที่จริงแล้ว งบดุลที่แข็งแกร่งขึ้นจะช่วยรองรับผลประกอบการใน 2 123 หากภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอลง โดยทางธนาคารจะมีการจัดประชุมนักวิเคราะห์ในกลางเดือนก.พ.และจะมีการแซร์เป้าหมายทางการเงินสำหรับปี 2566 ในการประชุม
ทั้งนี้ BBL มีกำไรสุทธิงวด 4/65 อยู่ที่ 7,589 ล้านบาท (+20%yoy-1%qoq) ต่ำกว่าที่เราคาดไว้ 15% และตลาดคาด 10% เนื่องจากการขาดทุนจากการลงทุน โดยเซพาะ FVTPL (1.9 พันล้านบาท ) และขาดทุนจากการลงทุน (-600 ล้านบาท) สำหบ FVTPL การขาดทุนนั้นเป็นผลมา Mark-do-marret ของการลงทนทั้งในและนอกตลาด ซึ่งยังไม่เกิดการขาดทุนขึ้นจริง สวนการขาดทุนจากการลงทุนเกิดจาการรับรู้ผลขาดทุนในการลงทุนในตราสารหนี้ นอกจากนี้ BBL ยังบันทึกการขาย NPA ประมาณ 1 4 พันล้านบาท ซึ่งกระทบต่อ non-NII โดยรวม
อย่างไรก็ตามรายได้ยังคงแข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้มาก โดยเฉพาะ NII หากไม่รวมรายการพิเศษ ธนาคารมี NII ที่ 3.05 หมื่นล้านบาท เทียบกับที่คาดไว้ 2.78 หมื่นล้านบาท จาก NIM ที่พุ่งขึ้น 0.35% มาอยู่ที่ 2.79% โดยสินเชื่อลดลง 4.1% qoq จากการที่บริษัทหลายแห่งมีการชำระหนี้ในระหว่างไตรมาส
นอกจากนี้คงคำแนะนำ “ซื้อ” BAY แม้ผลประกอบการไตรมาส 4/65 ซึ่งเติบโต 16% (Yoy, -8% qoq) ต่ำกว่าประมาณการของเราและ consensus 9-10% เนื่องจากต้นุทนเครดิตเพิ่มขึ้นและ non-NII ลดลง โดย BAY ระบุว่าต้นทุนเครดิตที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของลูกค้ารายหนึ่ง แต่ไม่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ขณะที่ NIM ขยายตัวเพียงเล็กน้อย 0.7% ต่างจากธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากสินเชื่อบุคคลทั่วไปของ BAY มีความเสี่ยงสูง เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบุคคลทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยคงที่และสินเช่รอหดตัว 0.8% QoQ รายได้ค่าธรรมเนียมดีขึ้นเล็กน้อยแม้ช่วงไตรมาส 4 เป็นไฮซีซั่น
BAY ยังทำได้ดีในการรักษาต้นทุนด้วยค่า 0pex ที่เพิ่มขึ้นเพียง 2% Q0Q โดยค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สูงขึ้นถูกชดเขยด้วยต้นทุนพนักงานที่ลดลง NPL โดยรวมไม่แย่นัก เพิ่มขึ้นเพียง 2% Q0Q แม้ว่าจะเห็น NPL ของสินเชื่อบุคคลทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (เพิ่มขึ้นเป็น 3.9% เทียบกับ 3.5% ในใตรมาสก่อน) จึงคงคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 40 บาท โดยรวมถือว่าดีและราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (ปัจจุบัน PBV ที่ 0.68 เท่า และROE ประมาณ 8.8%)
ด้าน KBANK กำไรลดลงอย่างมากจากการตั้งสำองที่เพิ่มขึ้น โดยกำไรสุทธิ 40 อยู่ที่ 3,191 ล้านบาทเท่านั้น(-70% Q0Q.67% Yoซึ่งต่ำกว่าที่เราคาดไว้ (1.08 หมื่นล้านบาท) และประมาณการตลาด (9.8 พันล้านบาท) และกำไรอาจแย่ลงไปอีก แต่ KBANK ยังสามารถบันทึกทำไรจาก FVTPL ได้ที่ 4.6 พันล้านบาท (เทียบกับ 0.1 พันล้านบาทในไตรมาสก่อน)
ผลประกอบการที่อ่อนแอเกิดจากการที่ KBANK ตั้งสำรองค่ใช้จ่ายสำรองไว้ 2.28 หมื่นล้านบาท (เทียบกับประมาณ 9 พันล้านบาทในช่วง 4 ใตรมาสที่ผ่านมา) ธนาคารระบุว่า มองเห็นความเสี่ยงขาลงมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการส่งออกที่เริ่มอ่อนตัวลงในไตรมาส 4/65 ความเสี่ยงต่อการเดิบโตในอนาคต ทั้งจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ค่าจ้างที่สูงขึ้น และต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจ (เช่น ค่าสาธารณูปโภค และต้นทุนโดยรวม) จึงเป็นสาเหตุให้ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
อย่างไรก็ตามหากมองไปข้างหน้า เราคาดว่าตันทุนเครดิดจะยังคงอยู่ในระดับสูง คำใช้จ่ายในการตั้งสำรอง 2.28 หมื่นล้านบาท ทำให้ ECL เพิ่มขึ้นเพียง12 หมื่นล้านบาท ไปที่ 1.34 แสนล้านบาท Gr0s NPL เพิ่มขึ้น 5 พันล้านบาท เป็น 9.25 หมื่นล้านบาท แม้ว่าธนาคารจะตัดจำหน่ายหนี้สูญไป 7.9 พันล้านบาท อัตราการสำรองหนี้เสียยังสูงถึง 144% (เทียบกับ 138% ในไตรมาส 3/65) หาก NPLS ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราปัจจุบัน (ซึ่งเป็นไปได้ตามมุมมองเศรษฐกิจของ KBANK ต้นทุนสินเชื่อน่จะยังคงอยู่ในระดับสูงเพื่อรักษาอัตวาการสำรองหนี้เสีย ซึ่งจะกคดันกำไรในปี 2566 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนเครติดของ KBANK นั้นยังไม่สูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของภาคธุรกิจที่ 165%
ด้านรายการอื่นๆ ยังเป็นไปตามคาดการณ์ ตลาดควรให้ความสำคัญกับคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในระยะเวลาอันใกล้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรายการอื่นๆ เป็นไปตามที่เรา
คาดไว้ และตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม โดย NII ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง (+9%009) ด้วย NIM ที่เพิ่มขึ้น 0.29% และการเติบโตของสินเชื่อที่ดี (+1.2% QoQ) หากไม่รวม FVTPL แล้ว non-NII ก็ยังไม่น่าประทับใจนัก และรายได้ค่าธรรมเนียมยังทรงตัวจากไตมาสก่อน ขณะที่ Opex เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายการตลาด และการลงทุนด้าน IT ที่เพิ่มขึ้น
บล.ทิสโก้ คงคำแนะนำ “ถือ” ที่ราคาเป้าหมาย 166 บาท จากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ไม่ดีนัก ซึ่งทำให้ราคาหุ้นน่าจะ Underperform โดยเราชอบ BBL และ SCB มากกว่าในกลุ่มธนาคาร